Active Learning รูปแบบการเรียนการสอนสำหรับคนยุคใหม่…(ครู)นำมาประยุกต์ใช้อย่างไรดี?

 

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้การสื่อสารเข้าถึงกันได้ง่าย รวมถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลสามารถที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ในด้านการศึกษาผู้เรียนจำเป็นจะต้องมีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา

 

ประกอบกับปัจจุบันที่องค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำองค์ความรู้และเนื้อหาในวิชาต่างๆ มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้จากในห้องเรียนได้หมดนอกจากนี้ยังส่งผลให้การสอนแบบเดิมด้วยการ “พูด บอก เล่า” ไม่สามารถจะให้การเรียนรู้และพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับยุคนี้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งเทคโนโลยีนี้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน จากผู้สอนคือผู้ถ่ายทอด ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้และประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ passive vs active learning"

 

ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นเราควรจะต้องทราบถึง ปิรามิดแห่งการเรียนรู้  หรือการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของมนุษย์ผ่านวิธีการต่างๆ เสียก่อน ซึ่งปีรามิดแห่งการเรียนรู้นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ

 

ระดับที่ 1 กระบวนการเรียนรู้แบบ Passive Learning

เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการฟัง การท่องจำ การเห็น การรับชม ตามลำดับซึ่งกระบวนการเรียนรู้แบบ Passive Learning นี้ จะเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านทางการถ่ายทอดของผู้สอนเป็นหลัก ซึ่งวิธีการเหล่านี้สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ไม่เกิน 50%

 

ระดับที่ 2 กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

หมายถึงการพูดคุยแสดงความคิดเห็น และการลงมือปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning นั้น จะเน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง จากการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้เรียน โดยมีผู้สอนคอยชี้แนะและให้คำแนะนำ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ นับเป็นขั้นที่สูงกว่า Passive Learning ทำให้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ถึง 90%

 

ยกตัวอย่างจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่พบว่า กิจกรรมที่ต่างกันจะทำให้เราจดจำสิ่งที่ได้การเรียนรู้ต่างกัน ได้ดังนี้

 

การเรียนในห้องเรียน (Lecture) นั่งฟังบรรยาย จะจำได้เพียง 5%

การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) จะจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10%

การฟังและได้เห็น (Audiovisual) เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ จำได้ 20%

การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) จะช่วยให้จำได้ 30%

การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้ถึง 50%

การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จะจำได้ถึง 75%

การได้สอนผู้อื่น (Teaching) เช่น การติว หรือการสอน จะช่วยให้จำได้ถึง 90%

(Harvard Business Review, 2554: ออนไลน์)

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ children studying"

จากเหตุผลและตัวอย่างที่ยกมาประกอบข้างต้นจะทำให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบที่จะสามารถตอบสนองโลกในยุคนี้ได้ก็คือรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learningซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ ได้แก่

  1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
  2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

 

เมื่อทราบถึงความหมายและความสำคัญของ Active Learning แล้วสิ่งที่เป็นคำถามตามมาก็คือแล้วผู้สอนจะสามารถนำการเรียนรู้รูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับศิษย์ และห้องเรียนอย่างไรจะเป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนได้อย่างสูงสุด วันนี้เราจึงได้นำวิธีการประยุกต์ใช้ Active Learning ที่อาจารย์เยาวเรศ  ภักดีจิตร อาจารย์สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ปี 2557) ได้นำเสนอไว้มาฝากกันดังนี้ค่ะ

 

  1. การเรียนรู้ผ่านการทำงาน (Work-based Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน

 

  1. การเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project-based Learning) การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้ (teacher) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

สิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ด้วย PBL จึงมิใช่ตัวความรู้ (knowledge) หรือวิธีการหาความรู้ (searching) แต่เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ทักษะชีวิตและประกอบอาชีพ (Life and Career skills) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารและเทคโนโลยี (Information Media and Technology Skills) การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา (critical thinking & problem solving) ทักษะการสื่อสาร (communicating) และทักษะการสร้างความร่วมมือ (collaboration) ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย

 

  1. การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) ในการยึดหลักการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง “Child Centered” การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ Doing by Learning จึงถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในการปฏิรูปการศึกษาของไทย การเรียนรู้ชนิดนี้เอง ที่มีผู้ตั้งฉายาว่า “สอนแต่น้อย ให้เรียนมากๆ Teach less..Learn More”  การเรียนแบบ Learning by Doing นั้นใช้ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเรียนการสอน โดยการ “ปฏิบัติจริง Doing” ในเนื้อหาทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ คุณครูเป็นพี่เลี้ยงและเทรนเนอร์ แต่กิจกรรมที่นำมาใช้นี้ต้องมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ มีจุดมุ่งหมาย สนุก และน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจนก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น คุณครูจึงเป็น “นักออกแบบกิจกรรม Activity Designer” มืออาชีพ ที่สามารถ “มองเห็นภาพกิจกรรม” ได้ทันที

 

  1.   การเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหา (Problem-based Learning) เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จะจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย ขนาดประมาณ 8 -10 คน โดยมีครูหรือผู้สอนประจำกลุ่ม 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการการเรียนรู้ (facilitator)

 

  1.   การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-based Learning) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และการทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ children learning science"

 

การเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าวเป็นรูปแบบที่จะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่ วิเคราะห์ และลงมือทำซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า และองค์ความรู้เหล่านั้นก็จะถูกจดจำได้มากและยาวนานกว่ารูปแบบการสอนแบบเดิมๆ สำหรับการเรียนแบบ Active Learning นั้นในปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการศึกษาแล้ว มีองค์ความรู้ งานวิจัยในเรื่องนี้อยู่จำนวนไม่น้อย ดังนั้นการเรียนในรูปแบบนี้จึงเป็นการเรียนที่ควรมีอยู่ห้องเรียนของเด็กไทยและกลายเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ทั้งครูและศิษย์ได้พัฒนาตัวเองไปพร้อมๆ กันด้วยค่ะ

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: https://www.trueplookpanya.com/education/content/70793/-teaartedu-teaart-

: https://www.kruupdate.com/active-learning-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B/

: http://www.mct.rmutt.ac.th/km/?p=786%20%20%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.apexanesthesia.com

: https://abahrd.com/?lp_course=teaching-primary-science-getting-started

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *