ทักษะชีวิตของบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี

 

บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร มีผู้ให้คําอธิบายหลากหลาย นี่คือคําอธิบายหนึ่ง

ทักษะชีวิต (Life Skills) ประกอบด้วย

1. #ทักษะกําหนดเป้าหมาย

ชีวิตที่ดีกว่าคือ ชีวิตที่มีเป้าหมาย
เป้าหมายที่ดีกว่าคือเป้าหมายที่กําหนดเอง แต่จะดีกว่าได้ควรมีปัญญาที่จะกําหนดด้วย
ทักษะกําหนดเป้าหมายจึงเป็นเรื่องที่เกิดจากการฝึกฝน มิได้ลอยมาเอง
พ่อแม่ฝึกได้ด้วยการเล่นกับลูก
โรงเรียนสมัยใหม่ฝึกได้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้โจทย์ปัญหาเป็นฐาน
.

2. #ทักษะวางแผน

ชีวิตที่ดีกว่าคือชีวิตที่มีแผนตามสมควร
อาจจะเป็นแผนระยะสั้น เช่น ตารางงานประจําวัน
แผนระยะกลาง เช่น จะไปพักร้อนที่ไหนปลายปีนี้ หรือแผนระยะยาว จะเรียนอะไร หรือจะเริ่มผ่อนบ้านเมื่อไร เป็นต้น
แผนมิได้แปลว่าต้องทําพิมพ์เขียว จะเป็นแผนในใจก็ไม่ผิดกติกา แต่มีแผน
.

3. #ทักษะตัดสินใจและลงมือทํา

ชีวิตที่ดีกว่า คือชีวิตที่รู้ว่าเราไม่มีทางรู้ได้อย่างมั่นใจว่าหนทางใดดีกว่าหนทางใด
ดังนั้นจึงตัดสินใจอย่างดีที่สุด ด้วยข้อมูลรอบด้านที่ดีที่สุด แล้วลงมือทําอะไรสักอย่างหนึ่ง
ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี มักเป็นบุคคลที่ไม่ตัดสินใจและไม่ลงมือทํา ได้แต่นั่งนิ่งๆ จมทุกข์อยู่เช่นนั้น
.

4. #ทักษะประเมินผลและรับผิดรับชอบ

ชีวิตที่ดีกว่าคือชีวิตที่ทบทวนตนเองบ้าง และหากมีอะไรผิดพลาดก็ยอมรับแต่โดยดีว่าเป็นฝีมือของตนเอง (accountability)
ไม่โทษใคร ไม่โทษตนเอง
เพียงแต่ “ยอมรับ” ว่า “เราเองที่เป็นผู้ตัดสินใจ” ทําลงไป
แม้ว่าจะมีคนอื่นโน้มน้าว หรือยุยง ก็เป็นเราที่ไม่ใคร่ครวญให้รอบคอบ
จะอย่างไรก็เป็นเราที่รับผิดรับชอบ
.

5. #ความยืดหยุ่นและเริ่มต้นใหม่

ชีวิตที่ดีกว่าคือชีวิตที่รู้จักแพ้
คนเราเหนื่อยได้ ท้อใจได้ นอนพักได้ มีบ้างที่พยายามฆ่าตัวตายไปแล้ว
แต่ทั้งหมดนี้เป็นชั่วคราว
สักระยะเวลาหนึ่งแล้วสามารถฟื้นตัว เริ่มต้นใหม่ได้ทุกรอบไป ล้มแล้วล้มเล่า ลุกแล้วลุกอีก
ชีวิตก็จะหมุนวนไปในทางที่ดี เร็วบ้างช้าบ้าง
ที่สําคัญกว่าเร็วหรือช้า คือชีวิตที่มี “ความหมาย” (meaningful)

.

? บุคคลที่สุขภาพจิตไม่ดี มักไม่ตัดสินใจ เอาแต่โทษคนอื่น และ ไม่ยืดหยุ่น

? ในทางตรงข้าม เพราะผู้ป่วยกําลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ทําให้ทักษะทั้ง 5 ประการเสียหาย

? หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็สามารถเรียกคืนทักษะชีวิตที่ดีกลับมาได้

 

ที่มา

#ทักษะชีวิตของบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี

จากหนังสือ “โรคซึมเศร้า” โดย อ. นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์