เมื่อครูต้องสวมรอยเป็นนักสืบ(พฤติกรรม)นักเรียนด้วยเครื่องมือ FBA

 

 

ปัญหาที่ครูหลายคนต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือพฤติกรรมภายในห้องเรียนของเด็ก ที่เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของครู และเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือเป็นพฤติกรรมต่อต้านต่างๆ อาทิ เวลาที่เรียนสำหรับเด็กไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ทุกครั้งที่เรียนวิชานี้ ก็จะไม่ตั้งใจเรียน ไม่จดจ่อ ไม่สนใจ ไม่ทำการบ้าน ผลการเรียนจึงออกมาแย่ หรือนักเรียนที่ชอบพูดแทรกขณะครูสอนทำให้รบกวนบรรยากาศการเรียนการสอน เป็นต้น ซึ่งการตักเตือน หรือลงโทษก็อาจไม่ได้ผลในการจัดการกับพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด วันนี้เราจึงมีเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็กผ่านการ “สืบ” มาฝากกันค่ะ

 

 

การสืบพฤติกรรมเด็กที่กล่าวถึง คือการหาต้นตอของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา ผ่าน FBA (Functional Behavior Assessment) เครื่องมือที่ช่วยให้ครูค้นพบสาเหตุและวิธีการที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กๆ

 

 

เครื่องมือ FBA นี้ จะให้ข้อมูลพฤติกรรมที่เป็นปัญหา สาเหตุ ผลที่เกิดขึ้นเเละหน้าที่พฤติกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การวางเเผนการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อมาเเทนที่พฤติกรรมที่เป็นปัญหา จากหลักการที่สำคัญที่เชื่อว่า ทุกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมมีเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญ เเบ่งได้ 2 อย่างคือ เพื่อต้องการบางสิ่งบางอย่าง เเละเพื่อหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่าง ขั้นตอนของการทำ FBA มี 5 ขั้นตอนคือ

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ student bad behavior

 

 

ขั้นที่ 1 ประเมินพฤติกรรมของเด็ก  โดยการเลือกพฤติกรรมเป้าหมาย

ครูผู้สอนจะต้องเลือกพฤติกรรมเป้าหมาย หรือพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เเล้วนำมานิยาม โดยพฤติกรรมที่เลือกมานั้นจะต้อง มีความเป็น Objective คือสามารถสังเกตได้ เเละจะต้อง Clarity คือมีความชัดเจนของพฤติกรรม เเละ completeness มีจุดเริ่มต้น เเละจุดสิ้นสุดของพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของเด็กที่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์, เด็กที่มีพฤติกรรมพูดแทรก ครูทำการเลือกพฤติกรรม = Objective การพูดแทรก มีการพูดแทรกขึ้นมาขณะครูสอนอยู่บ่อยครั้ง –à Clarity วัดจากจำนวนครั้งที่พูดแทรกโดยไม่ได้รับอนุญาต –à Completeness ดูจุดเริ่มต้นและจุดจบของพฤติกรรม นักเรียนเริ่มพูดและหยุดเมื่อไหร่

 

 

 

ขั้นที่ 2 รวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลพฤติกรรมของเด็ก

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือ โดยเครื่องมือเเบ่งออกเป็น 2 เเบบคือเเบบเก็บข้อมูลทางตรง คือ Direct assessment เช่น การสังเกต การพูดคุย หรือสัมภาษณ์เด็กโดยตรง และอีกเเบบเป็นการเก็บข้อมูลทางอ้อม Indirect assessment เช่น เเบบรายงานการเยี่ยมบ้าน เเบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง หรือครูประจำชั้น เป็นต้น

 

 

 

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลว่าพฤติกรรมเหล่านั้น ผ่านการตั้งสมมติฐาน

หลังจากได้ข้อมูลของพฤติกรรมมาเเล้ว เราก็นำมาตั้งสมมติฐานการเกิดพฤติกรรม  ว่าเกิดจากอะไร หรือมีอะไรมากระตุ้น? ผ่านการบอกข้อมูลเเบบ ABC

 

 

Antecedent เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

Behavior พฤติกรรมที่เป็นปัญหาคืออะไร

Consequence เหตุการณ์หลังเกิดพฤติกรรมคืออะไร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

 

เมื่อได้ข้อมูลของพฤติกรรมเเล้ว ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง นำมาดูช่วงเวลาการเกิด อาทิ การพูดแทรกของเด็กในระหว่างชั้นเรียน

 

 

ขั้นที่ 4 เขียนเเผนผังการสรุปพฤติกรรมเเละการวางเเผนพฤติกรรมทางเลือก

นำมาเขียนเเผนผังการสรุปพฤติกรรมเเละการวางเเผนพฤติกรรมทางเลือกที่ตอบสนองนักเรียนได้เช่นเดียวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ขอยกตัวอย่างพฤติกรรมการพูดแทรก

 

 

 

 

ขั้นที่ 5 การสร้างเเผนให้การช่วยเหลือพฤติกรรม

ขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้างเเผนให้การช่วยเหลือพฤติกรรม (สร้างพฤติกรรมใหม่ เเละลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา) สิ่งที่คุณครูต้องทำคือ วางจุดประสงของเเผน หลังจากนั้น เขียนเเผนให้ความช่วยเหลือ โดยใช้กลยุทธ์ ABC เช่นกัน

 

 

Antecedent strategies ป้องกันก่อนเกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอย่างไร

Teaching Behavior strategies สอนพฤติกรรมทดเเทนอย่างไร

Consequence strategies หลังจากนักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมจะตอบสนองหรือเสริมเเรงอย่างไร

 

 

 

การแก้ปัญหาให้ตรงจุด คือการรู้สาเหตุและต้นตอของสิ่งที่เราจะปรับแก้ การปรับพฤติกรรมของเด็กก็เช่นกัน เมื่อครูจะปรับแก้พฤติกรรมที่เป็นปัญหาก็จำเป็นต้องทราบต้นตอของปัญหาเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และหาทางแก้ไข ซึ่งหวังว่าเครื่องมือช่วยสืบพฤติกรรมนักเรียนที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์แก่คุณครูผู้สอนหลายๆ ท่านนะคะ

 

“ขอแค่เชื่อในตัวเด็กว่าพวกเขาสามารถพัฒนาได้ พวกเขาก็จะพัฒนาได้” สู้ๆ ค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: https://www.gotoknow.org/posts/593289

: https://edubrights.com/resource/2019/01/31/fba-functional-behavior-assessment/

: https://inskru.com/idea/-LvG-UsCbxgbtTiGQ9zS?fbclid=IwAR1r_sENTN_tRSGUUbpqBb6gexPSqG4iUQtQngho1ZeADFyJxaphwvNRPAs

 

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://winksite.com/xhtml/ms_fo_pg_v?fid=47731&id=35608&susid=49921

: https://www.pinterest.com/pin/169518373459403201/?lp=true

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *