เผย 13 เทคนิคเรียกสมาธิเด็กในห้องเรียน

 

อีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญในการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนนั้นก็คือผู้เรียน เพราะต่อให้ครูเตรียมเนื้อหา องค์ความรู้ หรือสื่อการสอนมาอย่างดีมากเพียงใดแต่หากผู้เรียนนั้นไม่พร้อมที่จะรับความรู้เพราะขาดสมาธิในการเรียนแล้วนั้น ก็ไม่อาจทำให้การเรียนการสอนในห้องเรียนนั้นๆ เกิดประสิทธิภาพในการเรียนได้เท่าที่ควร วันนี้เราจึงมี 13 เทคนิคดีๆ ที่จะช่วยครูในการสร้างสมาธิแก่นักเรียนในห้องเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนได้ประสิทธิภาพมาฝากกันค่ะ

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

 

1.ครูต้องแสดงออกถึงพลังและความกระตือรือร้นอยู่เสมอในเวลาที่อยู่กับเด็ก ในการเรียนการสอนในห้องเรียนครูต้อง active ตัวเองอยู่เสมอ อย่าเอาแต่ยืนนิ่งๆ อยู่กับที่ ให้ลองเดินไปเดินมาบ้างและคอยพูดคุยสื่อสารกับเด็กอยู่เสมอทั้งเรื่องวิชาการและเรื่องทั่วๆ ไป ชวนคิด ชวนเล่มเกม เพื่อให้เด็กไปรู้สึกกระตือรือร้นตามไปด้วย

 

 

2.การเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมด้วย ไม่ควรยืนพูดหน้าชั้นอย่างเดียว การเรียนการสอนที่ครูพูดกับกระดานดำหรือการให้เด็กแค่ฟังและจดตามไม่เพียงพอแล้วในยุคนี้ ครูควรตั้งคำถามบ่อยๆ ทั้งคำถามที่ต้องการคำตอบและไม่ต้องการคำตอบ ในการสาธิตอะไรต่างๆ ให้เด็กดู ครูอาจเป็นคนเริ่มต้นคำถามโดยให้เด็กเป็นคนต่อจนจบ ครูอาจจะทำอะไรบางอย่างให้เด็กดู แล้วถามว่า “ทำไมครูถึงทำอย่างนั้น?” เพื่อมห้เด็กได้คิดมากกว่าการอธิบายเองทั้งหมด

 

 

3.ครูควรสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างสม่ำเสมอ เช่นการให้เด็กๆ เขยิบมานั่งใกล้ๆ ครู ในขณะที่ครูกำลังสาธิตหรือแสดงอะไรบางอย่างให้เด็กดู อาจให้เด็กนั่งขัดสมาธิบนพื้นก็ได้ เพื่อให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการสอน/สาธิตของครูได้

 

 

4.เมื่อเด็กตั้งคำถาม ให้ครูลองเรียกให้เพื่อนนักเรียนด้วยกันเป็นคนตอบ แต่ในการเรียนกให้ตอบครูควรแน่ใจว่าเด็กคนแรกที่ครูเรียกเป็นคนที่รู้คำตอบนั้นๆ ดี เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการเรียนรู้จากกันและกัน

 

 

5.ให้ครูชี้ตัวเด็กเมื่อต้องการให้เด็กตอบคำถาม แทนที่จะใช้วิธีเรียกชื่อ เนื่องจากเด็กจะไม่สนใจเรียนจนกว่าจะได้ยินครูเรียกชื่อตนเอง การใช้วิธีชี้ตัวจะทำให้เด็กๆ ทุกคนในห้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องที่กำลังเรียน

 

 

6.ในกิจกรรมที่ครูเคยเรียกเด็กให้ร่วมแสดงความเห็น ให้ครูเรียกเด็กคนนั้นซ้ำอีก การทำเช่นนี้เพื่อไม่ให้เด็กหมดความสนใจและความกระตือรือร้นเพราะคิดว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการตอบแล้วจะหมดความสนใจในการเรียนทันที การเรียกซ้ำจะช่วยให้

เด็กตั้งใจเรียนต่อไป

หากเด็กคนใดแสดงท่าทีกระตือรือร้นอยากแสดงออก ครูควรมอบหมายให้เด็กเป็นคนรับผิดชอบงานบางอย่างมากชี้น อาทิ การเล่นเกมในห้อง หรือการทำกิจกรรมบางอย่าง อย่างน้อยที่สุดเด็กคนดังกล่าวจะเรียนรู้ทักษะความรับผิดชอบ

 

 

7 ช่วงเวลาที่ต้องการให้เด็กทำงานกลุ่มให้ลองจับกลุ่มแบบกระทันกัน ให้เด็กเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยกันโดยไม่ให้รู้ตัวล่วงหน้า เช่น งานกลุ่มแบบปฏิบัติ การสาธิตการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อที่เด็กทุกกลุ่มจะได้ตั้งใจเรียนแม้ว่าครูจะไม่ได้สื่อสารกับกลุ่มเหล่านั้นโดยตรงก็ตาม

 

 

8.ใช้สัญญาลักษณ์ การเคาะหรือสัญญาณเตือนเมื่อถึงเวลาที่ครูต้องเรียกเด็กๆ กลับมาประจำที่หลังจากที่ทำงานกลุ่มที่ต้องใช้ท่าทาง สัญลักษณ์ของเสียงต่างๆ เพื่อเรียกเด็กๆ นั้น ก็เพราะเด็กบางคนจะเริ่มสังเกตสัญญาณดังกล่าวและปฏิบัติตาม ในไม่ช้าเด็กๆ ทั้งชั้นก็เรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามพร้อมกัน อย่างไรก็ดี ครูไม่ควรใช้วิธีปรบมือให้สัญญาณ เพราะเสียงจะดังเกินไปและอาจทำให้

เด็กตกใจได้

 

 

9.เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้นำให้ห้องเรียน เช่นการที่ครูไม่ควรผูกขาดการเรียกชื่อเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้เลือกเพื่อนในชั้นเรียนเองบ้างด้วย

 

 

10.พยายามใช้ประโยชน์จากความรู้ที่เด็กมี เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เด็กหมดความสนใจในการเรียนคือ ครูมักคิดว่าเด็กอายุยังน้อยหรือมาจากครอบครัว/ชุมชนที่มีพื้นความรู้และประสบการณ์แตกต่างไปจากของครู หากครูรู้จักเลือกใช้ตัวอย่างจากโลกที่เด็กรู้จัก เด็กๆ จะเกิดความตื่นตัวที่จะเรียนรู้

 

 

11.พยายามสื่อสารกับเด็กด้วยถ้อยคำที่เข้าใจง่าย การให้คำหรือภาษาทางวิชาการหรือภาษาแบบผู้ใหญ่ อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนกับการสื่อสารและถ้อยคำต่างๆ ได้ ดังนั้นครูจึงควรเลือกใช้คำง่ายๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกันแทน

 

 

12.หมั่นเปลี่ยนวิธีเดินเรียงแถวทุกครั้ง เวลาที่ครูต้องพาเด็กออกไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน อย่างเช่นว่าปกติครูอาจให้เด็กเดินตามลำดับความสูง ตามวันเกิด หรืออาจให้เด็กหญิงเดินสลับกับเด็กชาย เป็นต้น ในขณะที่เดิน ให้เด็กนับสิ่งต่างๆ ที่พบเจอรอบตัว เช่น รถยนต์ อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ ฯลฯ เพื่อฝึกทักษะด้านการสังเกตและด้านคณิตศาสตร์ไปในตัวได้อีกด้วย

 

 

13.บางครั้งครูไม่ควรให้ความสนใจจนเกินไปกับเด็กที่พฤติกรรมก่อให้เกิดปัญหา แน่นอนว่าสิ่งที่ครูต้องเจอในการสอนในเรียนที่นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญนั้น ก็คือ เด็กที่มีพชอบพูดคุยยั่วแหย่เพื่อน ฯลฯ โดยเฉพาะหากการสนใจนั้นทำให้บรรยากาศ ซึ่งบางครั้งหากครูไปสนใจเฉพาะเด็กที่มีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญกาเหล่านั้นก็จะทำให้บรรยากาศของห้องเรียนสะดุดลง และเด็กคนอื่นที่ตั้งใจเรียนอยู่ต้องเสียโอกาสในการเรียนชั่วโมงนั้นๆ ไปด้วย ครูจึงควรปล่อยผ่านและไม่ทำการสนใจในระหว่างการสอนแล้วค่อยเรียกนักเรียนคนนั้นๆ มาปรับความเข้าใจกันในภายหลังได้

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

แม้ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะครูนั้นจะมีสิ่งที่ท้าทาย ยาก และทำให้เหนื่อยให้ท้อบ้าง แต่ก็หากคุณครูได้ตั้งใจและพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ขอให้อย่าเพิ่งท้อและขอให้เดินหน้าสู้ต่อไปเพื่ออนาคตของเด็กต่อไปค่ะ

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: https://www.trainkru.com/

 

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://observatory.tec.mx/edu-news/playful-assessments-measuring-students-understanding

: https://www.tin247.com/polyp_day_thanh_can_benh_cho_nen_coi_thuong-10-25705914.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *