อาชีพเป็นที่ต้องการของตลาดยุค 4.0 “วิศวกรระบบราง”

 

 

 

ด้วยในยุคที่ระบบขนส่งต่างๆ กำลังพัฒนาระบบการขนส่งอย่างต่อเนื่อง ระบบการคมนาคมขนส่งทางรางนั้นเป็นหนึ่งในระบบขนส่งที่ทั้งบ้านเราและทั่วโลกกำลังมุ่งพัฒนาระบบการขนส่งนี้เพื่อมาตอบโจทย์การใช้ชีวิตของประชาชนในเทศ รวมไปถึงข้ามประเทศ ตั้งแต่ระบบรถไฟธรรมดา รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ทำให้อีกอาชีพที่ได้รับการรับรองว่าจะไม่ตกงานอย่างแน่นอนในยุคนี้ก็คือ “วิศวกรระบบราง” ซึ่งนอกจากจะไม่ตกงานแล้ว จากการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าภายในปี 2563 ประเทศไทยมีความต้องการกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบรางสูงถึง 31,000 คนเป็นวิศวกร 6 พันคน ช่างเทคนิค 1.2 หมื่นคน และเจ้าหน้าที่ประจำสถานีถึง 1.3 หมื่นคน

 

 

นอกจากนี้ตำแหน่งวิศวกรที่มีความรู้ทั้งด้านระบบรางและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ยังขาดแคลนมากในประเทศอาเซียน มีองค์กรและบริษัทต่างๆ มีความต้องบุคลากรสายตรงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 อัตรา

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Railway Engineer

 

หน้าที่ของวิศวกรระบบรางนี้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ท้าทาย ต้องใช้ทักษะในการทำงานที่รอบด้าน งานของวิศวกรระบบรางเริ่มตั้งแต่ก็ลงไปตรวจสอบที่หน้างาน เช็กระบบโครงสร้างพื้นฐาน  และซ่อมบำรุงระบบรางที่ใช้กับรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงที่มีความชำรุด ให้พร้อมใช้งาน รวมไปถึงการออกแบบ ก่อสร้าง และการดำเนินงานด้านรถไฟทั้งหมด ตั้งแต่การควบคุมการรองรับน้ำหนัก ระบบเบรก ระบบสัญญาณไฟ การสับราง ต้องทำการวางแผนการทำงานของระบบราง ระบบการเดินรถให้ได้ประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนี้วิศวกรระบบรางก็ต้องมีความรู้ในด้านโลจิสติกส์ และการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ อีกด้วย

 

โดยอัตราเงินเดือนเริ่มต้นของอาชีพวิศวกรระบบรางก็ถือว่าไม่น้อยอยู่ที่ อัตราเงินเดือน : 18,000 – 25,000 บาท ทั้งนี้อยู่กับองค์กร และทักษะรวมถึงประสบการณการทำงานด้วย

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

 

สำหรับใครที่สนใจอาชีพวิศวกรระบบรางสถาบันการศึกษาในไทยก็มีเปิดสอนด้านนี้อยู่จำนวนไม่น้อย เช่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (วิศวกรรมขนส่งทางราง) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (วิศวกรรมระบบราง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาขาวิชาวิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น

 

 

สำหรับในต่างประเทศ อาทิ Civil and Railway Engineering University of Birmingham

Railway Engineering Sheffield Hallam University

Rail Integrated Design Management University of London,

Civil and Infrastructure Engineering University of Derby

Civil and Infrastructure Engineering Kingston University   เป็นต้น

 

 

 

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

:https://www.georges971ltd.co.uk/railway-engineer

:https://www.theglobalinfrastructuregroup.com/global-rail-construction/our-news/news-stories/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *