กว่าจะเป็นครู

กว่าจะเป็นครู

          เส้นทางในการเดินทางเพื่อเป็นครูนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการที่เราจะถ่ายทอดความรู้และปั้นเด็กคนนึงให้มีคุณภาพได้นั้น ต้องอาศัยความรู้ที่เรามีและประสบการณ์ที่เราพบเจอมาตลอดการศึกษาไปคัดกรองและวางแผนอย่างดีถึงจะได้มอบสิ่งนั้นให้กับเด็กๆได้

หากมีความแน่วแน่ในการที่จะเป็นครูแล้วนั้น ต้องเริ่มต้นจากการเลือกเข้าคณะที่เกี่ยวกับครูโดยตรง เช่น คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือสาขาย่อยในคณะอื่นๆ ที่มีชื่อย่อวงเล็บว่า กศ.บ. เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาไทย (กศ.บ) นอกจากต้องเตรียมความพร้อมในการสอบ O-NET GAT แล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมในการสอบ PAT5 ซึ่งเป็นวิชาวัดความถนัดทางวิชาชีพครูอีกด้วย

เมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว นอกจากเรียนวิชาบังคับ วิชาเลือก และทำกิจกรรมต่างๆในมหาวิทยาลัยแล้ว ยังต้องมีการฝึกสอน 1 ปีด้วย โดยจะเป็นการนำความรู้ตามสาขาที่เรียนไปใช้จริงๆในการสอนเด็กๆตามโรงเรียนนั้นเอง

และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนั้น ก็สามารถเลือกได้ว่าจะเลือกเดินเส้นทางไหนต่อ มีให้เลือกหลายทางไม่ว่าจะเป็น

1.สอบบรรจุรับราชการ

–  สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นครูอนุบาล ครูประถม หรือครูมัธยม สามารถสมัครและบรรจุตามเขตพื้นที่ที่เรานั้นต้องการที่จะไปสอน ได้เลย แต่ต้องจบการศึกษาในสาขาที่ต้องการ และต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูเท่านั้น สามารถดูเขตพื้นที่ที่เปิดรับสมัครได้เลยที่นี้ … คลิก

2.สอบรรจุเข้าคุรุสภา

– จะเป็นงานในส่วนดูแลด้านนโยบาย หลักสูตร การประเมินโรงเรียน และอาจรวมไปถึงการตรวจสอบสถานศึกษาต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของคุรุสภา จะมีการเปิดรับสมัครเรื่อยๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ … คลิก

3.ครูสอนพิเศษ

– เหมาะสำหรับผู้ที่อยากสอนตัวต่อตัวหรือสอนเป็นกลุ่ม มากกว่าสอนต่อหน้าชั้นเจอเด็กเยอะๆ เพราะจะได้ใส่ใจและเต็มที่กับเด็กให้ได้มากที่สุด

4.นักวิชาการด้านการศึกษา

– ทำหน้าที่พัฒนาระบบการศึกษาให้ได้ดีขึ้น เผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ และยกระดับการศึกษาไทยให้สูงยิ่งขึ้น

5.อาชีพเฉพาะทางตามสาขาที่เรียนมา

– เช่น ถ้าเราจบสาขาภาษาอังกฤษ ก็สามารถทำงานด้าน ล่าม ไกด์ นักแปล รวมถึงพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วย หรือถ้าจบสาขาศิลปกรรมศาสตร์ ก็สามารถทำงานเป็นนักดนตรี สอนร้องเพลง สอนเต้น ได้อีกด้วยนะ

หลังจากที่เรียนจบ 5 ปี หรือ 4 ปีแล้ว เราจะได้รับคุณวุฒิ ใบประกอบวิชาชีพ เพื่อนำไปสมัครสอบครูผู้ช่วยได้ สามารถเลือกได้ว่าจะสอบ สพม. (สำนักงานเขตการศึกษามัธยมศึกษา) หรือ สพป. (สำนักงานเขตการศึกษาประถม)  สอบครูผู้ช่วยจะแบ่งเป็นภาค ก ข ค

  • ภาค ก คือ ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป วิชาชีพครู

เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปฎิบัติราชการ นโยบายการศึกษา ความสามารถด้านตัวเลข

  • ภาค ข คือ ความรู้ที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

เช่น วิชาการศึกษา วิชาสาขา

  • ภาค ค คือ การสอบสัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบเอกสาร

สอบผ่าน 60% ทุกภาคขึ้นไปถึงจะได้ขึ้นบัญชีรอเรียก ถ้าสอบได้คะแนนเยอะก็จะได้ขึ้นอยู่ลำดับต้นๆ จะมีสิทธิในการถูกเรียกบรรจุก่อน และไล่ระดับไปเรื่อยๆ ข้อสอบนั้นไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากหากเราว่าเรานั้นขยันอ่านทบทวน

ความแตกต่างระหว่างครูรัฐบาลและครูเอกชนนั้น หลักๆเลยคือครูเอกชนนั้นไม่จำเป็นต้องสอบบรรจุก็สามารถสอนได้เลย ไม่เหมือนครูรัฐบาลที่ต้องสอบบรรจุรับราชการก่อนซึ่งมีความยากพอสมควรเลยถึงจะได้รับการบรรจุ แต่สิ่งที่ได้รับหลังจากนั้นจะต่างกันตรงที่ครูรัฐบาลจะได้สวัสดิการต่างๆที่มั่นคงในระยะยาวมากกว่า เช่น การเลื่อนขั้นเงินเดือน สวัสดิการรักษาพยาบาลทั้งตนเอง คู่สมรส บิดามารดา และบุตร อีกทั้งเมื่อเกษียณแล้วสามารถเลือกที่จะรับบำเหน็จหรือบำนาญได้อีกด้วย แต่ด้วยการมีสวัสดิการแบบนี้ทำให้การแข่งขันสอบบรรจุเข้ารับราชการนั้นมีสูงมากเช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *