อ่านเร็ว จำไว ทำได้ง่ายๆ

ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ
การอ่านหนังสือไม่จำเป็นต้องออกเสียงในใจ ใครที่อ่านหนังสือโดยมีคำก้องอยู่ในหัว แสดงว่ายังอ่านไม่เป็น ขณะนั้นสมองส่วนความเข้าใจ วิเคราะห์และจินตนาการจะไม่สามารถทำงานได้ เพราะถูกขัดขวางจากคำก้องที่เกิดขึ้น
ขณะอ่านในใจไม่จำเป็นต้องอ่านคำทุกคำเหมือนกับการอ่านออกเสียง เช่น คำว่า ประ- ชา – ธิป – ปะ – ไตย สามารถอ่านรวมเป็นคำเดียว แล้วเข้าใจความหมายได้โดยที่ไม่ต้องสะกดทีละคำ
สมองของคนเรา พร้อมที่จะตีความหมายของคำออกมาโดยที่ไม่ต้องอ่านทั้งหมดอยู่แล้ว ลองดูจากประโยคนี้

“ ผลการศกึาษวจิยัจาก มวหายิทาลย เชยีงหใม่ ”

เราจะอ่านได้ทันทีเลยว่า “ ผลการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ ทั้งที่คำอ่านผิด นั่นก็เพราะสมองสามารถมองแบบองค์รวมได้โดยอัตโนมัติ
ในบทความต่างๆ หนังสือทุกเล่ม ประโยคทุกประโยค จะมีทั้งส่วนที่สำคัญและไม่สำคัญ พยายามหาส่วนสำคัญให้เจอและเน้นไปที่จุดนั้น ลองดูประโยคด้านล่างนี้

“การเลือกตั้งตามกระบวนการ
ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา
จบลงด้วย โอบามา ผู้ชิงตำแหน่งผิวสี
ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
แมคเคน พ่ายแพ้อย่างหมดรูป ”

คนที่อ่านเป็น จะรู้ทันทีว่าเนื้อของประโยคนี้อยู่ที่คำว่า โอบามาได้เป็นประธานาธิบดี และในประโยคนี้ ควรขีดเส้นใต้เฉพาะคำว่า โอบามา ไว้สำหรับอ่านในรอบที่สอง เพราะพอสะดุดกับคำว่า โอบามา ก็จะเข้าใจทันทีว่า มันคือการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
ในการอ่านบทความ คำวิเศษณ์ คำขยายนาม คำพรรณนา ไม่จำเป็นต้องใส่ใจ เช่นประโยคข้างบน ข้อความแรกๆทั้งหมดเป็นคำพรรณนา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ โอบามาได้เป็นประธานาธิบดีเท่านั้น ส่วนประโยคก่อนหน้าคำว่าโอบามา และประโยค “ผู้ชิงตำแหน่งผิวสี” “พ่ายแพ้อย่างหมดรูป” ก็ไม่จำเป็นต้องอ่าน บทความหนึ่งๆจะมีคำพรรณนาอยู่มากกว่าครึ่ง เมื่อชำนาญในการอ่าน สายตาจะข้ามคำเหล่านี้ไปเอง

การอ่านจับใจความสำคัญ
เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย

เริ่มต้นด้วยการหา key concept
ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า
เราต้องการรู้อะไร
และจะอ่านส่วนไหนบ้าง

อ่านเจาะประเด็น
ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า

ต้องประเมินแหล่งข้อมูล 
ประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้จาก เช่นเป็นข้อมูลที่ up date หรือไม่, สำนักพิมพ์อะไร ฯลฯ