รู้จักกับหลักสูตร CISA และ CFA เส้นทางสู่อาชีพด้านการเงินในระดับสากล

ผู้ที่อยู่ในสายงานด้านการลงทุนคงจะคุ้นหูกับคุณวุฒิ CFA และ CFA ใบเบิกทางที่สำคัญสำหรับการก้าวเข้าวงการและการเติบโตในสายงานการเงินการลงทุน หรือแม้แต่การกระโดดข้ามมาจากสายอาชีพอื่น ต่อเนื่องจากบทความ “อาชีพแห่งยุค 4.0 อาชีพนักวิเคราะห์การลงทุน” วันนี้เราจึงได้นำบทความเกี่ยวกับหลักสูตรที่สำคัญในสายงานนี้ ว่าทั้ง CISA และ CFA คืออะไร และสองหลักสูตรนี้แตกต่างกันอย่างไร มาฝากทุกคนกันค่ะ

 

 

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

CFA คืออะไร?

CFA ย่อมาจาก Chartered Financial Analyst คือใบผ่านสำคัญใบหนึ่ง (Credential) สำหรับผู้ที่สนใจทำงานในสายวิเคราะห์หลักทรัพย์ ได้เช่น อาชีพ ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) , นักวิเคราะห์ (Analyst) , วาณิชธนากร (Investment Banker) โดยหลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน

 

สำหรับเนื้อหา หลักสูตร CFA เป็นการปูพื้นฐานด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์และการบริหารกองทุนที่ใช้ได้จริงในธุรกิจการจัดการกองทุน มีระดับความยากเทียบเท่ากับหลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรี (graduate level curriculum) และไม่ได้เน้นเพียงความรู้ด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังเน้นการยึดถือปฏิบัติติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

 

เป้าหมายของการสอบ CFA ก็เพื่อเป็นการปูทางไปสู่วิชาชีพด้านการบริหารกองทุน (investment profession) เนื่องจาก CFA เป็นคุณวุฒิที่มีมาตรฐานสูงและได้รับการยอมรับระดับสากล จึงได้รับการยกย่องจาก The Economist ว่าเป็น Gold Standard อีกด้วย

 

ซึ่งใครที่สอบผ่าน CFA ทั้ง 3 ระดับ และมีประสบการณ์ในสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ครบ 48 เดือน จะมีสิทธิ์ในการใช้คำว่า CFA ห้อยท้ายชื่อ (CFA Designation) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การันตีคุณภาพทางด้านวิชาการ และทำให้ได้เปรียบเวลาสมัครงานในสายงานที่เกี่ยวข้อง แต่สำหรับท่านที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ ทาง TSI (Thailand Securities Institute) ก็จัดให้มีการสอบที่ชื่อว่า CISA (Certified Investment and Securities Analyst Program) ขึ้นในประเทศไทย

 

 

 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ CISA

 

 

CISA คืออะไร?

CISA เป็นหลักสูตรที่ TSI ได้รับมอบมาจากสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุนตั้งแต่ปี 2548 และได้นำเนื้อหามาพัฒนาปรับปรุง ซึ่งตั้งใจให้ผู้ศึกษาและผ่านการทดสอบมีความสามารถในการวิเคราะห์และบริหารการลงทุน ทั้งในภาพรวมและรายละเอียด สามารถประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ตลอดจนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนเข้าใจหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน

 

 

หลักสูตร CISA จะประกอบไปด้วยเนื้อหาวิชาและการทดสอบ 3 ระดับเช่นเดียวกับ CFA  ซึ่งแต่ละระดับจะประกอบไปด้วยองค์ความรู้ 4 ด้านที่เหมือนกัน คือ

 

  1. จรรยาบรรณ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Ethical & Professional Standards)
  2. เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน (Investment Tools)
  3. การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ (Asset Valuation)
  4. การบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (Portfolio Management)

 

 CISA ต่างจาก CFA อย่างไร?

สรุปได้ว่า CISA ก็เป็นหลักสูตรที่ถูกพัฒนามาจาก CFA เพื่อให้เหมาะกับคนไทยในสายการเงินการลงทุน แต่ก็เป็นหลักสูตรที่ถูกพัฒนาให้ทัดเทียมกับหลักสูตรสากลด้วยเช่นกัน ซึ่งความแตกต่างของสองหลักสูตรนี้ เราได้แบ่งหัวข้อออกเป็น 6 หัวข้อดังนี้

 

 

หลักสูตรทั้งสองหลักสูตรนับเป็นหลักสูตรสำคัญสำหรับคนที่ต้องการจะก้าวสู่โลกของการเงินการลงทุนอย่างมาก เพราะถือเป็นสองหลักสูตรที่เป็นดังสะพานให้เราข้ามผ่านไปถึงจุดหมาย แต่กว่าจะข้ามสะพานนี้ไปได้นั้นก็ไม่ง่าย เราต้องฝึกฝน หาข้อมูล สั่งสมความรู้และเตรียมตัวให้พร้อมเสียก่อน ซึ่งหากเราสามารถผ่านสะพานนี้ไปได้เส้นทางสู่อาชีพในระดับประเทศและระดับสากลก็ไม่ไกลเกินฝันแน่นอนค่ะ

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

:http://fundmanagertalk.com/careertalk-cisa/

:https://www.set.or.th/set/professional/html.do?name=certificate_about&innerMenuId=61

:http://fundmanagertalk.com/career-talk-cfa-cisa-exam/

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.aimcorporate.net/overview-of-cfa-program/

: https://allevents.in/bangkok/cisa-examination-preparation-program-%E2%80%93-part-ii/200017617278427

: https://www.gsbgen.com/smartgen/48295/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *