อาจารย์ ม.รังสิต ผ่านการคัดเลือกจาก UN เป็นตัวแทนไทย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในงาน “70th International Astronautical Congress, 2019: SPACE, The Power of the Past, The Promise of the Future”

อาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต ผ่านการคัดเลือกจากองค์การสหประชาชาติเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เพื่อเป็นการบริการวิชาการระดับนานาชาติ ในงาน “70th  International Astronautical Congress, 2019: SPACE, The Power of the Past, The Promise of the Future” นับเป็นงานด้านอวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยจัดมา โดยมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ จาก 70 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงาน และเป็นการรวมตัวกันของนักบินอวกาศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมนำต้นแบบอาหารอวกาศไทย “Space Elephant  มาเป็นของที่ระลึกแก่นักบินอวกาศและผู้เข้าร่วมงานให้ได้ลิ้มลองอาหารไทย  

ผศ.ดร.วิชญาณี โอชา อาจารย์ประจำสถาบันการทูตและการต่างประเทศ  และรองผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ตนได้ผ่านการคัดเลือกจากองค์การสหประชาชาติเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เพื่อเป็นการบริการวิชาการระดับนานาชาติ ในงาน “70th International Astronautical Congress, 2019: SPACE, The Power of the Past, The Promise of the Future” ที่ Walter E.Washington Convention Center, Washington DC, United States of America  ซึ่งจัดโดย International Astronautial Federation (IAF) และได้รับการสนับสนุนจาก The United Nations Office for Outer Space Affairs (UNOOSA) เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ที่มนุษย์คนแรก Niel Armstrong นักบินอวกาศจาก National Aeronautics and Space Administration  (หรือองค์การ NASA) โดยยานอวกาศ Apollo 11 ได้ลงเหยียบดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 กับประโยคที่สุดโด่งดังว่า “That’s one small step for [a] man, one giant leap for mankind”และโลกกำลังรอคอยมนุษย์คนแรกที่จะเหยียบดาวอังคารในปี 2571 “งานนี้ถือเป็นงานด้านอวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยจัดมา เพราะมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานกว่า 6,300 คน จาก 70 ประเทศทั่วโลก และเป็นการรวมตัวกันของนักบินอวกาศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้ง Buz Aldrin มนุษย์คนที่ 2 ที่เหยียบดวงจันทร์ ที่ร่วมภารกิจ Apollo 11 ก็ได้เข้าร่วมการรำลึกและเล่าถึงวินาทีประวัติศาสตร์ของโครงการ Apollo 11 พร้อมให้คำแนะนำในภารกิจสำรวจดาวอังคารในอนาคตอันใกล้นี้ (นักบินอวกาศ Niel Armstrong มนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2555)” ผศ.ดร.วิชญาณี กล่าว

ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจากรองประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา The Honorable Mike Pence, Vice-President of The United States เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และมีการแจกรางวัล IAF Excellence in Industry Award  ให้แก่ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งบริษัท Blue Origin รวมทั้งผู้บริหารสูงสุดขององค์การ NASA, Jim Bridenstine ได้รายงานโครงการความร่วมมือ Artemis ในการส่งมนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์ในปี 2567 และโครงการส่งจรวด ATLAS V-541 ที่มีภารกิจในการสำรวจดาวอังคาร MARS  ซึ่งมีกำหนดการในการปล่อยจรวดจากพื้นโลกบริเวณ CAPE CANAVERAL AIR FORCE STATION FLORIDA, USA, Earth ในเดือน กรกฎาคมปี 2563 และจะใช้เวลาการเดินทางทั้งสินจากพื้นโลกเป็นระยะทาง 313,586,649 ไมล์ จนถึงดาวอังคาร ซึ่งผศ.ดร.วิชญาณี เป็นบุคลที่มีชื่อใน Bording Pass ที่จรวด ATLAS V-541 จะขนส่งไปลงจอดยังดาวอังคารด้วยผศ.ดร.วิชญาณี  กล่าวเสริมว่า ได้เข้าร่วมบรรยายใน Session ที่ชื่อว่า “Space For Inclusiveness: Leaving no one behind” โดยมีวิทยากรผู้เข้าร่วมบรรยายอีก 3 ท่าน คือ

  1. Lara Kearney, Deputy Program Manager, Gateway Program, NASA Johnson Space Center, USA
  2. Danielle Wood, Director Space Enabled Research Group, Massachusetts Institute of Technology (MIT) Media Lab, USA
  3. Shimrit  Mamam Ben-Gurion University of the Negev, Israel

โดยหัวข้อที่อาจารย์บรรยายคือ “Space Diplomacy: Gender Equality and Sustainable Development” เป็นการนำเสนอนโยบายด้านอวกาศเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศอย่างยั่งยืนในอนาคต 

ทั้งนี้ มีไฮไลท์ภายในงาน เช่น การแจกอาหารที่นักบินอวกาศได้รับประทานจริงๆ บนสถานีอวกาศนานาชาติ International Space Station (ISS) ซึ่งผศ.ดร.วิชญาณี ได้นำต้นแบบอาหารอวกาศไทย “Space Elephant  มาเป็นของที่ระลึกแก่นักบินอวกาศและผู้เข้าร่วมงานให้ได้ลิ้มลองอาหารไทย เช่น เมนูต้มยำกุ้ง น้ำมะพร้าว ทุเรียน และธัญพืชออร์แกนิค 5 ชนิด อบกรอบหน้าพริกเผาหมูหยอง ตามนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก”  โดยอาหารอวกาศไทยเป็นที่ชื่นชอบของนักบินอวกาศจีนและญี่ปุ่น และเป็นครั้งแรกของนักบินอวกาศจากองค์การ NASA ที่ได้ทดลองรับประทานอาหารอวกาศจากประเทศไทย 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *