Google Scholar July 2019 จัดอันดับ จุฬาฯที่1ประเทศ ‘สวนสุนันทา’ผู้นำราชภัฏ มทร.ธัญบุรีที่1ราชมงคล ม.รังสิตเบอร์1เอกชน

เปิดโผการประกาศผล TRANSPARENT RANKING: Top Universities by Citations in Top Google Scholar profiles
Eighth Edition (July 2019 version 8.1.0 BETA!!)

การจัดอันดับนี้เป็นการแสดงผลในส่วนของมหาวิทยาลัยที่มีการ citations ใน google scholar สูงที่สุด ตรวจสอบได้ที่ http://www.webometrics.info/en/transparent

จุฬาฯที่1ของประเทศ โดยมีอันดับ 1-10 ดังนี้

1.Chulalongkorn University
2.Mahidol University
3.Kasetsart University
4.King Mongkut’s University of Technology Thonburi
5. Chiang Mai University
6. Khon Kaen University
7. Asian Institute of Technology
8.Thammasat University
9.Prince of Songkla University
10.King Mongkut’s University of Technology North Bangkok

สวนสุนันทา อันดับดีขึ้น และครองอันดับ 1 ราชภัฏเช่นเดิม
ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ “สวนสุนันทา” ยังครองอันดับ 1 ไว้ได้อย่างมั่นคง อยู่ในอันดับที่ 18 ของประเทศ ดีขึ้นจากการจัดอันดับเมื่อเดือนมกราคม 2019 ซึ่งด้าน openness (คือจำนวนการ citations ผลงานวิจัย ของผู้วิจัยที่มีข้อมูลอยู่ในฐาน Google Scholar 10%) ครั้งที่แล้วอยู่ในอันดับที่ 20 ของประเทศ โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ตามมาเป็นที่ 2 ส่วนที่ 3 เป็นของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม เป็นอันดับ 4 ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่อยู่อันดับที่ 5

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ครองที่1กลุ่มราชมงคล

โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับ ที่16 ของประเทศ โดยมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตามมาเป็นที่ 2 ในกลุ่มนี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อยู่อันดับ 3 ของกลุ่ม อันดับ4เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อันดับ 5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อยู่อันดับ6ของกลุ่มนี้

มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ 1 มหาวิทยาลัยเอกชน
ส่วนสถาบันเอกชน “มหาวิทยาลัยรังสิต” ครองอันดับ 1 ตามมาด้วยอันดับ 2 ม.ธุรกิจบัณฑิตย์  ส่วนม.ศรีปทุมอยู่ในอันดับที่ 3 ม.กรุงเทพ ครองอันดับ 4 และม.อัสสัมชัญ ครองอันดับ 5 ของกลุ่มนี้

ที่มาของการจัดอันดับ
การจัดอันดับจะพิจารณาจากการ Citation งานวิจัย ที่อยู่ใน Google Scholar ซึ่งหลาย ๆ มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบอออนไลน์มากขึ้น

สำหรับ Google Scholar นั้นเป็นอีกบริการหนึ่งของ Google ที่จะให้บริการในการสืบค้นงานเขียน และสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีความต้องการในการสืบค้นงานวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นจากงานวิจัย ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือ
บทความในวารสารวิชาการต่างๆ โดยผู้สืบค้นนั้นสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ เหล่านั้นออกมาได้ อาทิ บทความวิชาการ บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ ฯลฯ

หมายเหตุ:การจัดอันดับผลรวม 4 ด้าน โดย Webometrics ของ july2019 ยังไม่ประกาศ โดยมีเกณฑ์การจัดอันดับประกอบไปด้วย 4 ตัวชี้วัด
1.presence คือจำนวนเว็บเพจทั้งหมดที่อยู่ภายใต้โดเมนหลักของมหาวิทยาลัย 5%
2.visibility (impact) คือจำนวนการเชื่อมโยงจากลิงค์ภายนอก (subnet) ที่เข้าสู่เว็บเพจมหาวิทยาลัย 50%
3.openness คือ จำนวนการ citations ผลงานวิจัย ของผู้วิจัยที่มีข้อมูลอยู่ในฐาน Google Scholar 10% (อันดับที่นำเสนอครั้งนี้)
4. excellence คือ จำนวน papers และการ cited papers ที่อยู่ในฐานข้อมูล scimago35%

ผลรวมการจัดอันดับ january 2019

ดูที่ http://blog.eduzones.com/magazine/204995