Ultralearning เทคนิคการเรียนรู้ด้วยความเร็วสูงสุด

 

คุณใช้เวลานานแค่ไหนในการเรียนภาษา ฝึกวาดรูป หรือทำปริญญา?
.
สิ่งที่เราจะมาพูดถึงในที่นี้คือจะทำอย่างไรให้คุณทำสิ่งเหล่านี้ได้เร็วกว่าที่เคยเป็นมา
.
Ultralearning คือเทคนิคการเรียนรู้อย่างรวดเร็วที่ Scott Young เรียนรู้และพัฒนาขึ้นด้วยตัวเอง เขาคือนักเขียน โปรแกรมเมอร์ และนักเดินทาง ที่ใช้เวลาส่วนมากไปกับการเรียนรู้ และเขียน Blog เกี่ยวกับเทคนิคการเรียนรู้ของเขา
.
ด้วยเทคนิคที่เขาพัฒนาขึ้นมานี้ Scott Young สามารถที่จะเรียนรู้ภาษาใหม่ได้โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งปี ฝึกวาดรูปจากพื้นฐานจนสามารถวาดได้ในระดับดีเยี่ยมในหนึ่งเดือน และสามารถจบปริญญาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หลักสูตร 4 ปี ด้วยตัวเองในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
.
เขาทำอย่างนั้นได้อย่างไร??
.
.
หัวใจหลักของสิ่งที่ช่วยให้ Scott Young สามารถประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาทำได้ทั้งหมดนี้ก็คือความพยายามในการที่จะเข้าใจรูปแบบวิธีการที่มนุษย์เราเรียนรู้สิ่งต่างๆ และนำมาปรับใช้ให้เกิดผลสูงสุด
.
และนั่นคือที่มาของ Ultralearning
.
Scott Young บอกว่าวิธีการเรียนรู้นี้คือการสร้างการเรียนรู้ของตัวคุณเองผ่าน 9 หลักการ
.
.
1. Metalearning – ออกแบบการเรียนรู้ของคุณ
.
ค้นคว้าและวางแผนการเรียนรู้ว่าคุณจะเรียนรู้สิ่งนี้ไปทำไม เพื่ออะไร และมีอะไรบ้างที่คุณต้องเรียนรู้ หลักการอะไรบ้างที่คุณจะต้องศึกษา หัวข้อไหนที่คุณต้องให้ความสำคัญกับมัน
.
นี่คือสิ่งแรกที่คุณต้องทำในการเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ แต่คุณก็อาจจะย้อนมาออกแบบมันอีกครั้งระหว่างการเรียนรู้ก็ได้หากคุณคิดว่าจำเป็น
.
ยกตัวอย่างเช่นหากคุณต้องการจะเรียนรู้การเขียนโค้ด คุณศึกษาและออกแบบว่าคุณจะต้องรู้หลักการอะไรบ้าง และภาษาไหนที่คุณสนใจ ในการสำเร็จเป้าหมายในการเรียนรู้นี้คุณจะต้องรู้อะไรบ้าง
.
.
2. Focus – จดจ่อกับการเรียนรู้นี้
.
หลักการข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนดั่งชื่อของมัน พยายามหาวิธีการที่จะช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ และตัดสิ่งรบกวนออกไปให้ได้มากที่สุด
.
.
3. Directness – ศึกษาให้ตรงจุด
.
ความหมายของหลักการนี้คือการที่คุณจะต้องออกแบบการเรียนรู้นี้ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ของคุณ และรวมไปถึงการพุ่งเป้าตรงไปยังสิ่งที่คุณต้องการจะเรียนรู้จริงๆ ไม่ใช่ทำในสิ่งที่อาจจะง่ายกว่า
.
เช่นหากคุณต้องการจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การศึกษาให้ตรงจุดจริงๆคือการที่คุณจะต้องเริ่มคุยภาษาอังกฤษกับคนอังกฤษ ไม่ใช่การนั่งดู Netflix แบบปิดซับ วิธีนั้นอาจได้ผลในระยะยาว แต่เพราะความไม่ตรงจุดนั้นเองจึงทำให้การเรียนรู้ด้วยวิธีนั้นใช้เวลามากกว่า
.
ในลักษณธเดียวกัน Scott Young เองก็เรียนรู็ภาษาใหม่ด้วยการที่พยายามไม่ใช้ภาษาอังกฤษและสื่อสารด้วยภาษาที่กำลังเรียนอยู่ตลอด1ปีเลยทีเดีย
.
นอกจากนั้นแล้ว ส่วนมากในการเรียนรู้ เรามักจะทำตามวิธีการทั่วไป คือพยายามที่จะเรียนรู้ในทุกด้าน แต่การทำเช่นนั้นก็เป็นสิ่งที่ยือให้เราเรียนรู้ได้ช้าเช่นกัน และวิธีที่ตรงจุดกว่าคือการพุ่งเป้าไปในสิ่งที่เราต้องการจะเรียนรู้ หรือสิ่งที่เราต้องพัฒนา แทนที่จะให้เวลาเรียนทุกๆด้านไปพร้อมกัน
.
.
4. Drill – เจาะจุด
.
หลักการนี้คือการมุ่งเป้าเรียนรู้ไปที่จุดเดียวที่คุณจำเป็นจะต้องเรียนรู้ และศึกษามันอย่างจริงจังเพื่อที่จะพัฒนาจุดนั้น ส่วนมากจุดที่เราจะต้องเจาะเรียนรู้ มักจะเป็นส่วนที่เรามีปัญหามากที่สุด เช่นสิ่วนที่เราทำไม่ได้ซักที หรือสิ่งที่เราไม่เก่ง
.
เช่นคุณอาจอยากฝึกเขียนภาษาอังกฤษ ซึ่งคุณก็แม่นแกรมม่าแล้ว คุณเข้าใจสิ่งที่คนอื่นสื่อสารกับคุณมาเป็นภาษาอังกฤษ แต่สิ่งเดียวที่รั้งคุณไว้ในการพัฒนาต่อคือคุณยังรู้คำศัพท์ไม่มากพอ การเจาะจุดคือการที่คุณมุ่งเน้นเวลาทั้งหมดไปกับการแก้ปัญหาในจุดนี้ และฝึกฝนด้านคำศัพท์ให้ได้มากที่สุด
.
ซึ่งในการเรียนรู้แบบเจาะจุดให้ได้ผลสูงสุดนี้มีอยู่สองขั้นตอน ขั้นแรกคือการนำสิ่งที่คุณต้องการเจาะจุดนั้นมากแตกออกให้เป็นส่วนย่อยว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง และขั้นที่สองคือการวิเคราะห์องค์ประกอบแยกย่อยเหล่านั้นว่ามีอะไรบ้างที่คุณทำได้อยู่แล้ว และอะไรที่คุณต้องเรียนรู้เพิ่ม
.
.
5. Retrieval – ทดสอบตัวคุณเอง
.
หลักการนี้คือการที่คุณจะต้องทดสอบตัวเองอยู่เสมอระหว่างการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะการทดสอบนั้นคือการวัดว่าคุณสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้นี้ไปใช้ได้จริงแค่ไหน และคุณจะได้เห็นผลจริงที่สุดจากการทดสอบ
.
หลายครั้งเราอาจหลักเลี่ยงการทดสอบด้วยเพราะว่าคุณคิดว่าคุณรู้เรื่องนั้นอยู่แล้ว เช่นเมื่อคุณเรียนคณิต คุณรู้สูตรในการแก้สมการอยู่แล้วคุณจึงอาจคิดว่ามันไม่จำเป็นแล้วที่คุณจะต้องทดสอบอะไร แต่การทดสอบจะทำให้เห็นว่าต่อให้คุณรู้สมการอยู่แล้วคุณนำมันไปใช้จริงได้หรือเปล่
.
คุณอาจออกแบบการทดสอบให้กับตัวเองเช่น เมื่อคุณเรียนรู้ประวัติศาสตร์ยุคกลาง คุณอาจจะเขียนชื่อเหตุการณ์ และชื่อบุคคลต่างๆไว้ แล้วลองมาไล่ดูว่าคุณสามารถระบุคนหรือเหตุการณ์เหล่านั้นได้ดีแค่ไหน
.
ประโยชน์อีกอย่างของการทดสอบตัวเองอยู่เสมอนี้ คือจะช่วยให้คุณเห็นจุดที่คุณต้องเจาะเพื่อเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
.
.
6 Feedback – เก็บผลให้ได้มากที่สุด
.
ไม่ว่าคุณจะทดสอบ หรือคุณจะเจอผลลัพธ์จากการลงมือทำจริง ให้คุณพยายามมองหาผลที่คุณได้จากการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ดี
.
.
7. Retention – เก็บรักษา
.
พยายามค้นหาวิธี และหลักการที่จะช่วยให้คุณสามารถรักษาความรู้ที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมดนี้ไว้ให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยการนำไม่ใช่จริง หรืออาจมีเทคนิคในการช่วยจำต่างๆ
.
.
8. Intuition – รู้ให้จริง
.
หลักการนี้คือการว่าด้วยการรู้ในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ให้ได้ บางครั้งเรากำลังเรียนรู้ในสิ่งที่เข้าใจยาก ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณเรียนรู้คอนเซ็ปบางอย่างเช่น Mcdonald’s ใช้สีเหลืองซึ่งสื่อถึงความกระตือรือร้น เพื่อดึงดูดสายตาของผู้บริโภค ความหมายจริงๆของมันคืออะไร
.
พยายามศึกษาทำความเข้าใจสิ่งที่คุณเรียนรู้ลงให้ลึกจริงๆ เพราะแก่นของการเรียนรู้เช่นนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเช่นการเรียนภาษาจะง่ายขึ้นหากคุณเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของภาพษานั้น และคุณเรีนรู้คำศัพท์ใหม่ได้ง่ายขึ้นหากคุณรู้รากศัพท์ในภาษา
.
.
9. Experimentation – การทดลอง
.
หลักการนี้เป้นสิ่งที่อาจไปไกลเกินกว่าแค่การเรียนรู้ แต่คือการที่คุณจับสิ่งที่คุณเรียนรู้ได้มาบิด มาเขย่าให้เกิดรูปแบบใหม่ขึ้นมา การจะทำเช่นนั้นได้คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในสิ่งที่คุณศึกษาอยู่แล้วจริงๆ เพื่อที่คุณจะนำแก่นของมันมาปรับ มาผสม และสร้างสิ่งใหม่ออกมาได้
.
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการเรียนรู้ศิลปะ หากคุณจะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ศิปะได้จริงคุณจะต้องไม่หยุดอยู่แค่การเรียนรู้สไตล์และเทคนิค แต่คุณจะต้องสร้างสไตล์และเทคนิคของตัวเองขึ้นมา และการทำเช่นนี้คือสิ่งที่คุณจะต้องทดลองซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะค้นพบและเข้าใจความเป็นไปได้ใหม่ๆจากการเรียนรู้เหล่านี้
.
.
ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำเบื้องต้นในการเรียนรู้แบบ Ultraleaning ของ Scott Young ซึ่งเขาได้ทดลองกับตัวเอง และนำผลลัพธ์ที่ได้มาพัฒนาเป็นหลักการ และเขียนหนังสือ Ultralearning: Master Hard Skills, Outsmart the Competition, and Accelerate Your Career
.
ซึ่งปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ยังไม่ได้ถูกแปลออกมาเป็นภาษาไทย แต่ในฉบับภาษาอังกฤษของหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังเป็นหนังสือ The Wall Street Journal Best Seller อีกด้วย
.
.

แปลโดย S.siravich

ที่มา Future Trends