กระทรวงแรงงานให้ทุนฝึกงานที่ญี่ปุ่น ครบ3ปีมีโบนัสก้อนโต

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และองค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น (International Manpower Development Organization, Japan : IM Japan หรือเรียกโดยย่อว่า IM ประเทศญี่ปุ่น) ดําเนินการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานเทคนิคในสถาน ประกอบการของประเทศญี่ปุ่น

๑. คุณลักษณะอาชีพและประเภทงาน 

ตําแหน่งคนงานทั่วไป โดย JM ประเทศญี่ปุ่นจะแจ้งลักษณะ ประเภทงาน และจํานวน ผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคที่ต้องการในแต่ละรุ่นตามความประสงค์ของสถานประกอบการต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคเพื่อให้กรมการจัดหางานพิจารณาดําเนินการคัดเลือกตามบันทึกความเข้าใจ และข้อตกลงระหว่างกรมการจัดหางานกับองค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติประเทศญี่ปุ่น 

๒. คุณสมบัติของผู้สมัคร 

๒.๑ เพศหญิง 

() อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปี บริบูรณ์ ณ วันสมัคร 

(๒) สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ไม่จํากัดสาขาวิชา 

(๓) ความสูงไม่ต่ํากว่า ๑๕๐ เซนติเมตร น้ําหนักได้สัดส่วนกับส่วนสูง สุขภาพ แข็งแรง สมบูรณ์ 

() ไม่มีรอยสัก หรือความผิดปกติทางร่างกาย (๕) ไม่เคยมีประวัติหรือความประพฤติเสียหาย 

() ไม่เคยเป็นผู้ไปฝึกงานเทคนิคที่ประเทศญี่ปุ่นโดยใช้วีซ่า “Technical intemหรือเคย ไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นแบบมีทักษะ หรือเป็นผู้ต้องห้ามในการเข้าประเทศญี่ปุ่น 

(๗) ไม่เคยเป็นผู้ที่เคยทํางานหรือเข้าเมืองหรือพํานักอาศัยโดยผิดกฎหมาย ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ 

(๔) ไม่เคยเป็นผู้ผ่านการคัดเลือกและถูกตัดสิทธิออกจากการฝึกอบรมก่อนเดินทาง ไปฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น สาเหตุเนื่องจากมีปัญหาด้านความประพฤติ 

() ไม่เคยทํางานในประเทศญี่ปุ่นโดยแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง 

(๑๐) ไม่เคยทํางานในประเทศญี่ปุ่นภายหลังจากสําเร็จการฝึกอบรมหรือสําเร็จ การศึกษาในประเทศญี่ปุ่น 

(๑๑) สายตาปกติ (สายตาไม่สั้น ไม่ยาว ไม่เอียง และตาไม่บอดสี) 

(๑๒) สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตาข้อ ๔ อันอาจเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการฝึกอบรม ในประเทศไทยและระหว่างการฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น 

๒.๒ เพศชาย 

(๑) อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์ ณ วันสมัคร 

() สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ไม่จํากัดสาขาวิชา 

() ความสูงไม่ต่ํากว่า ๑๖๐ เซนติเมตร น้ําหนักได้สัดส่วนกับส่วนสูง สุขภาพ แข็งแรง สมบูรณ์ 

(๔) พ้นภาระการรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว (๕) ไม่มีรอยสัก หรือความผิดปกติทางร่างกาย (๖) ไม่มีความประพฤติเสียหาย 

(๗) ไม่เคยเป็นผู้ไปฝึกงานเทคนิคที่ประเทศญี่ปุ่นโดยใช้วีซ่า “Technical Intem” หรือเคย ไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นแบบมีทักษะ หรือเป็นผู้ต้องห้ามในการเข้าประเทศญี่ปุ่น 

(๔) ไม่เคยเป็นผู้ที่เคยทํางานหรือเข้าเมืองหรือพํานักอาศัยโดยผิดกฎหมาย ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ 

(๔) ไม่เคยเป็นผู้ผ่านการคัดเลือกและถูกตัดสิทธิออกจากการฝึกอบรมก่อนเดินทางไป ฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น สาเหตุเนื่องจากมีปัญหาด้านความประพฤติ 

(๑๐) ไม่เคยทํางานในประเทศญี่ปุ่นโดยแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง 

(๑๑) ไม่เคยทํางานในประเทศญี่ปุ่นภายหลังจากสําเร็จการฝึกอบรมหรือสําเร็จ การศึกษาในประเทศญี่ปุ่น 

(๑๒) สายตาปกติ (สายตาไม่สั้น ไม่ยาว ไม่เอียง และตาไม่บอดสี) 

(๑๓) สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามข้อ ๔ อันอาจเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการฝึกอบรม ในประเทศไทยและระหว่างการฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น 

๓. ระยะเวลาฝึกงานเทคนิคและค่าตอบแทนที่จะได้รับ 

๓.๑ IM ประเทศญี่ปุ่น จะจ่ายค่าโดยสารเครื่องบินไป – กลับ (กรุงเทพฯ – โตเกียว – กรุงเทพฯ) 

๓.๒ IM ประเทศญี่ปุ่น กําหนดระยะเวลาฝึกงานเทคนิคสูงสุด ๓ ปี (๓๖ เดือน) โดยผู้ฝึกงานเทคนิคจะต้องฝึกงานเทคนิคกับสถานประกอบการที่รับผู้ฝึกงานเทคนิคที่ IM ประเทศญี่ปุ่น จัดให้เท่านั้น โดยได้ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าจ้างตามเงื่อนไขและตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ดังนี้ 

(๑) เดือนแรก ผู้ฝึกงานเทคนิคแต่ละคนจะได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ ๘๐,000 เยน และ IM ประเทศญี่ปุ่น จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าที่พัก ค่าไฟฟ้า ค่าน้ํา ยกเว้นค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายส่วนตัว ของผู้ฝึกงานเทคนิคต้องรับผิดชอบเอง 

(๒) เดือนที่ ๒ ถึงเดือนที่ ๓๖ ผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคจะฝึกงานเทคนิคภายใต้สัญญาจ้างตาม กฎหมายแรงงานของญี่ปุ่นระหว่างผู้ฝึกงานเทคนิคกับสถานประกอบการ ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ําที่กฎหมายญี่ปุ่นกําหนด) ทั้งนี้ ผู้ฝึกงานเทคนิคจะต้องรับผิดชอบค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ และค่าประกันสังคม รวมทั้งค่าภาษีตามที่กฎหมายกําหนด 

(๓) ผู้ฝึกงานเทคนิคที่สําเร็จการฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่นครบ ๓ ปี จะได้รับ ประกาศนียบัตรรับรองการฝึกงาน และจะได้รับเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพจํานวน 500,000 เยน เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพเมื่อเดินทางกลับประเทศไทย 

๓.๓ IM ประเทศญี่ปุ่น จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนค่าเบี้ยประกันภัยผู้ฝึกงานเทคนิค

๔. ค่าใช้จ่ายที่ผู้ฝึกงานเทคนิครับผิดชอบ 

(๑) ค่าโดยสาร ในระหว่างการฝึกอบรมก่อนเดินทางในประเทศไทย (๒) ค่าตรวจสุขภาพก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น (๓) ค่าจัดทําหนังสือเดินทาง (๔) ค่าวีซ่า (๕) ค่าธรรมเนียมการขอสําเนาข้อมูลข่าวสารของราชการในการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (๖) ค่าเบี้ยประกัน และภาษีตาที่กฎหมายของประเทศญี่ปุ่นกําหนด (๗) ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าอาหารระหว่างเดือนแรกในประเทศญี่ปุ่น (๘) ค่าอาหารระหว่างการฝึกงานเทคนิคตลอดระยะเวลา ๓ ปี ตั้งแต่เดินทางถึงประเทศญี่ปุ่น

๕. การรับสมัคร 

ให้ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนสมัครด้วยตนเองได้ที่ 

(๑) ฝ่ายจัดส่งไปทํางานประเทศญี่ปุ่น กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ อาคารสํานักงาน ประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๓ ชั้น ๑๐ ภายในกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร 

(๒) สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ – ๑๐ (๓) สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด

๖. รับสมัครในวันและเวลาราชการ ดังนี้ 

– เพศหญิง รับสมัครระหว่างวันที่ ๒ – ๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ 

– เพศชาย รับสมัครระหว่างวันที่ ๒ – ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ผู้สมัครไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าสมัครใดๆ ทั้งสิ้น 

๗. หลักฐานและเอกสารที่จะต้องยื่นในการสมัคร 

๗.๑ เพศหญิง 

(๑) ใบสมัครสอบคัดเลือก (๒) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดํา ขนาด ๑ นิ้ว จํานวน ๓ รูป 

(๓) บัตรประจําตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หลักฐานการศึกษาตามข้อ ๒.๑ (๒) พร้อมสําเนาอย่างละ ๑ ฉบับ โดยเอกสารทุกฉบับต้องถ่ายสําเนาเป็นกระดาษขนาด เอ ๔ และผู้สมัครลงลายมือ ชื่อรับรองสําเนาทุกฉบับ 

(๔) ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าสุขภาพแข็งแรง สายตาปกติ (สายตาไม่สั้น สายตา ไม่ยาว สายตาไม่เอียง และตาไม่บอดสี) 

ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบว่าผู้สมัครรายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ ๒.๑ จะถือว่าผู้นั้น ขาดคุณสมบัติการเข้าร่วมโครงการทันที 

๗.๒ เพศชาย 

(๑) ใบสมัครสอบคัดเลือก (๒) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดํา ขนาด ๑.๕ นิ้ว จํานวน ๓ รูป 

(๓) บัตรประจําตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หลักฐานการศึกษาตามข้อ ๒.๒ (๒) และหลักฐานการพ้นภาระการรับราชการทหารตามข้อ ๒.๒ (๔) (สด.๘, สด.๔๓ หนังสือสําคัญประจําตัวแสดง วิทยฐานะ (รด.๓, รด.๕) หนังสือรับรองครบกําหนดปลดปล่อยเป็นทหารกองหนุน) 

(๔) ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าสุขภาพแข็งแรง สายตาปกติ (สายตาไม่สั้น ไม่ยาว ไม่เอียง และตาไม่บอดสี) 

ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบว่าผู้สมัครรายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ ๒.๒ จะถือว่าผู้นั้น ขาดคุณสมบัติการเข้าร่วมโครงการทันที 

๘. กําหนดการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ อาคาร สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๓ ชั้น ๑ ภายในกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร และเว็บไซต์ www.doe.go.th/overseas 

๙. กําหนดสอบข้อเขียน ทดสอบสมรรถภาพร่างกายและสอบสัมภาษณ์ 

อบข้อเขียนในวันเสาร์ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๓ ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๑ 

รายละเอียดการสอบและสถานที่สอบให้ดูในวันที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ๔. วิธีการคัดเลือกและประกาศผล 

คณะอนุกรรมการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นจะดําเนินการ คัดเลือกผู้สมัครตามขั้นตอน และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กําหนดข้างท้าย โดยจะพิจารณาผู้สมัครที่สามารถ ผ่านการคัดเลือกขั้นตอนต่าง ๆ และมีความเหมาะสมในการฝึกงานเทคนิคที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นสําคัญ คําวินิจฉัย ของคณะอนุกรรมการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นให้เป็นที่สุด 

วิธีการคัดเลือกผู้สมัคร เพศหญิง มีขั้นตอนดังนี้ 

(๑) สอบภาคความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ (คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน) มีวิชาที่สอบ ดังนี้ 

๑. วิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป ๒๐ ข้อ ๒๐ คะแนน เป็นข้อสอบให้เลือกคําตอบ เนื้อหา ที่ออกเป็นคณิตศาสตร์พื้นฐาน 

๒. วิชาคณิตศาสตร์คิดเร็ว ๒๐ ข้อ ๒๐ คะแนน เป็นข้อสอบปรนัย (เติมคําตอบในช่องว่าง) เนื้อหาที่ออกเช่นเดียวกับวิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ จะต้องได้คะแนนไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนทั้ง ๒ วิชารวมกัน 

(๒) สอบภาคความรู้ความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่น (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน) มีเนื้อหาวิชา ดังนี้ 

๑. อักษรฮิระงะนะ การเขียนตัวอักษร ๒๕ คะแนน 

๒. อักษรคะตะกะนะ การเขียนตัวอักษร ๒๕ คะแนน 

ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคควารู้ความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่น จะต้องได้คะแนนไม่ต่ํากว่า ร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวมการสอบภาษาญี่ปุ่น (ผู้สมัครสอบสามารถขอรับตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นได้จาก เจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร หรือสามารถดาวน์โหลดได้จาก www.doe.go.th/overseas ตามเอกสารที่แนบท้าย ประกาศฉบับนี้) 

เกณฑ์การตัดสิน ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนจะต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนทั้ง ๒ ภาคไม่ต่ํากว่า เกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ สอบได้ภาคความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวม ทั้ง ๒ วิชา และสอบได้ภาคความรู้ความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวมการสอบ ภาษาญี่ปุ่น จึงจะเป็นผู้สอบผ่านข้อเขียน โดยจะประกาศผลสอบข้อเขียนในวันสอบข้อเขียน 

วิธีการคัดเลือกผู้สมัคร เพศชาย มีขั้นตอนดังนี้ 

(๑) สอบภาคความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์และด้านช่าง (คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน) มีวิชาที่สอบ ดังนี้ 

๑. วิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป ๒๐ ข้อ ๒๐ คะแนน เป็นข้อสอบให้เลือกคําตอบ เนื้อหา ที่ออกเป็นคณิตศาสตร์พื้นฐาน 

๒. วิชาคณิตศาสตร์คิดเร็ว ๒๐ ข้อ ๒๐ คะแนน เป็นข้อสอบปรนัย (เติมคําตอบในช่องว่าง) เนื้อหาที่ออกเช่นเดียวกับวิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป 

๓. วิชาควารู้ด้านช่าง ๒๐ ข้อ ๒๐ คะแนน เป็นข้อสอบแบบให้เลือกคําตอบ ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์และด้านช่าง จะต้องได้คะแนนไม่ต่ํากว่า ร้อยละ ๕๐ ของคะแนนทั้ง ๓ วิชารวมกัน 

(๒) สอบภาคความรู้ความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่น (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน) มีเนื้อหาวิชา ดังนี้ 

๑. อักษรฮิระงะนะ การเขียนตัวอักษร ๒๕ คะแนน 

๒. อักษรคะตะคะนะ การเขียนตัวอักษร ๒๕ คะแนน 

ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่น จะต้องได้คะแนนไม่ต่ํากว่า ร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวมการสอบภาษาญี่ปุ่น (ผู้สมัครสอบสามารถขอรับตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นได้จาก เจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร หรือสามารถดาวน์โหลดได้จาก www.doe.go.th/overseas ตามเอกสารที่แนบท้าย ประกาศฉบับนี้) 

เกณฑ์การตัดสิน ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนจะต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนทั้ง ๒ ภาคไม่ต่ํากว่า เกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ สอบได้ภาคควารู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์และด้านช่างไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวมทั้ง วิชา และสอบได้ภาคความรู้ความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวมการสอบภาษาญี่ปุ่น จึงจะเป็นผู้สอบผ่านข้อเขียน โดยจะประกาศผลสอบข้อเขียนในวัน สอบข้อเขียน 

(๓) ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย 

– เพศหญิง มีขั้นตอนการทดสอบ ดังนี้ 

การตรวจรอยสักบนร่างกาย การทดสอบดันพื้น (Push Up) อย่างน้อย ๑๕ ครั้งต่อเนื่อง การทดสอบลุก-นั่ง (Sit Up) ๒ ชุด ชุดละ ๑๐ ครั้งต่อเนื่อง ระหว่างชุดให้พัก ๑ นาที 

การทดสอบวิ่งระยะทาง ๑,๒๐๐ เมตร ระยะเวลาไม่เกิน 4 นาที ผู้ที่สอบผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายคือผู้ที่สอบผ่านทุกขั้นตอนการทดสอบ ผู้ที่สอบไม่ผ่านขั้นตอน การทดสอบแรกก็จะไม่สามารถทดสอบขั้นตอนต่อไปได้ โดยจะประกาศผลการทดสอบในวันที่ทดสอบ สมรรถภาพร่างกาย 

– เพศชาย มีขั้นตอนการทดสอบ ดังนี้ 

การตรวจรอยสักบนร่างกาย การทดสอบดันพื้น (Push Up) อย่างน้อย ๓๕ ครั้งต่อเนื่อง การทดสอบลุก-นั่ง (Sit Up) อย่างน้อย ๒๕ ครั้งต่อเนื่อง 

การทดสอบวิ่งระยะทาง ๓,000 เมตร ระยะเวลาไม่เกิน ๑๕ นาที ผู้ที่สอบผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายคือผู้ที่สอบผ่านทุกขั้นตอนการทดสอบ ผู้ที่สอบไม่ผ่านขั้นตอน การทดสอบแรกก็จะไม่สามารถทดสอบขั้นตอนต่อไปได้ โดยจะประกาศผลการทดสอบในวันที่ทดสอบ สมรรถภาพร่างกาย 

(๔) สอบสัมภาษณ์ เพื่อทดสอบทัศนคติ บุคลิกภาพทั่วไป การปรับตัว วุฒิภาวะทาง อารมณ์ และความเหมาะสมในการเป็นผู้ฝึกงานในโครงการ IM ประเทศญี่ปุ่น 

ผู้ไม่ผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ในขั้นตอนต่อไปและผู้สมัครจะต้องตรวจสอบผลการคัดเลือกในทุกขั้นตอนด้วยตนเองเท่านั้น 

โดยจะประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ อาคารสํานักงาน ประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๓ ชั้น ๑ ภายในกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวง/เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร และทางเว็บไซต์ www.doe.go.th/overseas 

๑๐. การรายงานตัวผู้ผ่านการคัดเลือก 

ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องมารายงานตัว ณ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ชั้น ๑๐ อาคารสํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๓ ภายในกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร และเตรียมเงินจํานวน 900 บาท เป็นค่าธรรมเนียมการขอสําเนาข้อมูลข่าวสารของราชการ ในการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ทั้งนี้ ผู้ผ่านการคัดเลือกที่ไม่มารายงานตัวตามกําหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ 

๑๑. การอบรมก่อนเดินทางไปฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่นและการอบรมในประเทศญี่ปุ่น 

(๑) คณะอนุกรรมการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น โดยกรมการจัดหางานจะเรียกผู้ผ่านการคัดเลือกตามบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ด้านวัฒนธรรมและภาษาญี่ปุ่นก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา ๔ เดือน ตามหลักสูตรที่ IM ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับกรมการจัดหางานกําหนด 

(๒) ผู้ผ่านการคัดเลือกที่ไม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรม ตามที่กรมการจัดหางาน กําหนด ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์ในการเข้าร่วมการฝึกอบรมก่อนเดินทางไปฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น คณะอนุกรรมการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น โดยกรมการจัดหางานจะเรียกผู้ผ่านการคัดเลือก ตามบัญชีรายชื่อในลําดับถัดไปเข้ารับการฝึกอบรมต่อไป 

(๓) ในระหว่างการฝึกอบรมจะมีการประเมินผลผู้เข้าฝึกอบรม ผู้ไม่ผ่านการประเมินผล คือ ผู้ที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์ที่กําหนด และหรือมีปัญหาด้านความประพฤติจะต้องออกจากการฝึกอบรมและ การเข้าร่วมโครงการ 

(๔) เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมก่อนเดินทางจะมีการทดสอบภาษาญี่ปุ่น ผู้ผ่าน การทดสอบจึงจะมีสิทธิได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น และจะต้องเข้ารับการอบรมด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นอีก ๑ เดือน โดยจะมีการทดสอบอีกครั้ง หากไม่ผ่านการทดสอบ จะถูกส่งกลับประเทศไทย 

อนึ่ง ในระหว่างการฝึกอบรมก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ๔ เดือน และการอบรม ในประเทศญี่ปุ่น ๑ เดือน ห้ามมิให้ผู้เข้ารับการอบรมสูบบุหรี่ และดื่มสุรา หากฝ่าฝืนจะถูกตัดสิทธิการ เข้าร่วมโครงกรทันที และเมื่อเข้าทํางานกับบริษัทนายจ้างขึ้นอยู่กับกฎระเบียบและข้อบังคับในการทํางานของบริษัท 

๑๒. การทําสัญญาฝึกงานเทคนิคและทําข้อบังคับ 

ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ไปฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่นจะต้องทําสัญญา การฝึกงานเทคนิค และต้องนําบิดา มารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันมาทําสัญญาค้ําประกันกับ กรมการจัดหางานว่าจะไม่ยกเลิกการฝึกงานเทคนิคหรือหลบหนีหรือกระทําการใดจนเป็นเหตุให้ถูกยกเลิกการ ฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่นตามแบบที่กรมการจัดหางานกําหนด 

๑๓. คณะอนุกรรมการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับ การรับสมัคร การคัดเลือก และการจัดส่งผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคภายใต้บันทึกความเข้าใจโครงการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงาน ในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ เนื่องจากการดําเนินการรับสมัครตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว เป็นการดําเนินการ ให้เปล่าโดยไม่ได้คิดค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *