โลจิสติกส์ ผู้นำด้านการขนส่งหนึ่งในกลุ่มอาชีพมาแรงแห่งปี 2563

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า โลจิสติกส์ นั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญด้านการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดกว้างในการทำงานมากขึ้น และยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานทั่วโลกอีกด้วย จึงทำให้ โลจิสติกส์ มาแรงเป็น 1 ใน 10 อาชีพที่มีโอกาสขยายตัวปี 2563 ซึ่งแต่ละกลุ่มอาชีพ ประกอบไปด้วย

1.ดูแลผู้สูงวัย-ผู้ป่วยติดเตียง

2.แพลตฟอร์มธุรกิจ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์

3.การท่องเที่ยวและการบริการต่อเนื่อง

4.บริการทางการแพทย์-ดูแลสุขภาพอาหารสุขภาพ

5.วิศวกรรมก่อสร้างโครงสร้างระบบรางและระบบคมนาคมต่าง ๆ

6.การพัฒนาแอปพลิเคชัน

7.นักวิเคราะห์สถิติขั้นสูง นักเศรษฐศาสตร์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน

8.กลุ่มอาชีพใหม่ที่เกิดจากการขยายตัวเศรษฐกิจดิจิทัล

9.การศึกษาผ่านทางออนไลน์

และ 10. ขนส่งโลจิสติกส์และการบริหารคลังสินค้า นั้นเอง

โลจิสติกส์ เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง เคลื่อนย้ายสินค้าและการบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ รวมไปถึงกระบวนการจัดการสินค้าในคลังอีกด้วย ด้วยสามารถที่เฉพาะตัว จึงทำให้สายงานอาชีพนี้นั้นมีความต้องการบุคลการเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการในอนาคต ยิ่งธุรกิจเติบโตมากเท่าไหร่ โลจิสติกส์ก็มีการเติบโตมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน และสายงานอาชีพ โลจิสติกส์ ที่มาแรงสุดในช่วงนี้ก็ไม่พ้นงานด้าน ขนส่งโลจิสติกส์ และ การบริหารคลังสินค้า

งานด้านการขนส่งโลจิสติกส์ ก็สามารถแบ่งได้ตาม Mode การขนส่ง ซึ่งมี 5 โหมด

โหมดถนน – ได้แก่ การขนส่งทางถนน รถยนต์ จักรยาน มอเตอร์ไซต์

โหมดราง – ได้แก่ การขนส่งทางราง รถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าความเร็ว ต่ำ สูง ปานกลาง

โหมดน้ำ – ได้แก่ การขนส่งที่ใช้เรือ โดย ปกติก็จะแยกอีกเป็น 3 อย่างหลักๆ คือ ขนส่งทางแม่น้ำ ขนส่งเลียบชายฝั่ง และขนส่งทางทะเล

โหมดอากาศ – ได้แก่ การขนส่งที่ใช้เครื่องบิน บอลลูน โดรน ในการขนส่ง

โหมดท่อ – ได้แก่ การขนส่งที่ใช้ท่อในการขนส่ง เช่น แก็ส น้ำมัน

และการจัดการการขนส่ง ก็จะมีสายงานแยกออกไปอีก คือ

International transportation การขนส่งข้ามประเทศ

Domestics transportation การขนส่งภายในประเทศ

งานด้านการบริหารคลังสินค้า จะมีหน้าที่ในการควบคุมการนำเข้า การส่งออกสินค้า การควบคุมสินค้าภายในคลัง ซึ่งรวมไปถึงการดูแลจดบันทึกประเภทและจำนวนสินค้า การรับ การเก็บ การจัดการตรวจสอบสินค้าหรือวัตถุดิบให้คงตามมาตรฐานเพื่อป้องกันสินค้าไม่ให้เสียหายก่อนถึงมือลูกค้า

เรียกได้ว่างานทั้งสองสายงานนี้ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางด้าน โลจิสติกส์ พอสมควรเลยเพื่อที่จะประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ แถมยังต้องมีความรอบคอบ มุ่งมั่น ขยัน และขยันแบบสุด ๆ เพราะสายงานด้านโลจิสติกส์นี้นั้นทำงานหนักมาก แต่ค่าตอบแทนของทั้งสองอาชีพนี้ก็ไม่ใช่น้อย รวมถึงงานอื่น ๆ ทางด้านสายงาน โลจิสติกส์ ก็ด้วยเช่นกัน

ในส่วนของการศึกษา คณะโลจิสติกส์ นั้นมาแรงไม่แพ้คณะใดในช่วงนี้ เพราะถ้าจะทำสายงานนี้ได้ การมีความรู้ความเข้าใจในด้านโลจิสติกส์ติดตัวไว้ก็ย่อมดีกว่า โดย วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ก็เปิดสอนหลักสูตรนี้โดยตรงจากผู้มีประสบการณ์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ มีให้เลือกถึง 3 สาขา และ 1 International Program ซึ่งมีจุดเด่นแตกต่างกันไปในแต่ละสาขา แต่คุณภาพไม่ด้อยไปกว่ากันแน่นอน โดยสาขาต่าง ๆ มีดังนี้

1.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

จุดเด่น

– เน้นการเรียนการสอนผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการทำงานจริง

– มีการอบรมทักษะภาษาที่ใช้ในการทำงาน

– จัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการและสมาคมด้านวิชาชีพในด้านโลจิสติกส์

– การเรียนเน้นทักษะการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาด้านโลจิสติกส์ได้จริง

อาชีพหลังเรียนจบ

– ฝ่าบริหารงานจัดซื้อ/จัดจ้าง

– ฝ่ายบริหารคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า

– ฝ่ายวางแผนอุปสงค์และควบคุมสินค้าคงคลัง

– ฝ่ายบริหารการขนส่งและการกระจายสินค้า

2.1 สาขาวิชาการจัดการซัพพลายเชนธุรกิจ แขนงวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี

จุดเด่น

– เน้นการเรียนผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานจริง

– มีการอบรมทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงานเพิ่มเติม

– จัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการและสมาคมวิชาชีพในด้านการขนส่งสินค้าทางน้ำระหว่างประเทศ

– ศึกษาดูงานในสถานประกอบการ

อาชีพหลังเรียนจบ

– ฝ่ายนำเข้า ส่งออกสินค้า (Import,Export)

– ฝ่ายการบริหารจัดการขนส่งทางเรือ

– ฝ่ายรับส่งสินค้าระหว่างประเทศ

– ท่าเรือ ศุลกากร

– ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

– Freight Forwarder

– Marine Agency (ตัวแทนสายการเดินเรือ)

2.2 สาขาวิชาการจัดการซัพพลายเชนธุรกิจ แขนงวิชาการจัดการการขนส่ง

จุดเด่น

– เน้นการเรียนผ่านโปรแกรมสำเร็จและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานจริง

– มีการอบรมภาษาอังกฤษทุกภาคเรียน

– จัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการและสมาคมวิชาชีพในด้านการขนส่ง

– ส่งเสริมประสบการณ์โดยการศึกษาดูงานสถานประกอบการ

อาชีพหลังเรียนจบ

– ฝ่ายควบคุมต้นทุนการขนส่ง

– ฝ่ายบริหารจัดการยานพาหนะ

– ฝ่ายบริหารการขนส่งสินค้า

– ฝ่ายการวางแผนขนส่ง

2.3 สาขาวิชาการจัดการซัพพลายเชนธุรกิจ แขนงวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ

จุดเด่น

– เน้นการเรียนผ่านโปรแกรมสำเร็จและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานจริง

– มีการอบรมทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงานเพิ่มเติม

– จัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการและสมาคมวิชาชีพในด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ

– ศึกษาดูงานในสถานประกอบการ

อาชีพหลังเรียนจบ

– ฝ่ายนำเข้า ส่งออกสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ

– ฝ่ายการบริหารจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ

– ฝ่ายปฏิบัติการคลังสินค้า (ภายในสนามบิน)

– ฝ่ายควบคุมการจัดส่งสินค้าทางอากาศ (สายการบิน)

3.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจออนไลน์

จุดเด่น

– หลักสูตรปฎิบัติการเรียนควบคู่กับการทำงานสถานประกอบการ ระยะเวลา 3 ปี + 1 ภาคเรียน

– จัดการเรียนการสอนด้วยการปฏิบัติในสภาพจริง

– เสริมความแข็งแกร่งด้านภาษาเพื่อรองรับการทำงานในระดับสากล

อาชีพหลังเรียนจบ

– ประกอบธุรกิจออนไลน์ส่วนตัว

– ฝ่ายบริหารงานธุรกิจออนไลน์

– ฝ่ายการจัดการงานธุรกิจออนไลน์

4.Logistics Management (International Program)

Strengths

– Focus on Automatically Learning and Actual Working Experience

– Improve English Working Skills

– Co-Learning with Entrepreneurship and Professional Logistics Association

– Entrepreneurial Academic Field Trip

Professions after Graduation

– Warehousing Distribution and Transportation, Manufacturing, Production Planning

– Outsourcing and Information Technology

– Entrepreneur, Trader, Merchant

– Importer, Exporter

– TOEIC Certificate of Achievement (500 Score)

ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร

ปี 1 37,500 บาท

ปี 2 37,500 บาท

ปี 3 37,500 บาท

ปี 4 15,000 บาท

รวมทั้งสิ้น 127,500 บาท

จำนวนการรับสมัคร TCAS63 รอบ 2 โควตา

การจัดการโลจิสติกส์

จำนวน 20 คน

การจัดการซัพพลายเชนธุรกิจ

  • ธุรกิจพาณิชยนาวี  จำนวน 20 คน
  • การจัดการขนส่ง จำนวน 12 คน
  • การจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ จำนวน 16 คน

การจัดการโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจออนไลน์

จำนวน 12 คน

Logistics Management (International Program)

จำนวน 2 คน

 

ขอบอกได้เลยว่า โลจิสติกส์ นั้นมาแรงไม่แพ้ใครในปี 2020 ทั้งเรื่องงานและเรื่องเรียน เป็นสายงานแห่งอนาคตที่ตลาดแรงงานต้องการอยู่เรื่อย ๆ แน่นอน เพราะด้วยโลจิสติกส์นั้นมีความเกี่ยวข้องแทบจะทุกธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ยิ่งธุรกิจมีมากขึ้นเท่าไหร่ โลจิสติกส์ก็ยิ่งเจริญเติบโตมากขึ้นเท่านั้น ไม่แปลกใจเลยที่ โลจิสติกส์ จะมาแรงในตอนนี้และอนาคต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *