สุดยอดนวัตกรรม G-Boat “เรือพลังงานไฟฟ้า โซล่าเซลล์ IOT” วัดคุณภาพน้ำ ฝีมือเยาวชนคนรุ่นใหม่ SPU คว้ารางวัล โครงการ Active Citizenship

เยาวชนคนรุ่นใหม่ เด็กไอที-สหวิทยาการฯ–บริหาร ม.ศรีปทุม บูรณาการการเรียนรู้ร่วมกัน คิดค้นใช้คลาวด์พัฒนาสมาร์ทซิตี้ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม “เรือพลังงานไฟฟ้า จากโซล่าเซลล์ ติดตั้งระบบ IOT” ตรวจวัดคุณภาพน้ำ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในโครงการ “เยาวชนคนรุ่นเปลี่ยน”

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ กลุ่มนักศึกษาเยาวชนคนรุ่นใหม่ จากทีม G boat มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) ซึ่งประกอบด้วย นายกฤตภาส นันดานี,นายการันต์ เศรษฐี นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ,นางสาวชวลัน อรรถสุวรรณ,นางสาวธนพร จันทร์เจริญ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ และนางสาวบุณนภา ธนัญพัฒนพงศ์ ,นางสาวกัญญ์ปภัส วีรสุถิระนาวิน นักศึกษาคณะ คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการบูรณาการการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ร่วมกัน และคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลงาน “เรือพลังงานไฟฟ้า จากโซล่าเซลล์ ติดตั้งระบบ IOT” เพื่อใช้ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยส่งเข้าประกวด และนำเสนอไอเดียต่อ ศาตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี พร้อมคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากโครงการ Active Citizenship “เยาวชนคนรุ่นเปลี่ยน” ในหัวข้อ “อยากเปลี่ยนกรุงเทพมหานครเป็นแบบไหน?” เพื่อเปิดโอกาสให้ร่วมนำเสนอไอเดียพัฒนาชุมชนเมือง เริ่มจากกรุงเทพฯ และต่อยอดขยายไปยังเมืองต่างๆทั่วประเทศ และเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมี ดร.สุรชัย ทองแก้ว อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาฯ ณ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) สามเสน กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้  ซึ่งจัดโดย อเมซอน เว็บ เซอร์วิส (เอดับบลิวเอส) ร่วมกับ คณะอนุกรรมาธิการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ของสภาผู้แทนราษฎร

สำหรับผลงาน ไอเดีย G-Boat หรือเรือโดยสารไฟฟ้าที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์(โซล่าเซลล์) มาขับเคลื่อนเครื่องยนต์และช่วยบำบัดน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนให้กับแม่น้ำลำคลอง เพราะปัจจุบันปัญหาดัชนีคุณภาพพน้ำมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 57 คะแนนหรืออยู่ในเกณฑ์ที่เสื่อมโทรม นอกจากนี้ผลงาน G-Boat ดังกล่าวยังได้นำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในการควบคุมความเร็วของเรือและติดตั้งจีพิเอส เพื่อง่ายต่อการติดตามตรวจสอบและปกป้องความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารอีกด้วย

และผลงาน G-Boat ได้พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดเรือโดยสารรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือกรีนโบ๊ต ซึ่งในกรุงเทพฯ มีแม่น้ำลำคองหลายสายเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายครอบคลุมทั่วเมือง หากนำมาพัฒนาแบบครบวงจร จะสามารถเป็นระบบขนส่งสาธารณะทางเลือกใหม่สำหรับให้ประชาชนได้ใช้สัญจร และมองว่าหากมีการลงทุนระยะยาวในเชิงธุรกิจจะสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางการค้า ชอปปิ้ง และการท่องเที่ยวทางน้ำแห่งใหม่ให้กับกรุงเทพฯได้

#SPU #SRIPATUM #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ #คณะบริหารธุรกิจ #คณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม #InformationTechnology

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *