บุคลากรทางการศึกษา ครู และ(ว่าที่)ครูไม่ควรพลาด…สรุปนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2564

 

 

เมื่อวันที่  27  ธันวาคม  พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ยึดเป็นกรอบการดำเนินงานในการจัดทำแผนและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

โดยหลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นั้น จะดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ อย่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัยในทุกมิติ เพื่อให้มีความพร้อมในการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและมั่นคง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

โดยสรุป “หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ออกมาได้ดังนี้ คือ

 

  1.  ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการ โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและบุคลากร
  2. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากร โดยมุ่งปฏิรูปกระบวนการวางแผน โครงการแบบร่วมมือและบูรณาการสามารถตอบโจทย์ของสังคมและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
  3. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งบริหารจัดการอัตรากำลัง พร้อมทั้งพัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรภาครัฐเพื่อรองรับรัฐบาลดิจิทัล
  4. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

 

 

สำหรับ “จุดเน้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แบ่งเป็น 6 หัวข้อใหญ่ ดังนี้

 

  1. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

 

1.1 การจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ

-จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ

-ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา

-พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

-พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ

 

1.2 การเรียนรู้ตลอดชีวิต

-จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ (English for All)

-ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ อาชีพที่เหมาะสมรองรับสังคมสูงวัย หลักสูตรการดูแลผู้สูงวัย

-ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ

-พัฒนาทักษะ ความรู้ และความชำนาญของครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ

-พัฒนาครูอาชีวศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในทางปฏิบัติ (Hands – on Experience) เพื่อให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญทางวิชาการ

-พัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

  1. การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง

พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน

เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา

ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทย โดยเป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้ภาษาอย่างหลากหลาย

ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม ผ่านกระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด

 

 

  1. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน

สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ ตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษา

สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะวิเคราะห์ข้อมูลและการสื่อสาร (ภาษาต่างประเทศ)

 

 

  1. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

พัฒนาและใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้

-ศึกษาและปรับปรุงอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัว ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและหลักรัฐธรรมนูญ

ระดมสรรพกำลังเพื่อส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับพ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2562

 

 

  1. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม

-ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างอาชีพ

 

 

  1. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

ปฏิรูปองค์การเพื่อลดความทับซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน

ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน

สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

-พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data)

-พัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ

-สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและเป็นอิสระ

-จัดตั้งหน่วยงานวางแผนทางการเงิน (Financial Plan) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร

-ส่งเสริมโครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริเวณโรงเรียน

 

 

 

และสุดท้าย “การขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ” แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้

  1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้น เป็นกรอบแนวทางมาใช้ในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่
  3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน ผ่านภาคีเครือข่าย

 

 

 

นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว นอกจากครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ที่ควรจะศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนการทำงานได้แล้ว สำหรับคนที่จะสอบครูผู้ช่วย แนะนำให้เตรียมอ่านและทำความเข้าใจนโยบายต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสอบครูผู้ช่วย ประจำปี 2563 นี้ค่ะ

 

 

 

สามารถอ่านประกาศฉบับเต็มได้ที่ >>> https://www.moe.go.th/moe/upload/news18/FileUpload/55403-3130.pdf

 

 

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://data.bopp-obec.info/emis/news/news_view.php?ID_New=154174

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *