เช็กก่อนเลือก…คณะไหนที่จบแล้ว ต้องมีใบประกอบวิชาชีพในการทำงาน?
ในการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นแต่ละคณะก็จะมีรายละเอียดของหลักสูตรในการระหว่างเรียนและหลังเรียนจบที่ต่างกัน แค่การเรียนจบตามเกณฑ์อาจจะยังไม่ถึงเส้นชัยในวิชาชีพที่เราใฝ่ฝัน เพราะในบางคณะ/สาขาที่เมื่อจบมาแล้วจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพในการทำงานด้วย ดังนั้นวันนี้เราจึงมีรายชื่อคณะที่เมื่อเรียนจบแล้วต้องมีใบประกอบวิชาชีพในการทำงานมาฝากน้องๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก่อนจะเรียนเส้นทางสู่รั้วมหาวิทยาลัยค่ะ
คณะและสาขาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- คณะแพทยศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
อาชีพ : แพทย์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
อาชีพ : สัตวแพทย์
- คณะทันตแพทยศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
อาชีพ : ทันตแพทย์
- คณะเภสัชศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
อาชีพ : เภสัชกร
- คณะพยาบาลศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
อาชีพ : พยาบาล
- คณะเทคนิคการแพทย์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
อาชีพ : นักเทคนิคการแพทย์
- สาขาการแพทย์แผนจีน
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรการแพทย์แผนจีน
อาชีพ : แพทย์แผนจีน
- คณะการแพทย์แผนไทย
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
อาชีพ : นักการแพทย์แผนไทย, ทำงานเกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือก, ธุรกิจแพทย์แผนไทย เป็นต้น
- สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
อาชีพ : แพทย์แผนไทยประยุกต์
- สาขารังสีเทคนิค
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบสาขาวิชารังสีเทคนิค
อาชีพ : นักรังสีเทคนิค
- คณะกายภาพบำบัด
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขากายภาพบำบัด
อาชีพ : นักกายภาพบำบัด
- สาขากิจกรรมบำบัด
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : สอบเฉพาะผู้ที่จบสาขากิจกรรมบำบัด
อาชีพ : นักกิจกรรมบำบัด ในหน่วยงานการแพทย์และสาธารณสุข
- คณะทัศนมาตรศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้มีสิทธิสอบ : จบสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์
อาชีพ : นักทัศนมาตร
- สาขาจิตวิทยาคลินิก
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้มีสิทธิสอบ : จบสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
อาชีพ : นักจิตวิทยา
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบสาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
อาชีพ : สถาปนิก อินทีเรีย ดีไซน์ เป็นต้น
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (เฉพาะบางอาชีพเท่านั้นที่ต้องสอบ)
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ตามสาขาวิชาที่มีสิทธิสอบ
อาชีพ : วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
อาชีพ : วิศวกรในสาขาต่าง ๆ

คณะ/สาขาสายสังคมศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์/คณะครุศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบประกอบวิชาชีพครู
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : หลักสูตร 4 ปีต้องสอบ แต่หลักสูตร 5 ปีไม่ต้องสอบ
อาชีพ : ครู อาจารย์
- สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : 1. นิวเคลียร์ 2. ควบคุมมลพิษ 3. การเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อโรค 4. สารเคมีอันตราย
อาชีพ: นักวิทยาศาสตร์ อาชีพเฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบัญชี
ผู้ที่มีสิทธิ์สอบ : จบสาขาวิชาการบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี
อาชีพ : นักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี
- คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบตรงสายสอบได้เลย กรณีจบคณะ/สาขาวิชาอื่นต้องผ่านการอบรบก่อน
อาชีพ : นักสังคมสงเคราะห์
- คณะนิติศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ (จะเป็นทนายความได้ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพนี้) ส่วนเนติบัณฑิต เป็นการสอบเพื่อสามารถที่จะเป็น ผู้พิพากษาหรืออัยการต่อไปได้
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
อาชีพ : ทหาร ผู้พิพากษา อัยการ
การเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นอีกก้าวสำคัญในการจะนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้นก่อนที่จะเลือกคณะ/สาขา หรือมหาวิทยาลัยใดเราจึงจำเป็นต้องเช็กข้อมูลและรายละเอียดของหลักสูตรการเรียนนั้นๆ ให้ดีเสียก่อนเพื่อที่จะได้ไม่พลาดในก้าวสำคัญก้าวนี้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
: https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/78651?fbclid=IwAR1UF47e3oNYR1orVrn2ps8GLKEhh_gkSOqHiLMTL8XNMRcJ5nQivOIClOI
ขอบคุณรูปภาพจาก
: https://campus.campus-star.com/
: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/851073