ส่องระบบการศึกษาของ “อินเดีย” อีกหนึ่งประเทศที่ติดอันดับการเรียนต่อของนักศึกษาต่างชาติ

ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับ2 รองจากจีน เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมยุคแรกๆ ของโลก มีประชาธิปไตยที่เก่าแก่และเข้มแข็งเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบการศึกษาที่มีคุณภาพติดอันดับโลก โดยอินเดียติดอันดับประเทศที่น่าไปศึกษาต่อทั้งในระดับเอเชียและระดับโลก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 20,000 แห่ง ที่สร้างมาเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษากว่า 8 ล้านคนในช่วงเวลาระหว่างปี 2000 – 2010

อินเดียประกอบด้วยประชากรหลายชนเผ่าหลากหลายวัฒนธรรมประเพณี และศาสนา รวมทั้งภาษาที่ใช้ในการสื่อสารก็มีมากกว่าแปดร้อยภาษา นอกจากนี้ยอินเดียยังเคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอยู่นานเกือบสองร้อยปี ทำให้เป็นประเทศที่มีภาษาอังกฤษที่หยั่งรากลึก และถูกใช้เป็นภาษาทางราชการมานานกว่าร้อยปี ทำให้พื้นฐานภาษาอังกฤษของคนอินเดียถูกจัดอันดับให้อยู่ในระดับต้นๆ ของเอเชีย

สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่จะไปศึกษาต่อที่อินเดียนั้น จะได้พบกับการศึกษาที่อินเดียแบ่งออกเป็นหลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบจะมีภาษาอังกฤษเป็นภาคบังคับ เท่ากับว่าผู้เรียนจะได้ศึกษาวิชาการที่เข้มข้นและยังได้เรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาโดยตรงอีกด้วย

 

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

สำหรับระบบการศึกษาในอินเดีย การศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนของอินเดียจะแบ่งออกเป็น ประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย (Grade 11-12)

โดยแบ่งหลักสูตรออกเป็น:

1.ระดับอนุบาล (Kindergarten) >> อนุบาล 1 – อนุบาล 3

 

2.ระดับประถมศึกษา (Primary Education) >> ประถมศึกษา 1 – ประถมศึกษา 6

 

3.ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)

มัธยมศึกษาตอนต้น (High School Education) >> มัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 4

มัธยมศึกษตอนปลาย (Higher School Education) >> มัธยมศึกษาปีที่ 5 – มัธยมศึกษาปีที่ 6

4.ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)

 

-ระดับปริญญาตรี (Bachelor Degree)

-ระดับปริญญาโท (Master Degree)

-ระดับ Master of Philosophy (M.Phil)

-ระดับปริญญาเอก (Doctoral Degree)

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

สำหรับระบบการเรียนของโรงเรียนในประเทศอินเดียแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตรใหญ่ๆ คือ

 

  1. หลักสูตรที่จัดตั้งโดยรัฐบาลอินเดีย

 

โรงเรียนระบบ CBSE (Central Board of Scondary Education)

โรงเรียนระบบ ICSE (Indian Certificate of Secondary Education)

โดยทั้งสองระบบนี้จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียน การสอนเท่านั้น และมีภาษาที่ 2 ให้เลือกคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ซึ่งความแตกต่างของ 2 ระบบ คือหนังสือเรียนจะไม่เหมือนกัน แต่เนื้อหาจะไปในทางเดียวกัน เนื่องจากทั้ง 2 ระบบ ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการของอินเดียเหมือนกัน แต่แบ่งเป็น 2 ระบบ เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศใหญ่และมีประชากรมาก หากมีหน่วยงานดูแลเพียงหน่วยงานเดียวจะไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง โดยในอดีตจะขึ้นกับระบบ CBSE เป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันระบบที่มีโรงเรียนจดทะเบียนมากที่สุดคือ CBSE โดยทั้ง 2 ระบบนี้ เมื่อเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จนจบแล้วก็จะได้รับอนุญาตให้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Secondary School) คือมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 4 หรือที่อินเดียเรียนว่า Class 7 – 10 ในชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10) เด็กจะต้องทำคะแนนให้ดีและเมื่อขึ้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม. 5 – 6 (Classs 11 – 12) นักเรียนจะต้องนำผลการสอบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มาวัดผลเพื่อเลือกสาขาที่จะเรียน ดังนี้

 

คะแนน 65% – 80% ขึ้นไปจะเลือกได้ทั้งสายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และสายศิลป์

คะแนน 40% – 64% สามารถเลือกสายศิลป์ได้

 

ซึ่งสำหรับเด็กที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10) จากประเทศไทยและต้องการศึกษาต่อในสายวิชาใดได้บ้าง โรงเรียนที่ขึ้นกับกองกรรมาธิการศึกษาอินเดียทั้ง 2 ระบบนั้น ได้รับการรับรองวิทยาฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการไทยทุกโรงเรียน เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Class 12) จากอินเดียแล้วสามารถนำไปเข้ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทยได้เลย และหากต้องการศึกษาต่อในประเทศอื่น เช่น อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ ก็สามารถนำไปเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีได้เลย หรือหากต้องศึกษาในประเทศอินเดียก็สามารถศึกษาในระดับปริญญาตรีได้เช่นกัน

 

หลักสูตรนานาชาติ

 

ระบบ IGCSE (International General Certificate of Secondary Education)

 

ซึ่งในระบบนี้จะเริ่มสอบตั้งแต่ม.3 หรือ Class 9 โดยเมื่อนักเรียนจบม.2 หรือ Class 8 แล้ว หากจะเรียนระบบ IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) หรือเรียกอีกอย่างว่า University of Cambridge System นักเรียนจะต้องเลือกเรียน 5 วิชา เมื่อสอบผ่านครบ 5 วิชา (โดยปกติแล้วนักเรียนจะสอบผ่านได้ภายใน 2 ปี) เมื่อผ่านละจะได้ประกาศนียบัตร O Level ซึ่งเมืองไทยเทียบเท่า ม.6 และสามารถนำกลับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้เลย เช่น มหาวิทยาลัยอินเตอร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภาคอินเตอร์ แต่ถ้าน้องๆประสงค์จะไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ น้องๆ จะต้องเรียนต่ออีก 3 วิชาซึ่งเมื่อสอบผ่านอีก 3 วิชาแล้ว น้องๆจะต้องรับประกาศนียบัตร A Level ซึ่งใช้เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้เลย ระบบนี้ น้องๆจะประหยัดเวลาได้ 2 ปี หาจบหลักสูตร O Level แล้วน้องๆ กลับมาเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

 

International Bacalareatr (IB) หรือหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตร IB บริหารจัดการโดย International Baccalaureate Organization (IBO) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากสวิตเซอร์แลนด์ หลักสูตร IB แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

 

The Primary Year Programme (อนุบาล ถึง เกรด 5)

The Middle Year Programma (เกรด 6-10)

The Diploma Programma (เกรด 11-12)

 

 

 

 

การศึกษาขั้นสูงหรือระดับอุดมศึกษา

สถาบันการศึกษาขั้นสูงที่จัดการเรียนการสอน ในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ได้แก่

  1. มหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านเกษตรกรรมและแพทยศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น มหาวิทยาลัยส่วนกลาง (central universities) และมหาวิทยาลัยของรัฐ (state universities)
  2. สถาบันที่ได้รับการรับรองวิทยะฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย (deemed universities) ซึ่งมักมีขนาดเล็กและเปิดสอนวิชาเฉพาะทาง
  3. สถาบันที่มีความสำคัญระดับชาติหรือสถาบันที่เทียบเท่ามหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลหรือก่อตั้งโดยรัฐบาล รวมถึงสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย (Indian Institute of Technology – IIT) ซึ่งปัจจุบันมี 15 แห่งทั่วประเทศ และสถาบันการจัดการแห่งอินเดีย (Indian Institute of Management) ซึ่งปัจจุบันมี 6 แห่งทั่วประเทศ
  4. วิทยาลัยเทคโนโลยีและมหาวิทยาลัยเปิด
  5. สถาบันวิจัยภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิจัยด้านสังคมศาสตร์อินเดีย (Indian Council of Social Science Research) ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาลัยกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของมหาวิทยาลัย
  6. สถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งรวมถึงสถาบันสอนภาษา สถาบันกวดวิชา สถาบันสอนวิชาคอมพิวเตอร์

 

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ study abroad money

 

ค่าเล่าเรียน

ในอินเดียจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน โดยมหาวิทยาลัยรัฐจะได้มีค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าเอกชนเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐ

 

โดยพลเมืองอินเดียจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนต่อปีสูงสุด 100 เหรียญ (ประมาณ 3,200 บาท) เพื่อเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยรัฐ ในขณะที่วิทยาลัยเอกชนอาจมีค่าเล่าเรียนสูงกว่าอยู่ที่ 400 – 25,000 เหรียญต่อปี (ประมาณ 13,000 – 817,000 บาท) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถาบันและหลักสูตรที่เลือกเรียนด้วย โดยสำหรับนักศึกษาต่างชาติก็มีทุนช่วยเหลือสำหรับนักศึกษาต่างชาติทั้งแบบช่วยเหลือบางส่วนและแบบเต็มจำนวนอีกด้วย

 

 

สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่กำลังมองหาประเทศในการไปเรียนต่อที่มีระดับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีสถาบันการศึกษาให้เลือกกว่า 20,000 แห่ง มีแหล่งรวมวัฒนธรรม และมีหลักสูตรการเรียนที่มีคุณภาพทั้งด้านวิชาการและภาษาแล้วล่ะก็ “อินเดีย” ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

:https://www.scholarship.in.th/masters-degrees-in-india-2019/

:http://sameaf.mfa.go.th/th/education/detail.php?ID=3246

:http://goodythailand.com/pagecontent.asp?id=17457

:https://gbc-goody.com

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://moneydoneright.com/how-to-save-money-while-studying-abroad/

: https://www.thestatesman.com/books-education/paradigm-shift-indian-education-1502743171.html

: https://spontaneousorder.in/indias-human-capital/

: https://www.technologyforyou.org/study-in-india-programme-launched-with-the-launch-of-study-in-india-portal-by-smt-sushma-swaraj-in-new-delhi/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *