เรียน PBIC จบไปทำอะไรได้บ้าง? เปิด 5 อาชีพสุดปัง มองหาคนรู้ Area Studies

หลายคนที่คิดว่าการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัยในหลักสูตรอินเตอร์ตอบโจทย์การเรียนรู้ในปัจจุบันมากขึ้น และกำลังมองหาคณะหรือหลักสูตรอินเตอร์เพื่อศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ‘วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์’ หรือที่รู้จักกันในนาม PBIC (Pridi Banomyong International College) ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของคณะอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่มีการเรียนการสอนแบบอาณาบริเวณศึกษา หรือ ‘Area Studies’ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทุกๆ ด้านของประเทศที่สนใจศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม โดยที่ PBIC Thammasat มีหลักสูตร Area Studies เปิดสอนทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่ จีนศึกษา อินเดียศึกษา และไทยศึกษา ซึ่งแต่ละหลักสูตรมุ่งเน้นให้บัณฑิตที่จบไปมีความเชี่ยวชาญรอบด้านใน Area Studies ที่เลือกเรียน และสามารถไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ได้อย่างกว้างขวาง

“เรียนรอบด้านขนาดนี้ แล้วจบไปจะไปทำอะไรได้บ้าง?” อาจจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย บทความนี้ได้รวบรวมสถิติจากศิษย์เก่าที่จบจาก PBIC Thammasat ว่าเรียนจบแล้ว ไปประกอบอาชีพอะไรกันบ้าง บอกเลยว่ามีความหลากหลาย บางอาชีพอาจจะนึกไม่ถึงว่า เป็นอาชีพที่คนเรียนเรื่อง Area Studies ก็สามารถทำได้ จะมีอาชีพอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดระหว่างประเทศ – ผู้ประสานงานด้านธุรกิจระหว่างประเทศ (Marketer-Business Coordinator) อาชีพนักการตลาด ผู้ประสานงานด้านธุรกิจ อาชีพเหล่านี้นอกจากจะต้องอาศัยความรู้ด้านธุรกิจและการตลาดแล้ว ในส่วนงานที่ต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศ ยังต้องมีทักษะการติดต่อสื่อสาร การเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม อีกทั้งการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชากร บริบทสังคม พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ อย่างแท้จริง เพื่อคิดกลยุทธ์ แคมเปญ ตลอดจนกิจกรรมทางการตลาด หรือการประสานงานด้านธุรกิจกับประเทศนั้นๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น
  2. เจ้าของธุรกิจระหว่างประเทศ (Business Owner–International Business Consultant) อีกหนึ่งอาชีพที่คนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันที่จะทำกันก็คือ เจ้าของธุรกิจ เพราะเรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่ได้เป็นนายตัวเองอย่างเต็มที่ หลายคนอาจจะคิดว่าการเป็นเจ้าของธุรกิจจะต้องเรียนรู้เรื่องการบริหาร การเงิน การบัญชี เป็นต้น แต่ความรู้ในด้านการจัดการข้อมูล การเข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ กฎระเบียบ ธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงทักษะภาษาต่างประเทศ ก็เป็นสิ่งสำคัญในการบริหารธุรกิจ ทั้งการติดต่อธุรกิจ การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
  3. ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations Specialist) ในปัจจุบันที่โลกเชื่อมโยงถึงกันมากยิ่งขึ้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ย่อมต้องมีการติดต่อประสานงานกันมากขึ้นในระดับระหว่างประเทศ อาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานให้เป็นไปอย่างราบรื่น จะเป็นสิ่งที่หลายองค์กรมองหาเพิ่มขึ้นในอนาคต ผู้ที่ศึกษา Area Studies และมีความรู้อย่างลึกซึ้งและรอบด้านเกี่ยวกับประเทศที่องค์กรต้องติดต่อสัมพันธ์ จะยิ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้นสำหรับโลกการทำงานในอนาคต
  4. นักสื่อสารมวลชน (Mass Communicator) อาชีพนักสื่อสารมวลชน นอกจากจะต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การพูด การเขียน และการนำเสนอที่น่าสนใจ คนที่มีพื้นความรู้ที่กว้างและลึกในบริบทของประเทศต่างๆ จะช่วยเติมเต็มโอกาสในงานด้านสื่อสารมวลชนให้ครอบคลุมมิติที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน อาทิ การนำเสนอข่าวด้านเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับบริบทสังคมของประเทศนั้นๆ ให้น่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย จะช่วยให้ประชาชนที่รับข่าวสารสามารถเข้าถึงบริบทของประเทศนั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น
  5. นักเขียน-นักแปล-ล่าม (Writer-Translator-Interpreter) อาชีพนักเขียน-นักแปล-ล่าม เป็นอีกกลุ่มอาชีพที่หลายคนคิดว่าใช้เพียงแค่ความรู้ด้านภาษาก็น่าจะเพียงพอ หากแต่ความเข้าใจบริบทวัฒนธรรมของภาษานั้นๆ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ที่จะเติมเต็มงานเขียน งานแปล นั้นๆ ให้เป็นงานที่มีคุณค่ามากไปกว่ามิติทางด้านภาษาเพียงอย่างเดียว

นอกจากสายอาชีพทั้ง 5 สายข้างต้นแล้ว ยังมีอาชีพอื่นๆ ที่หากมีความรู้แบบ Area Studies จะสามารถสร้างโอกาสในการทำงานได้มากขึ้น อาทิ เจ้าหน้าที่ในองค์การระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ต้อนรับบนเครื่องบินหรือแอร์โฮสเตส เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เลขานุการ ที่ปรึกษาด้านต่างๆ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบองค์กรหรือออดิท (Audit) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฯลฯ อีกทั้งในอนาคต โลกจะเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่งานต่างๆ จะมองหาผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งแบบ Area Studies และมีทัศนคติแบบสากลนิยมมาปรับใช้ (Adaptability) เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นสากล ตอบรับโอกาสใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามา

สำหรับน้องๆ มัธยมปลายที่สนใจรายละเอียดหลักสูตรของ PBIC Thammasat สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.pbic.tu.ac.th สอบถามโทร. 0-2613-3720 หรือ facebook.com/PBIC.TU