9 มุมมองด้านการศึกษาแห่งอนาคตของ “ธนินท์ เจียรวนนท์”

1.แก่นแท้ที่ดีที่สุดต้องสร้างอาจารย์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด การที่จะสร้างอาจารย์ให้ได้เยี่ยมที่สุด ก็ต้องให้เกียรติเขามากที่สุด ให้รายได้ที่มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้คนเก่ง ๆ ในสังคมหรือในโลกนี้ต้องการที่จะหันมาประกอบอาชีพครูหรืออาจารย์

2.เราต้องสอนให้เด็กใจกว้าง อดทน และเรียนรู้ตลอดเวลา

3.ต้องลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จัดหาครูที่มีความรู้ความสามารถมาใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนทางไกลให้กับนักเรียนและผู้คนในชนบท เพื่อให้ทุกคนสามารถพัฒนาตัวเองได้

4.การศึกษาก็เหมือนกับธุรกิจ ต้องมีการปรับตัว และต้องพิจารณาว่าตลาดแรงงานต้องการอะไร

5.เรายังต้องเรียนรู้เทคโนโลยีจากซีกโลกตะวันตก ต้องยอมรับการศึกษาในซีกโลกตะวันออกยังสู้ไม่ได้ เพราะการเป็นนักธุรกิจต้องนำเทคโนโลยีที่ดี ๆ ของทั่วโลกมาใช้

6.การศึกษาที่แท้จริง คือ ต้องได้ไปสัมผัสของจริง เผชิญปัญหาจริง ยิ่งได้เผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหาได้มากเท่าไร นั่นจึงเรียกได้ว่าเป็นของจริง แล้วถ้าสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วย ถึงจะเรียกว่าสามารถประยุกต์ใช้ความรู้แท้จริง เพราะการอ่านแค่ในหนังสือไม่ได้ทำให้ได้เรียนรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาได้แท้จริง

7.ก่อนที่การเรียนการสอนจะมีการวางหลักสูตรใหม่ ต้องศึกษาวิจัยความต้องการในโลกยุคนี้ก่อน พิจารณาว่าลักษณะบุคลากรหรือหน่วยงานใดที่บริษัทยังขาดแคลน ต้องมองตลาดความต้องการในระดับโลกไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เพราะต่อไปในอนาคตโลกจะไร้ขอบเขตคนไทยไม่จำเป็นต้องทำงานแค่ในประเทศไทยเท่านั้น

8.การเรียนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เราต้องลงมือไปปฏิบัติจริงไปสัมผัสของจริง ไม่ยึดติดกับการสอนรูปแบบเดิมในห้องเรียน แต่ต้องไปสัมผัสของจริง การศึกษาที่ดีต้องสร้างคนที่ไปทำงานได้จริงไม่ใช่เรียนแต่หนังสือ

9.การศึกษาตลอดชีวิตนั้นคนรุ่นเก่าเองก็ต้องใจกว้าง และต้องเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ด้วย และต้องให้คนรุ่นใหม่ได้ทำเรื่องใหม่ อาทิ แจ็ก หม่า เป็นผู้ที่รู้จักใช้เทคโนโลยีจากโลกตะวันตกมาสร้างธุรกิจในจีน ทั้งที่เขาไม่ได้รับการศึกษาจากซีกโลกตะวันตกเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *