เด็กอุดรธานีพิทยาคมชนะเลิศประกวดคลิปวีดีโอ Young Creative “ของดีบ้านฉัน”

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มอบรางวัล Young Creative “ของดีบ้านฉัน” ประกวดคลิปวีดีโอ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 14 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุมช่องทองกวาว ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายศุภมิตร ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดงาน โครงการ Young Creative “ของดีบ้านฉัน” โรงเรียนที่ได้รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนชัยนาคำวิทยา รองชนะเลิศอันดับ…

ครูควรสอนอย่างไรในห้องเรียนแบบ Child Center ….?

  สำหรับรูปแบบการเรียนการสอน ที่มีการเน้นครูเป็นศูนย์กลาง หรือ Teacher Center  นั้นเป็นการสอนแบบ Chalk and talk คือ การยิ่งสอนครูยิ่งเก่ง (คนเดียวในห้อง) เป็นรูปแบบการสอน ที่ไม่เพียงพอแล้วสำหรับการพัฒนาเด็กในยุคปัจจุบัน ทำให้ทุกวันนี้ในบ้านเราหันมาให้ความสนใจรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ Child Center กันเป็นจำนวนมาก     โดย Child Center เป็นรูปแบบ การเรียนรู้โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง ที่การพลิกโฉมการเรียนการสอนแบบเดิมที่เด็กมีหน้าที่ฟัง ท่องจำ ทำตามที่ครูบอก เปลี่ยนมาเรียนรู้โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญที่ตัวเด็ก…

วีซ่านักเรียนญี่ปุ่นทำยากไหม? มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

  ต่อเนื่องจากบทความ “อยากเรียนต่อประเทศญี่ปุ่น เรียนอะไรดี? มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?” นอกจากเรื่องวิชาการเรียน ค่าใช้จ่ายที่ต้องคำนวณแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับการไปเรียนต่อต่างประเทศนั้นก็คือ “การทำวีซ่า” สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าวีซ่านักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นนั้นเป็นอย่างไร ต้องทำยังไงบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากกันค่ะ     สถานะของวีซ่าสำหรับนักเรียนต่างชาติที่เข้ามาเรียนในประเทศญี่ปุ่นคือ “College Student” ซึ่งวีซ่านักเรียนเป็นวีซ่าที่ได้รับการยอมรับจากโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยญี่ปุ่น และวิทยาลัยวิชาชีพ ผู้ถือวีซ่าจะมีสถานะการพำนักอาศัยเป็น “นักเรียน” โดยวีซ่านักเรียนมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนจนถึง 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกวีซ่า ทั้งนี้อายุวีซ่าขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเรียน และการต่ออายุวีซ่านักเรียนสามารถต่ออายุและยืดเวลาการพำนักได้ ขึ้นอยู่กับระยะคอร์สเรียนของเราอีกเช่นกัน ซึ่งสำหรับ College…

“ครูคู่คิด…เป็นมิตรมีสไตล์ ปั้นศิษย์สู่นักจัดการเกษตรมืออาชีพ”

ทุกก้าวสำคัญของแวดวงการศึกษาไทย เบื้องหลังความสำเร็จของเยาวชนของชาติ ล้วนถูกหล่อหลอมด้วยสถาบันการศึกษา และผู้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญในการรับบทบาทนี้คือ คุณครู อาจารย์ ที่อยู่เบื้องหลังในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด รวมถึงคุณธรรมจริยธรรม ดูแลศิษย์จากรุ่นสู่รุ่น มุ่งขับเคลื่อนความสำเร็จให้ศิษย์เหล่านั้น      พีไอเอ็ม เผยตัวอย่างอาจารย์สาวแกร่ง ผู้มีสไตล์การสอนเหมือนเพื่อนคู่คิดกับศิษย์ ผู้มีความตั้งใจแน่วแน่เพื่อพัฒนาศิษย์สู่มืออาชีพด้านเกษตรและอาหาร…จากพื้นฐานฐานะครอบครัวระดับกลาง  ผสมกับความคาดหวังจากสังคมรอบตัวในวัยเด็ก เป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญให้เด็กหญิงมลฤดี ต้องตั้งใจเพิ่มมากขึ้นกับการเรียนและบอกกับตัวเองว่า ต้องเอาดีให้ได้ จนจบเกียรตินิยมด้วยความคิดที่บอกตัวเองเสมอว่า “หากตั้งใจจริง ก็ไม่มีอะไรที่เกินความสามารถและทำไม่ได้” นี่คือคำกล่าวจากผศ.ดร.มลฤดี จันทร์รัตน์ อาจารย์ประจำและผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาอาชีพ (Counseling and Career Developtment for Student Center)…

จุฬาฯ ประกาศความพร้อม เปิดงาน BAKA Begins

ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน (ที่ 4 จากซ้าย) อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ร่วมด้วย ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ (ที่ 5 จากซ้าย) รองอธิการบดีจุฬาฯ จัดงาน “BAKA Begins” เปิดเทศกาลงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563  ภายใต้แนวคิด “Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม” โดยภายในงานเปิดตัวครั้งนี้มีโชว์สุดพิเศษมากมาย อาทิ การแสดงจากกลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยว กลุ่มผู้นำเชียร์ของจุฬาฯ และจุฬาฯ คทากร นอกจากนี้ยังมีแฟชั่นโชว์เสื้อเชียร์ 25 Looks ที่มุ่งเน้นสะท้อนประเด็นสิ่งแวดล้อม และการทารุณสัตว์ ณ ลานทางเชื่อมระหว่าง BTS และสยามสแควร์วัน

สกสว.หนุนนักวิจัยสร้างนวัตกรรมเพาะเลี้ยง “ไข่น้ำ” ตอบโจทย์ BCG Model พัฒนาประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  ให้การสนับสนุนนักวิจัยพัฒนานวัตกรรมชุดเพาะเลี้ยงไข่น้ำระบบปิด พร้อมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีโปรตีนสูง อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สร้าง Bio Economy ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำทีมโดย ศ.ดร.อรรถชัย  จินตะเวช และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ติดตามความคืบหน้าโครงการ “นวัตกรรมผลิตไข่น้ำระบบปิดแบบแม่นยำและการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนสูงระดับชุมชน” ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินงานมาแล้ว 6 เดือน สามารถสร้างนวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงไข่น้ำระบบปิดโดยใช้วิธีการทำเกษตรแบบแม่นยำ สามารถจัดการผลิตและเตรียมต่อยอดขยายผลสู่การเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง ไข่น้ำ คืออะไร ? ไข่น้ำ หรือ ผำ เป็นพืชดอกสีเขียวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ในประเทศไทยสามารถเจริญเติบโตตามแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยชาวบ้านในภาคเหนือและอีสานนิยมนำมาใช้เป็นอาหาร ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ไข่น้ำเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยพบปริมาณโปรตีนในไข่น้ำอบแห้งสูงถึงร้อยละ 40 และนอกจากนี้ยังพบ เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์อีกด้วย ผศ.ดร.อารักษ์  ธีรอำพน  หัวโครงการวิจัย เปิดเผยว่า ไข่น้ำเป็นพืชท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางโภนาการสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีน อย่างเช่น กลุ่มผู้สูงวัยหรือกลุ่มผู้ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมชุดเพาะเลี้ยงไข่น้ำในระบบปิด ซึ่งขณะนี้สามารถสร้างโรงเรือนอยู่ระหว่างการทดลองเพาะเลี้ยงไข่น้ำ และขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ พร้อมเมื่อการวิจัยแล้วเสร็จกลุ่มนักวิจัยมีแผนที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไข่น้ำสู่ชุมชนบ้านโพนสูง จ.นครราชสีมา และขยายผลต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต สกสว. ขับเคลื่อน Bio Economy ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย BCG Model ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ โดยการขับเคลื่อน BCG Model ซึ่งการสนับสนุน  โครงการ “นวัตกรรมผลิตไข่น้ำระบบปิดแบบแม่นยำและการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนสูงระดับชุมชน” ถือเป็นการร่วมสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เป็นการต่อยอดพัฒนาชีวภาพนำไปสู่การขับเคลื่อนพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม สกสว. ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดเป็นแผนงานสำคัญ (Flagship) ประจำปีงบประมาณ 2563  ประเด็น BCG in Action (กากรขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภำพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อกำรพัฒนำที่ยั่งยืน) เป็นการวางรากฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดย สกสว. จะจัดสรรงบประมาณผ่านไปยังหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU: Program Management Unit) ก่อนจะส่งงบประมาณให้กับนักวิจัยใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป

“ม.ศรีปทุม” จัดปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา รุ่นที่ 35 “เตรียมพร้อมอย่างมืออาชีพสู่โลกการทำงาน” คึกคัก!

ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดให้มีพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา รุ่นที่ 35 (2/2562) ประจำปีการศึกษา 2562 ณ ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม ชั้น 5 อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน)  ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมในพิธีฯกว่า 1,600 คน ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา รุ่นที่ 35 (ภาค 2/2562) เพื่อเตรียมพร้อมอย่างมืออาชีพให้แก่นักศึกษา ก่อนออกไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษายังสถานประกอบการ ชั้นนำต่างๆ เป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร โชติพฤกษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ…

DPU เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่2563 หลักสูตรการโรงแรม (ภาคพิเศษ)

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รับสมัครนักศึกษาใหม่ 2563 หลักสูตรการโรงแรม (ภาคพิเศษ) เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ ระยะเวลา 2 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่จบ ปวส. ด้านการโรงแรม หรือผู้ที่ทำงานด้านการโรงแรมและการบริการที่ต้องการเพิ่มคุณวุฒิ มุ่งการเรียนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้จากวิชาที่น่าสนใจ พร้อมการอบรม OPERA PMS และ การอบรม TOEIC ที่จะทำให้คุณสามารถทำงานด้านการโรงแรมได้อย่างมืออาชีพ พิเศษ!! สมัครภายในเดือนเมษายน 2563 ได้รับทุนการศึกษา 10,000 บาท ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ที่ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สอบถามรายละเอียดโทร. 0-2954-7300 ต่อ 189, 111

นศ. CIBA_มธบ. นำองค์ความรู้พลิกฟื้นชุมชนคลองศาลากุลเกาะเกร็ด สร้างเงิน สร้างรายได้ ชุมชนยั่งยืน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นองค์ความรู้และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ สืบทอดและเชื่อมโยงจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์มาเป็นระยะเวลายาวนาน จะช่วยให้คนในรุ่นถัดไปปรับตัวและอยู่รอดได้ เฉกเช่นชุมชนคลองศาลากุล ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พื้นที่ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งกับชุมชนปากเกร็ด ชาวบ้านในชุมชนประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน เป็นหลัก บางครัวเรือนผลิตสินค้าพื้นถิ่น รวมถึงทำขนมไทยขายเป็นอาชีพเสริม บ้างก็นำสมุนไพรพื้นบ้านมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากชุมชนอีกฟากของเกาะที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการทำเครื่องปั้นดินเผา เดิมสินค้าที่ผลิตขึ้นในชุมชนคลองศาลากุลจะขายให้นักท่องเที่ยวเป็นหลัก ในพื้นที่วัดปรมัยยิกาวาส แต่ปัจจุบันไม่สามารถไปวางสินค้าขายได้ดังเดิม เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ เมื่อช่องทางขายสินค้าในเกาะถูกตัดขาด ชาวบ้านจึงรวมตัวกันตั้งวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ของกลุ่มถูกคิดค้นมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อาทิ ชาสมุนไพรหน่อกะลา ชาสมุนไพรรางแดง เป็นต้น นอกจากนี้ชาวบ้านยังช่วยกันหาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า…

สกสว. เผยโรดแมพวิจัย พร้อมลุยภัยแล้ง’63

จากสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 ที่มีการรายงานว่า ในปีนี้ระดับน้ำจากเขื่อนใหญ่เล็กของประเทศไทยในช่วงฤดูร้อนไปถึงต้นฤดูฝน จะเข้าสู่สถานการณ์ขาดแคลนน้ำ คาดว่ามีจังหวัดได้รับผลกระทบ 43 จังหวัด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง โดยล่าสุดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 16 จังหวัด ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งขึ้น  เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ในส่วนภาควิจัยของประเทศ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยข้อมูลว่า ทุนวิจัยประเด็น “บริหารจัดการน้ำ” เป็นหนึ่งในแผนงานวิจัยสำคัญ “แฟลกชิฟ”  ปี 2563  ของประเทศ ตามแผนจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ …