Oxbridge คืออะไร? แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นอย่างไร?

สำหรับคนที่สนใจอยากไปเรียนต่อที่ต่างประเทศโดยเฉพาะที่ประเทศอังกฤษคงจะเคยได้ยินคำว่า Oxbridge หรือกลุ่มมหาวิทยาลัย Oxbridge ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านหลักสูตรการศึกษาในระดับโลกกันมาบ้าง วันนี้เราจึงมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ Oxbridge มาฝากกันค่ะ

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oxbridge

Oxbridge คืออะไร?

Oxbridge เกิดจากการผสมคำหรือหน่วยคำ หรือเสียงของคำหรือเสียงของหน่วยคำให้เกิดเป็นคำใหม่ที่ภาษาอังกฤษเรียกวิธีการนี้ว่า Portmanteau ดังนั้น คำว่า Oxbridge จึงเป็นการรวมคำแรกของมหาวิทยาลัย Oxford และคำสุดท้ายของมหาวิทยาลัย Cambridge เข้าด้วยกันให้เกิดเป็นคำใหม่คือ Oxbridge ฉะนั้น Oxbridge จึงหมายถึง มหาวิทยาลัยชั้นนำของอังกฤษอย่าง อ็อกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันเก่าแก่และมีชื่อเสียงในในด้านระบบการศึกษาอย่างมาก

 

มหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge  ตั้งมานานกว่า 800 ปี โดยสันนิษฐานว่า Oxford ตั้งเมื่อปี 1096 ในขณะที่ Cambridge ตั้งเมื่อปี 1209  แต่คำว่า Oxbridge เพิ่งเริ่มใช้เมื่อปี 1850  ซึ่งนอกจากความเก่าแก่ของมหาวิทยาลัยแล้ว Oxbridge ยังมีระบบการศึกษาที่ทำให้ทั้งสองมหาวิทยาลัยก้าวมาเป็นตัวท็อปของสถาบันการศึกษาในระดับโลกได้ ดังนี้

 

ระบบการเรียนการสอนชนิดพิเศษในแบบฉบับของ Oxbridge

 

ระบบการเรียนการสอนของ Oxbridge มีจุดเด่น 4 ประการ ได้แก่

  1. การเรียนการสอนที่ Oxbridge จะมี class lecture, lab ที่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ คือ Oxbridge System จะ เน้นชั้นเรียนเล็ก หรืออาจจะเรียกว่า เป็นระบบการเรียนแบบตัวต่อตัว โดยวิธีการเรียนแบบนี้จะมีทั้งการวิเคราะห์วิพากษ์ข้อมูล แปลและตีความข้อมูล การความคิดเห็น การซักถามและตอบคำถามระหว่าง Tutor หรือ Fellow กับนักศึกษา แทนการฟังการบรรยายในห้องเรียนใหญ่ๆ เพียงอย่างเดียว

 

  1. อัตราส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาจะอยู่ที่ประมาณ 1:1 ถึง 1:3 โดยมหาวิทยาลัย Oxford จะเรียกระบบการสอนของตัวเองว่า Tutorial ในขณะที่ Cambridge จะเรียกระบบการสอนของตัวเองว่า Supervision ระบบ Tutorial หรือ Supervision โดยเป็นระบบการสอนในความรับผิดชอบของคอลเลจ ที่ให้อาจารย์หรือนักวิชาการประจำคอลเลจที่คัดมาแล้วว่ามีความรู้ดี ฝีมือสอนระดับเซียน ทำหน้าที่ดูแลนักศึกษาที่อยู่ในคอลเลจนั้นๆ โดยเฉพาะ ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาผู้นั้นยังศึกษาอยู่ตลอดหลักสูตร โดย Tutor หรือ Supervisor จะทำหน้าที่เสมือนโค้ชส่วนตัว ที่คอยสอนและสนับสนุนช่วยเหลือด้านวิชาการอย่างสุดความสามารถเพื่อให้สัมฤทธิผลทางการศึกษาสูงสุด

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งระบบ Tutorial นี้ยังได้ถูกนำไปใช้ในการเรียนและการสอนของบางมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรอื่นๆ เช่น University of Buckingham นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจจากประเทศอื่น เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่นำระบบ Traditional British Turtorial system ไปใช้ ได้แก่ Williams College ตั้งอยู่ที่เมือง Williamstown ในรัฐ Massachusetts, Honor Tutorial College ที่ Ohio University มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Athens รัฐ Ohio รวมถึง New College of Florida ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Sarasota ในรัฐ Florida อีกด้วย

 

โดยระบบการเรียนดังกล่าวถือเป็นเคล็ดลับที่ศิษย์เก่าของ Oxbridge ยอมรับว่าเป็นระบบการศึกษาที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ เพราะการที่คอลเลจออกแบบให้ Tutor แต่ละคนดูแลนักศึกษาน้อยที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลใส่ใจอย่างทั่วถึง แทบจะมีความหมายเท่ากับ Personalize ในบางวิชา ทั้งยังได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ แบบตัวต่อตัวอย่างเข้มข้นทุกอาทิตย์ ถึงแม้ว่าวิธีการสอนแบบคู่ขนานนี้จะทำให้มหาวิทยาลัยและคอลเลจรับนักศึกษาได้จำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ก็แลกมากับการเรียนการสอนที่เสถียรด้วยคุณภาพนั่นเอง

 

 

  1. ระบบการปิดและเปิดเทอมของ Oxbridge จะมี 3 เทอม ไม่รวมเทอม Summer ลักษณะคล้ายคลึงระบบ Quarter ในมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

  1. Oxbridge มีระบบการสอบปีละ 1 ครั้งรวมทั้งอาจจะต้องมี dissertation, thesis, portfolio, essay หรือ research project ส่งตอนจบวิชานั้นๆ แล้วแต่วิชาที่เลือกลงทะเบียนเรียนด้วย โดยแต่ละ College ที่ลงทะเบียนเรียน ทางเว็บไซต์ของ Oxford ก็ได้ให้รายละเอียดถึงการสอบไว้กลางๆ ว่า จะมีการสอบในปีที่ 1 และปีสุดท้ายก่อนจบเท่านั้น ฟังดูแล้วอาจจะดูน่าอิจฉาที่สอบแค่ปีละครั้ง ไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ทุกเทอมจะมีทั้งสอบกลางภาคและปลายภาค แต่ต้องไม่ลืมว่ายิ่งสอบน้อยครั้งเท่าไหร่ ก็หมายความว่าผู้สอบจะมีโอกาสพลาดสูงตามไปด้วย เพราะคะแนนทุกวิชาของนักศึกษาที่นี่เกือบจะเรียกได้ว่ามาจากการสอบเพียงครั้งเดียวนั่นเอง

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สำหรับคนที่สนใจระบบการศึกษาแบบ Oxbridge นั้นหากต้องการจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่จำเป็นต้องหาข้อมูลและเตรียมตัวอย่างหนักมากทีเดียวเพราะแน่นอนว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำเช่นนี้ย่อมมีอัตราการแข่งขันที่สูง และระบบการเรียนที่มีการแข่งขันและทำให้ต้อง active ตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ต้องยอมรับว่าหากสามารถเข้าศึกษาที่นี่ได้ย่อมเป็นการเปิดโลกและเปิดโอกาสในอนาคตที่มากขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: https://minimore.com/b/oxb/3

: https://govisaedu.com/2018/04/14/oxbridge

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.literegal.co.uk

: https://www.unitedtowers.com/yurtdisinda-dil-egitimi/bell-cambridge/50

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *