อยากเรียนต่ออินเตอร์ ต้องเตรียมตัว(สอบ)อะไรบ้าง?
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการทำงาน หรือเรียนต่อในอนาคตจึงทำให้ หลักสูตรการเรียนการสอนในโปรแกรมภาษาอังกฤษ หรือที่เราเรียกกันว่า “ภาคอินเตอร์” นั้นเป็นหลักสูตรที่ได้รับความสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งการจะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ก็จะมีความแตกต่างกับการเข้าเรียนในหลักสูตรปกติ วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวสำหรับคนที่อยากเรียนต่อในภาคอินเตอร์มาฝากกันค่ะ
เลือกและศึกษาข้อมูลหลักสูตรภาคอินเตอร์ที่เราสนใจ
เมื่ออยากเข้าเรียนในหลักสูตรอินเตอร์เริ่มแรกต้องถามตัวเองก่อนว่าเราอยากหรือสนใจจะเรียนต่อในคณะใด จากนั้นก็ศึกษาหาข้อมูล ของแต่ละหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่ตนเองสนใจ เพราะแต่ละที่ก็มีเกณฑ์ในการรับนักศึกษาที่แตกต่างกันไป อาจจะมีวิชาเฉพาะที่ต้องสอบเพิ่มเติม หรือต้องมี portfolio ที่เน้นไปในด้านต่างๆ เฉพาะทาง ที่เราควรศึกษาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวได้ทันเวลา
คุณสมบัติของผู้ที่อยากเรียนภาคอินเตอร์
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในภาคอินเตอร์ แน่นอนว่าแต่ละสาขาก็จะมีเกณฑ์การรับนักศึกษาในภาคอินเตอร์ที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดคุณสมบัติที่ต้องการไว้ 3 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย
เป็นนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายโดยจะใช้ผลคะแนนเฉลี่ยรวมของระดับม.ปลาย ซึ่งหากวันที่เปิดรับสมัครผลคะแนนเทอมสุดท้ายยังไม่เรียบร้อย ให้ใช้ผลคะแนนเฉลี่ยใน 5 เทอมการศึกษายื่นไปก่อน
- สำเร็จการศึกษาเทียบเท่าระดับมัธยมปลาย
นอกจากน้องๆ ที่จบในระดับชั้นมัธยมปลายแล้ว นักเรียนที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศหรือมีเหตุผลอื่นที่ทำให้ไม่สามารถมีคะแนนเฉลี่ยระดับมัธยมปลายได้ ก็สามารถใช้ผลสอบอื่นๆ ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการยอมรับว่าเทียบเท่าได้ เช่น
-IGCSE
-A-Level
-AS
-GED
-IB Diploma
คะแนนสอบภาษาอังกฤษ
นอกจากผลการเรียนในระดับมัธยมปลายแล้ว ขึ้นชื่อว่าเป็นหลักสูตรอินเตอร์ ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ดังนั้นในทุกหลักสูตรจะมีการกำหนดไว้อยู่แล้วว่าต้องการเรียกคะแนนภาษาอังกฤษขั้นต่ำเท่าไหร่ และต้องการใช้คะแนนของสถาบันทดสอบทางภาษาแห่งใด โดยสถาบันหลักๆ ที่จะมีการทดสอบภาษาอังกฤษ จะมี
-TOEFL
-IELTS
-CU-TEP
-TU-GET
คะแนนสอบวิชาพื้นฐานหรือวิชาเฉพาะ
นอกจากคะแนนภาษาอังกฤษแล้ว อีกหลายๆ หลักสูตรจะต้องการผลคะแนนในวิชาพื้นฐานเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งจำเป็นต้องตรวจสอบกันให้ดีว่าคณะที่จะยื่นคะแนนนั้น ต้องการคะแนนอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างเช่น คะแนนกลุ่มคณิตศาสตร์ โดยส่วนมากแล้วหากเป็นคะแนนคณิตศาสตร์ก็จะเรียกเป็นคะแนนในกลุ่ม
-SAT
-CU-AAT
หรือในบางหลักสูตร บางคณะก็จะมีการจัดสอบสอบวิชาเฉพาะแยกออกมาเช่น
ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
วิชาวาดเส้น Drawing (คณะทางศิลปกรรม) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วในปี 2563 สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษาต่อในภาคอินเตอร์ ยังมีข้อสอบรูปแบบใหม่ที่สามารถใช้ยื่นเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรอินเตอร์ แทนข้อสอบ SAT ได้ นั่นคือ GSAT (General Scholastic Aptitude Test) ซึ่งเป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการ เป็นการข้อสอบวิชาการเขียน-อ่านภาษาอังกฤษ) และข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ โดยสามารถยื่นกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 12 แห่งของไทยได้ โดยหากน้องๆ คนไหนสนใจการสอบในรูปใหม่นี้ก็สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>>
ขอบคุณข้อมูลจาก
: https://www.alleduguide.com/universities-2/how-to-admission-to-international-curriculum/