3 ว. ช่วยครูวิเคราะห์ก่อนลงโทษนักเรียน

 

 

หลายคนคงเคยได้ยินสำนวน “ไม้เรียวเรียวสร้างคน” สุภาษิตสำนวนที่ถูกกล่าวถึงในการสอนลูกหลาน และลูกศิษย์ และให้ได้ดีและประสบความสำเร็จด้วยการตี เมื่อครั้งที่การลงโทษนักเรียนยังไม่มีมาตรการที่เข้ามาควบคุมอย่างชัดเจนและเคร่งครัดแบบนี้ ถ้าพูดถึงการลงโทษนักเรียนด้วยการไม้เรียว การตี หรือการทำโทษทางร่างกายด้วยวิธีต่างๆ อย่างการทำขนมจีบ หรือวิธีอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ปกติ แต่ด้วยวันเวลาที่เปลี่ยนไป สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและความก้าวหน้าต่างๆ รวมถึงข่าวมากมายที่ออกมาถึงการกระทำที่เกินกว่าเหตุในการลงโทษนักเรียนของครู การลงโทษด้วยการตีและการทำร้ายร่างกาย จึงมีกฎที่เข้ามาควบคุมเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด โดยถูกบรรจุอยู่ใน “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548”

 

ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการศึกษาวิจัยถึงการลงโทษเด็กด้วยกันหลายงานวิจัยว่าการลงโทษเด็กด้วยการตี หรือความรุนแรงจะเป็นการสร้างปมและประสบการณ์ที่ไม่ดีติดตัวไปให้แก่นักเรียนอีกด้วย

 

ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างก็คงทำให้ครูหลายท่านต้องตระหนักถึงการลงโทษเด็กกันมาขึ้น  ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ “แล้วครูจะต้องลงโทษเด็กอย่างไร?” หรือไม่ควรที่จะลงโทษเด็กเลย แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วนักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าทำผิด   ดังนั้นครูหลายคนจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลงโทษนักเรียน แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งหมด วันนี้เราจึงมีหลักวิเคราะห์ๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยครูวิเคราะห์ก่อนลงโทษนักเรียน เพื่อให้การลงโทษไม่เป็นการกระทบจิตใจทั้งผู้ลงโทษและผู้ถูกลงโทษ และทำให้การลงโทษนั้นบรรลุผลแก่นักเรียน

 

1  วิเคราะห์ตัวนักเรียน

ครูควรจะวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนก่อนลงโทษว่า นักเรียนเป็นนักเรียนชั้นอะไร อายุเท่าไหร่ มีพื้นฐานของครอบครัวอย่างไร เด็กที่อายุต่างกันก็จำเป็นต้องลงโทษต่างกัน  หรือแม้เด็กหลายคนที่อายุเท่ากันแต่ประสบการณ์ในชีวิต การเลี้ยงดูของครอบครัวนั้นย่อมต่างกัน บางคนอาจเคยโดนดุ โดนตี แต่บางคนกลับไม่เคยเลย จุดนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่ครูจะวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจลงโทษ

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ punish students

 

 

2 วิเคราะห์ความผิดของนักเรียน

ในข้อนี้สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือการ วิเคราะห์อารมณ์ของตนเองก่อน ครูควรจะตัดสินหรือวิเคราะห์สิ่งที่นักเรียนทำด้วยความเป็นกลาง ด้วยเหตุและผลไม่ใช่ด้วยอารมณ์ ต้องดูว่าสิ่งที่นักเรียนได้ทำลงไปนั้นผิดจริงหรือไม่ ผิดเพราะอะไร และเขาสมควรจะต้องถูกลงโทษไหม

 

 

3 วิเคราะห์วิธีการลงโทษนักเรียน

แน่นอนว่ารูปแบบการลงโทษนักเรียนแต่ละคนนั้นย่อมต่างกัน ในการลงโทษนักเรียนแต่ละคนต้องปรับเปลี่ยนไปตามบุคคล ก็เหมือนกับวิธีการสอนหนังสือแต่ละคนก็เข้าใจในวิธีการสอนที่ต่างกัน ดังนั้นการลงโทษต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย โดยการลงโทษมีหลายแบบ เริ่มจากการว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนน ให้ทำกิจกรรมอื่นเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

เมื่อพิจารณาด้วยวิจารณญาณของตนเองแล้ว ลำดับถัดมาที่สำคัญคือครูควรจะถามตัวนักเรียน ว่านักเรียนยอมรับผิดไหม? และเขาคิดว่าครูควรจะทำอย่างไรเพื่อลงโทษเขา หรือถ้าครูลงโทษเช่นนี้กับความผิดนี้ เขายอมรับได้ไหม? เพื่อให้นักเรียนเองได้ทบทวนในความผิด และเพื่อดูว่าเขายอมรับในการลงโทษครั้งนี้ไหม ให้เขาได้ทราบว่าครูรับฟังอยู่เสมอไม่ได้คิดแต่จะลงโทษอย่างเดียว เปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดพร้อมรับฟัง เพื่อให้เขาไม่ติดใจกับการถูกลงโทษในครั้งนี้ด้วย

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

และเมื่อทำการลงโทษนักเรียนไปแล้วสิ่งที่ควรทำต่อไปคือการประเมินตัวนักเรียนหลังการลงโทษ ประเมินพฤติกรรมของเขาว่าการลงโทษด้วยวิธีนั้นๆ ช่วยให้เขาเข้าใจถึงจุดประสงค์ของครูไหม หลังการลงโทษแล้วเขาเลิกทำในสิ่งที่เคยทำผิดไปอีกหรือเปล่า และพวกเขามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไหม

 

เพราะแท้จริงแล้วการลงโทษมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขพฤติกรรมของผู้ที่กระทำผิด การลงโทษจะต้องไม่ได้ทำไปเพื่อความสะใจแต่จะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ดีแก่ผู้ถูกลงโทษ ไม่ให้พวกเขาทำผิดหรือเข้าใจผิดในการกระทำที่ไม่ถูกไม่ควร

 

และสุดท้ายในการลงโทษเพื่อให้บรรลุผล เมื่อพวกเขาไม่กลับไปทำแบบเดิมซ้ำๆ มีการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ครูก็ควรจะชื่นชมให้พวกเราได้รับกำลังใจ และได้รับรู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีแล้ว เพื่อให้การลงโทษของครูเป็นการลงโทษที่มีประสิทธิภาพและเป็นการลงโทษที่ไม่สูญเปล่านั่นเองค่ะ

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

:https://www.huffpost.com/entry/bizarre-high-school-rules_n_3547579

:https://waymagazine.org/no-smacking-in-scotland/

:https://www.vstarproject.com/vstarproject/page/news.php?nId_blog=586&fb_comment_id=1578704788815635_2329901643695942

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *