เทคนิค การสอน ให้ถูกใจคนเรียน

เทคนิค การสอน ให้ถูกใจคนเรียน

เทคนิค การสอน ให้ถูกใจคน

 

1. ต้องรู้เขา รู้เรา

1.1 ต้องรู้ว่า … เราจะทำ การสอน อย่างไร เช่น
– ย่อยเนื้อหาความรู้ลงให้แคบ
– หากเนื้อหามาก ก็แบ่งเป็นส่วนย่อย
– ระบุสาระ หรือจุดประสงค์ ในการเรียนรู้ให้ชัดเจน
– เรียบเรียงลำดับการสอน จากง่ายไปสู่ยาก (จากพื้นฐาน ไปสู่การประยุกต์)

1.2 ต้องรู้ว่า … นักเรียนคิดอะไร เช่น
– ชอบคิดสิ่งที่ไร้สาระมากกว่าสาระ  (อารมณ์มาก่อนเหตุผล)
– ส่วนใหญ่เลือกเรียนตามเพื่อน ส่วนน้อยเลือกเพราะอนาคต
– แบบว่า … อยากรู้ แต่ ….. ไม่อยากเรียน
– นักเรียนส่วนใหญ่เป็นพวกชอบสอดรู้สอดเห็น
– ไม่ชอบคำว่าเรียน
– คิดแต่จะมุ่งหาความสนุกสนาน บันเทิง ฯลฯ

1.3 ต้องรู้ว่า … นักเรียนต้องการอะไร เช่น
– ชอบความสนุกสนานและบันเทิง
– ชอบเป็นผู้สื่อสารมากกว่าผู้รับสาร
– ชอบทดลอง ทำเอง เพื่อเรียนรู้
– ต้องการที่จะรู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ และต้องการจะรู้(ให้มากกว่า)ในสิ่งที่เพื่อนรู้
– ชอบเลียนแบบ (ดารา ศิลปิน คนเก่ง)

1.4 ต้องรู้ว่า … นักเรียนไม่ต้องการอะไร เช่น
– ไม่ชอบให้ผู้ใหญ่ (ครู อาจารย์ ผู้สอน) ดุว่า อย่างไร้เหตุผล
– ไม่ชอบความจำเจ น่าเบื่อ เพราะมีสมาธิสั้น
– ไม่ชอบติดกรอบ ระเบียบ ที่มากและบ่อยเกินไป
– ไม่ชอบการสอบวัดผล ฯลฯ
2. มีเคล็ดลับการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้

“การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยหลายประการ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้เกิดขึ้นกับนักเรียน โดยครูเองจะต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น และหมั่นสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วย”

การสร้างแรงจูงใจในการเรียน 8 ประการ ( ของ เท็ด นัสโบม ครูผู้มีประสบการณ์สอนในระดับชั้นประถมศึกษา มากว่า 10 ปี ในโรงเรียนไวเทเคอร์ มลรัฐโอเรกอน ในสหรัฐอเมริกา )

2.1 ใช้ความกระตือรือร้นและตื่นเต้น
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ครูรู้สึกตื่นเต้น คือ การได้เห็นเด็กๆ เรียนรู้ และครูก็มักจะให้เด็กรู้ว่าครูตื่นเต้นด้วย ครูต้องพยายามบอกเด็กๆ ว่า ” ยังมีเรื่องอีกมากมายที่พวกหนูต้องเรียนรู้ และเป้าหมายของครูคือสอนให้พวกหนูเป็นผู้เรียนที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา” ครูต้องหาทางที่จะกระตุ้นหรือหล่อเลี้ยงความกระตือรือร้น และความน่าตื่นเต้นของตนเองให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เนื่องจากท่าทีในการสอนและการเรียนรู้ของครู จะส่งผ่านไปยังนักเรียนทำให้นักเรียนอยากเรียนรู้ด้วย

2.2 การตั้งเป้าหมายให้สูง
ครูต้อง ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนให้สูงไว้ และพยายามจะสื่อไปถึงนักเรียนว่า “ความคาดหวังของครูคือ การที่นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนที่ครูวางไว้” หากครูตั้งเป้าหมายไว้สูง เด็กมีแนวโน้มจะเรียนรู้ได้ดี ในทางตรงข้าม ถ้าครูตั้งเป้าหมายต่ำ เด็กจะลดระดับการแสดงออกทางการเรียนของตนเองให้ต่ำลง เท่ากับความคาดหวังของครู

2.3 การสร้างทางเลือก
ครูต้อง เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนการเลือก ตัวอย่างเช่น เมื่อครูแจกกระดาษแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ในคำสั่งระบุว่าเด็กสามารถเลือกทำโจทย์ข้อที่เป็นเลขคู่ หรือ เลขคี่ก็ได้ จากนั้นครูจะบอกต่อว่า “แต่ถ้านักเรียนเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ นักเรียนควรจะแก้โจทย์ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งให้เสร็จ” ในการใช้เทคนิคนี้ เป็นไปเพื่อ “เปลี่ยนวิธีการออกคำสั่งให้เป็นเรื่องของการท้าทาย” และมักพบว่ามีเด็กจำนวนถึงร้อยละ 90 ที่เลือกแก้โจทย์ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งต่อจนเสร็จ เพราะเด็กต้องการจัดตนเองอยู่ในกลุ่มคนที่มีความขยันหมั่นเพียร

2.4 สร้างความรับผิดชอบ
ถึงแม้ว่านักเรียนจะมีโอกาสในการ ฝึกฝน การเลือก แต่ครูก็ต้องถ่วงดุล การมีอิสระนั้นโดยให้เด็กมีความรับผิดชอบ เช่น “เมื่อนักเรียนรู้ว่าตนเองต้องมีความรับผิดชอบ นักเรียนจะเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้อย่างน่าทึ่ง” ในแต่ละครั้งที่สอน ครูอาจเลือกเด็กนักเรียน 1 คนและมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลเรื่องการเข้าชั้นเรียนของเพื่อนๆ ในห้อง ซึ่งพบว่าเด็กๆ จะสนุกกับกับความรับผิดชอบ แม้แต่การเปิดประตูให้เพื่อนๆ เดินเข้าห้อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ครูแสดงให้นักเรียนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็น เรื่อง ของคนที่น่ายกย่อง

2.5 เน้นเสริมแรงด้านบวก
เวลาให้คะแนนนักเรียน ครูควรจะเน้นโจทย์ที่เด็กตอบถูก เช่น ทำได้ 43 จาก 50 ข้อ มากกว่าบอกว่าเด็กทำผิด 7 ข้อ เมื่อเด็กแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้สำเร็จ ครูจะเขียนคำว่า “ดี” ลงไป และเพิ่มคะแนนเป็น 50 ในกระดาษคำตอบนั้น ในกรณีที่เด็กบ่นว่า “หนูเหลืออีก 7 คะแนนเองก็จะได้เต็ม” ครูจะตอบเด็กว่า “หนูได้ตั้ง 43 เต็ม 50 แน่ะ หนูทำได้ดีแล้ว” เป็นต้น

2.6 เน้นการเรียนแบบร่วมมือ
นักเรียนจะต้องมีสำนึกในเรื่องของความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบกับเพื่อนนักเรียนด้วยกันมากกว่าครู โดยให้นักเรียนฝึกฝนการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันในกลุ่มเพื่อน โดยพยายามจัดให้เด็กที่มีลักษณะเป็นผู้นำ 1 คนกระจายอยู่ในแต่ละกลุ่ม เป็นต้น และพบว่านักเรียนมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงจูงใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม โดยนักเรียน แต่ละคนจะมีจุดแข็งหรือความรู้สึกท้าทายเฉพาะตัว ซึ่งหากไม่มีสิ่งนี้จะไม่มีทางบรรลุเป้าหมายของกลุ่มได้

2.7 เน้นการให้กำลังใจ
เมื่อสังเกตเห็นว่านักเรียนคนไหนกำลังประสบปัญหาหรือรู้สึกไม่สบายใจ ครูต้องพยายามมองหาจุดชมเชย จากการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ของเด็ก เป็นต้นว่า เมื่อเด็กเก็บเศษกระดาษที่ตกอยู่บนพื้นขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะ ครูก็จะพูดชมเชยเด็กและให้รางวัล เนื่องจากเขาเชื่อว่าการที่เด็กได้กระทำดีแล้วครูชม แม้ว่าจะเล็กน้อยในวันที่เด็กประสบปัญหาหรือไม่สบายใจ จะช่วยดึงนักเรียนให้กลับมาสู่การเรียนรู้ได้ตามปกติ ครูครใช้กิจกรรมที่แตกต่างหลากหลายในการให้กำลังใจเด็ก บางครั้งครูจะร้องเพลงนำ แฮปปี้เบริ์ดเดย์ในวันเกิดของเด็ก เป็นผู้นำในการทำห้องเรียนให้มีชีวิตชีวา ในกรณีที่เด็กบางคนมีปัญหาหรือรู้สึกไม่สบายใจ ครูจะจัดกิจกรรมหรือใช้วิธีการพิเศษที่จะทำให้เด็กมีความสบายใจขึ้น

2.8 ยึดกฎและกติกา
เพื่อให้ห้องเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่น ครูจำเป็นต้องฝึกทักษะในการจัดการกับพฤติกรรมด้านลบของเด็กบางคน เมื่อเด็กทำบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้ครูรู้สึกโกรธ ครูต้องใช้โอกาสนี้ในการสอนเด็ก

ขอบคุณข้อมูลจาก >> https://www.krupatom.com/การสอน/