อักษรศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ แต่งต่างกันหรือไม่ จบไปทำงานอะไร

อักษรศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเข้าใจว่า เรียนคณะไหนก็ได้ คงเกี่ยวกับภาษาเหมือนกันหมด ไม่มีอะไรที่แตกต่างกันในส่วนอื่น พี่ Eduzones ขอบอกเลยว่าน้องกำลังเข้าใจผิดอยู่นิด ๆ หน่อย ๆ นะครับ เรียนภาษาเหมือนกันก็จริง แต่รายละเอียดการเรียนการสอนและจุดเด่นนั้นมีส่วนที่แตกต่างกันออกไป อธิบายแบบคร่าว ๆ เข้าใจง่ายเลยก็คือ คณะอักษรศาสตร์ จะเด่นที่ด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ จะเด่นที่ภาษาและวัฒนธรรมของมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ และคณะศิลปศาสตร์ จะเด่นที่การผสมผสานศิลปะวิทยาการต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และที่สำคัญสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตร คณะอักษรศาสตร์  ในประเทศไทย มีอยู่เพียงแค่ 2 ที่ นั้นก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยศิลปากร เท่านั้น ถึงจะเรียนด้านภาษาเหมือนกัน แต่สิ่งที่เรียนนั้นไม่เหมือนกันเลยซะทีเดียว ศึกษาจุดเด่นคณะที่ชอบ เพื่อเป็นคณะที่ใช่ในการเรียนมหาลัยกันนะครับ

1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ , สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส , สาขาวิชาภาษาไทย , สาขาภาษาญี่ปุ่น , สาขาวิชาภาษาเยอรมัน , สาขาวิชาภาษารัสเซีย , สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมจีน

จะเรียนเกี่ยวกับการใช้ภาษาต่าง ๆ ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษา และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้นักศึกษามีความสามารถนำความรู้ทางภาษา เทคนิควิชาชีพ และการจัดการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

เมื่อจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง ?

สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา และความเข้าใจด้านวัฒนธรรมได้หลากหลายประเภท ดังนี้

  1. สายวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย
  2. สายบริการ เช่น มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ
  3. สายงานธุรกิจ เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้แทนฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานฝ่ายต่างประเทศ พนักงานต้อนรับอาคันตุกะต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เจ้าหน้าที่แปลเอกสาร เจ้าหน้าที่การศึกษา เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

 

  1. สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

จะเรียนเกี่ยวกับความคิดหรือแนวคิด การตีความและการให้ความหมายของสิ่งต่าง ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางความคิดและหลักการต่าง ๆ ได้คิดวิเคราะห์ หาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตนเองที่มีต่อสิ่งนั้น เนื้อหารายวิชาค่อนข้างเป็นนามธรรม ให้ได้คิด วิเคราะห์ ฝึกตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเอง

 

เมื่อจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง ?

ด้วยเพราะสาขานี้ค่อนข้างเปิดกว้างทางความคิด สายงานจึงกว้างมาก ๆ ตามความคิดที่เรามีต่องานจะทำนั้น ๆ สามารถไปได้หลายทาง เช่น รับราชการ พนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล นักสื่อสารมวลชน นักเขียน นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ พนักงานฝ่ายบริหารจัดการ พนักงานขายและการตลาด พนักงานฝ่ายบริการ อาชีพอิสระ เป็นต้น

 

  1. สาขาวิชาจิตวิทยา

จะเรียนเกี่ยวกับจิตใจ พฤติกรรม ความรู้สึก ศึกษาพฤติกรรมของอีกฝ่าย โดยจะต้องเรียนรู้ที่จะสังเกต เพื่อค้นหาสาเหตุและทำความเข้าใจกับลักษณะธรรมชาติในบริบทต่าง ๆ ของมนุษย์ อีกทั้งยังเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เน้นไปที่ ชีววิทยา อีกด้วย

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

  1. นักจิตวิทยา ปฏิบัติหน้าที่ด้านการให้คำปรึกษา ดูแล ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพจิต
  2. นักจิตวิทยา ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานต่างๆ
  3. อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยาในการปฏิบัติงานด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และด้านสวัสดิการสังคม

 

  1. สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

จะเรียนเกี่ยวกับการจัดหาและจัดการข้อมูล สารสนเทศหรือทรัพยากรสารสนเทศจากหลายประเภท เช่น หนังสือ วารสาร สื่อดิจิทัล ฯลฯ นำมารวบรวมและจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบในห้องสมุด รวมถึงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความข้องเกี่ยวกับห้องสมุดนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีมากยิ่งขึ้น

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

หลักสูตรนี้ได้ถูกพัฒนาไว้เพื่อให้บัณฑิตได้ประกอบอาชีพในหน่วยงานสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร สามารถทำงานเป็น ครู อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักวิชาการสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ นักจดหมายเหตุ อาชีพอิสระ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกเชน เช่น สำนักพิมพ์ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดคณะ/มหาวิทยาลัย ศูนย์ข่าว ศูนย์วิวัย กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ หรือหากมีความรู้ทางด้านไอที สามารจะเป็นนักวิเคราะห์หรือนักพัฒนาเว็บไซต์ก็ได้เช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *