คุณเคยสงสัยไหมว่าประเทศไทยมีระบบการศึกษาแบบใด? แล้วการศึกษาระบบปิด กับการศึกษาแบบระบบเปิด คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

          การศึกษาแบบปิด คือ ระบบการศึกษาที่สร้างขึ้นมาโดยใช้ “เกรดและคะแนน” เป็นตัวแทนของการประสบความสำเร็จ ในชีวิตจริงถึงแม้ผู้เรียนจะมีความสามารถในการใช้ชีวิตทำมาหากินมากแค่ไหน แต่ถ้าได้คะแนนไม่ดี คนนั้นกลับมองว่าใช้ไม่ได้ ในขณะที่คนที่เรียนเก่งมากๆ ถูกฝึกให้เลือกแต่คำตอบที่ถูกต้องตลอดเวลา เมื่อจบออกไปแล้ว ส่วนใหญ่กลับกลายเป็นแค่ลูกจ้างที่รอตัวเลือกจากหัวหน้า เพราะขาดทักษะในการคิดและสร้างสรรค์

ซึ่งระบบการศึกษาไทย เป็นระบบการศึกษาแบบปิด ผลงานวิจัยระบุว่า ข้อสอบและเกรดที่นักเรียนได้นั้น ใช้ทำนายความสามารถหลังเรียนจบได้เพียงแค่ 10% เท่านั้น คำถามคือ อีก 90% มาจากไหน? ซึ่งคำตอบก็คือ มาจากสังคม และคนรอบตัวเรานั่นเอง แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของการศึกษา ทำอย่างไรถึงจะทำให้สิ่งที่เรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย มีค่ามากกว่า 10% ในชีวิต

ต้องบูรณาการ — ไม่ใช่บูรณาการสี่วิชาเข้าด้วยกัน แต่บูรณาการกับการใช้ชีวิตในสังคม

STEM Thai Basic

งานวิจัยของ STEM บอกว่า ถ้าจะประสบความสำเร็จ แค่ความรู้ทางสติปัญญา ที่สอนกันในโรงเรียนทุกวันนี้ยังไม่พอ แต่ต้องฝึกความรู้ทางการวิเคราะห์อย่างแยบคาย (จะเรียกว่า โยนิโสมนสิการ) และความรู้ในการปรับตัว (คล้ายกับอุเบกขา คือปรับตัว เปลี่ยนแปลง และปล่อยวาง) สองอย่างหลังนี้เราไม่เคยสอนในโรงเรียน แต่เราคาดหวังว่านักเรียนจะเรียนได้เองจากสังคม

STEM บอกว่า อย่ารอให้สังคมมาสอนเลย เพราะถึงตอนนั้นมันก็สายเสียแล้ว

หลักการของ STEM คือ

  1. ตั้งคำถาม (สร้างสรรค์)
  2. กำหนดวิธีใช้แก้ปัญหา (สังเคราะห์)
  3. หาคำตอบ (รู้และเข้าใจ)
  4. นำคำตอบที่ได้ไปใช้ (ประยุกต์)

โรงเรียนระบบปิดสอนแค่ข้อ 3 คือ การหาคำตอบ ในขณะที่โรงเรียนระบบเปิดสอนข้อ 1-4 ซึ่งในทั้งหมด 4 ข้อนี้ ข้อ 1 ทำยากที่สุด เพราะมันคือทักษะสูงสุดของปิรามิด (สร้างสรรค์) (ถ้ายังจำวิธีการเรียนรู้ของบลูม Bloom’s Taxonomy ได้) ข้อ 2 และ 4 อยู่รองลงมา (สังเคราะห์และประยุกต์) ส่วนข้อ 3 คือฐานของปิรามิด (รู้และเข้าใจ)

      แล้วการศึกษาแบบเปิดล่ะคืออะไร? เรามีคำตอบง่ายๆที่ให้คุณเข้าใจกับ 4 คำถามเกี่ยวกับการศึกษาแบบเปิด (Open Education)

1. การศึกษาแบบเปิดคืออะไร

– การเปิดกว้างการเข้าถึงเนื้อหาฟรีและได้รับอนุญาตของแหล่งทรัพยากรการศึกษาเพื่อจุดประสงค์ของการศึกษาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การวิจัย รวมถึงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเศรษฐกิจ

– การศึกษาฟรี วัสดุทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษาอยู่ภายใต้การอนุญาตแบบเปิด รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการสอนทุกชนิดตั้งแต่คอร์สไปถึงรูปภาพหรืออินโฟกราฟิก รวมถึงตำราเรียนทั้งหมด

– บทความวิจัยที่เข้าถึงแบบเปิด วิทยาศาสตร์แบบเปิด (Open Science) และข้อมูลแบบเปิด (Open Data)

– การเข้าถึงการศึกษาฟรีสำหรับทุกคนทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ยากจะเข้าถึงการศึกษา ทำให้เข้าถึงการศึกษาง่ายขึ้น

– เป็นการศึกษาที่ง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า

– เป็นการศึกษาแบบออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อเข้าร่วมในห้องเรียน

– สร้างโอกาสสำหรับการเรียนรู้ส่วนตัว (personal learning)

2. ทำไมคิดว่าการศึกษาแบบเปิดสำคัญ

– ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาแบบดั้งเดิมในสถาบันเป็นวิธีที่ยืดหยุ่นและเข้าถึงได้มากกว่าสำหรับการเรียนรู้สำหรับทุกคน เปิดประสบการณ์และความคิดเห็นเพื่อความร่วมมือข้ามภูมิภาค ทำให้เกิดความเชื่อมแน่นทางสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

– ลดค่าใช้จ่ายของนักเรียนและสถาบัน และลดภาระทางการเงินของภาครัฐบาลทางการศึกษา ดังนั้นการศึกษาแบบเปิดเป็นสื่อกลางสำหรับเอาชนะอุปสรรคของการศึกษา

– ทำให้เข้าถึงวัสดุวิจัย การเรียนรู้ และการสอน นอกเหนือจากในห้องเรียน  ทำให้วัสดุและตำราเรียนมีให้ใช้แบบเปิดทำให้ครูและนักเรียนหรือผู้เรียนรู้สามารถเข้าถึงวัสดุที่ไม่สามารถจ่ายเงินซื้อได้

– ทำให้คนที่ยากจะเข้าถึงการศึกษา (มีอุปสรรคทางร่างกาย การเงิน หรือภูมิศาสตร์) ได้รับการศึกษา

– ทำให้คนสอบไม่ผ่านหรือคนทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนน้อยได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพียงมีอินเทอร์เน็ต

3. การศึกษาแบบเปิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

– การทำให้ตำราเรียนและวัสดุมีให้ใช้แบบเปิด ทำให้การศึกษาในมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายน้อย

– การศึกษาแบบเปิดสามารถหมายถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูง

– ทำให้แหล่งทรัพยากรสามารถเข้าถึงได้โดยทุกคนทั่วโลก (คนที่ต่างพื้นฐาน สัญชาติ พูดด้วยภาษาที่ต่างกัน)

– ต้องใช้เจ้าหน้าที่และเงินจำนวนมากเพื่อสร้างและดูแลช่องทางที่มีแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดให้ใช้ฟรี

4. บทบาทของการศึกษาแบบเปิดต่อการศึกษาในอนาคตคืออะไร

– เปลี่ยนแปลงการศึกษา เปิดกว้างการเข้าถึง ความร่วมมือกันมากขึ้น กระตุ้นสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดออกสู่สังคมทุกระดับและเปิดเผยข้อมูลทั้งสถิติ แผน กลยุทธ์ และนโยบายต่อสาธารณะด้วยวิธีที่โปร่งใส

– การแบ่งปันวัสดุการสอนระหว่างสถาบันจะช่วยให้สถาบันที่มีขนาดเล็กกว่า สถาบันที่มีแหล่งทรัพยากรน้อยกว่า และสถาบันใหม่มีการบรรยายที่สามารถเข้าถึงวัสดุที่แตกต่าง มุมมองที่แตกต่าง วิธีการสอนที่แตกต่าง

– การมีตำราเรียนและวัสดุการสอนให้ใช้ฟรีผ่านหลายช่องทาง ทำให้นักเรียนซึ่งไม่สามารถจ่ายเงินซื้อได้มีวัสดุเหล่านี้ใช้สามารถทำให้เพิ่มอัตราการผ่านและเกรด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com

https://www.nstda.or.th

https://www.facebook.com/stemthaibasic

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *