อยากเรียนต่อต่างประเทศ…วางแผนการเงินอย่างไรดี?

สำหรับคนที่ต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศทั้งเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรือไปเทคคอร์สเรียนภาษานั้น จำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมหลายอย่าง โดยเฉพาะปัจจัยหลักๆ อย่างเรื่องของ ทุนทรัพย์ เพราะการไปเรียนต่อที่ต่างประเทศนั้นมีค่าใช้จ่ายในการไปค่อนข้างสูง ทำให้เราจำเป็นต้องวางแผนก่อนการไปเรียนต่อให้ดี โดยเฉพาะคนที่วางแผนจะใช้ทุนของตัวเองในการไปเรียนต่อแต่ยังไม่รู้ว่าควรจะต้องวางแผนการเงินอย่างไรดี วันนี้เราก็มีวิธีการวางแผนการเงินดีๆ มาฝากกันค่ะ

 

 

ก่อนจะเริ่มวางแผนทางการเงินนั้น มี 2 เรื่องที่เราจำเป็นต้องรู้ก่อนการไปเรียนต่างประเทศนั่นก็คือ

 

  1. ช่วงเวลาที่จะไป

เราต้องรู้ว่าเราจะไปเมื่อไหร่ โดยเฉพาะคนที่ตั้งใจจะใช้ทุนของตัวเอง เพราะการกำหนดระยะเวลาจะช่วยให้เรารู้ว่าเรามีเวลาเก็บเงินอีกนานเท่าไหร่ แล้วเมื่อแปลออกมาเป็นวันเป็นเดือนก็จะรู้ว่าแต่ละเดือนเราควรจะต้องเก็บเงินให้ได้เท่าไหร่ หรือสำหรับน้องๆ ที่ยังใช้ทุนของคุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะคำนวณช่วงเวลาที่เหลือให้พวกท่านได้เตรียมตัวเช่นกัน

 

 

  1. งบประมาณที่ต้องใช้

อีกปัจจัยหนึ่งที่ขาดไม่ได้เวลาที่เราจะวางแผนการเงินในการไปเรียนต่อก็คือ งบประมาณทั้งหมดที่ต้องใช้ เมื่อไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ นั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการไปเรียนต่อออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

-ค่าที่พัก เป็นค่าใช้จ่ายหลักที่เราต้อวใช้พิจารณา เพราะค่าที่พักเป็นรายจ่ายที่สูงมากในแต่ละเดือน ไม่เหมือนกับค่าที่พักในไทย ดังนั้นเราจึงต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหอพักที่เราจะเข้าอยู่ให้ละเอียดว่าเราจะเข้าอยู่หอพักแบบไหน ซึ่งหอพักแต่ละแบบก็จะมีเรทราคาที่แกต่างกันไป

-ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งค่าอาหาร การเดินทางก็มีรายจ่ายที่สูงไม่แพ้กัน เมื่อเทียบกับค่าอาหารที่เราจ่ายปกติ ดังนั้นเราจึงต้องประเมินค่าใช้จ่ายตรงนี้ให้ดีด้วย

-ค่าเทอม อีกค่าใช้จ่ายหลักในการไปเรียนต่อนั่นก็คือ ค่าเทอม สำหรับค่าใช้จ่ายตรงนี้ต้องดูว่ามหาวิทยาลัยและคณะที่เราไปเรียนนั้นเรียนกี่ปี ค่าเทอมเฉลี่ยต่อปีประมาณเท่าไหร่ และโดยปกติมีค่าธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจาเหนือจากนี้อีกมั้ย

ส่วนคนที่ตั้งใจจะขอทุนในการไปเรียนต่อก็ให้ศึกษาว่าทุนนั้นๆ ให้มาซัพพอร์ตในส่วนไหนเท่าไหร่บ้าง และนอกเหนือจากนั้นเราจะต้องจ่ายเองอีกมากน้อยแค่ไหน เพราะในแต่ละทุนก็จะมีรายละเอียดและมูลค่าของทุน รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่แตกต่างกัน

 

และนอกจากค่าใช้จ่ายระหว่างไปเรียนต่อแล้วเราก็ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในระหว่างดำเนินการก่อนไปเรียนต่อด้วย ตั้งแต่ทำวีซ่า ค่าสมัครสอบ ค่าหนังสือเรียนหรือเตรียมสอบต่างๆ ที่ดูเป็นค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรต้องคิดคำนวณออกมาทั้งหมด เพราะส่วนนี้ก็อยู่ในงบประมาณที่เราต้องใช้จ่ายในการไปเรียนต่อด้วยเช่นกัน

 

 

และเมื่อเราวางแผนในการไปเรียนต่อแล้ว มีงบประมาณที่เตรียมไว้สำหรับการไปเรียนต่อแล้ว ลำดับต่อมาก็คือเมื่อเราไปเรียนต่อเราก็จำเป็นต้องมีการวางแผนและวิธีการใช้เงินที่มีอยู่ในระหว่างที่เรียนต่อด้วย เพื่อให้การเรียนและการใช้ชีวิตในระหว่างที่เราไปเรียนต่อนั้นผ่านไปได้ด้วยดี ด้วยวิธีจัดการการเงิน ดังนี้

-เปิดบัญชีธนาคารของประเทศที่ไปเรียนต่อ

เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมธนาคารต่างประเทศ นอกจากนี้เนื่องจากค่าธรรมเนียมและสิทธิประโยชน์ของธนาคารต่างๆ นั้นแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอ่านเอกสารทั้งหมดให้ดีเพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าตัวเองจะได้ตัวเลือกที่เชื่อถือได้และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปในการรับส่งเงินข้ามประเทศ

 

บริหารการเงินให้ดี

การไปเรียนและใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ เราควรพยายามเก็บเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากการศึกษาต่อต่างประเทศนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจะต้องบริหารการเงินให้ดี ว่าจะใช้เงินแต่ละวันประมาณเท่าไหร่ ใช้อะไรบ้าง และจะเซฟค่าใช้จ่ายส่วนไหนได้บ้างเพื่อไม่ให้เกินงบประมาณที่เราตั้งไว้

 

-ทำอาหารทานเอง

ทำอาหารเองที่บ้านเป็นเรื่องง่ายๆ ที่จะช่วยประหยัดเงินได้ดีอีกทางหนึ่ง โดยแทนที่จะใช้เงินไปกับการทานข้าวนอกบ้าน เราสามารถไปซุปเปอร์เพื่อจับจ่ายข้าวของจำเป็นในแต่ละอาทิตย์มาทำอาหารทานเอง  วิธีนี้อาจตัดค่าอาหารการกินได้มากถึง 30-50% เลยทีเดียว ทำให้มีเงินเหลือพอจะใช้กับเรื่องที่จำเป็นอย่างอื่นต่อไป

 

ใช้ประโยชน์จากการเป็นนักเรียน

บัตรนักเรียนจะทำให้เราได้รับส่วนลดตั้งแต่การเดินทาง รวมไปถึงร้านอาหาร ร้านค้า ตั๋วชมภาพยนตร์ต่างๆ ซึ่งส่วนลดค่าเดินทางต่างๆ เหล่านี้จะช่วยประหยัดได้ถึงหลายร้อยดอลล่าร์ต่อปีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อมอบบัตรส่วนลดให้กับนักเรียนนักศึกษาที่จะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกด้วย

 

-เลือกทำกิจกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

ในการไปเรียนต่อต่างประเทศสิ่งที่เราต้องกอบโกยนอกจากการเรียนนั่นก็คือประสบการณ์ในการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น แต่การทำกิจกรรมต่างๆ นั้นเราก็ควรเลือกกิจกรรมที่ไม่ใช้เงินมากเกินไป เช่นการไปชมบ้านเมือง พิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการต่างๆ ที่มีค่าใช้จ่ายไม่มากและยังมีส่วนลดสำหรับการเป็นนักศึกษาในการลดได้อีกด้วย

 

 

การไปเรียนต่อต่างประเทศไปอยู่ในที่ๆ เราไม่คุ้นเคยและไม่รู้จักใคร การขอความช่วยเหลือจากคนอื่นโดยเฉพาะเรื่องการเงินนั้นเป็นเรื่องยาก ดังนั้นก่อนการไปเรียนและระหว่างที่เรียนเราจึงจำเป็นต้องวางแผนการเงินอยู่เสมอเพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ระหว่างการเรียนได้อย่างมั่นคงนั่นเอง และสำหรับใครที่ยังไม่พร้อมเรื่องทุนทรัพย์แล้วอยากขอทุนการศึกษาในการที่จะช่วยแบ่บงเบางบประมาณที่เราต้องออกเองไป แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ก็สามารถเข้าไปติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการขอทุนการศึกษาได้ที่ >>> 9 คำแนะนำ สำหรับการหาทุนเรียนต่อต่างประเทศ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: https://www.idp.com/thailand/preparing-to-go/managing-money/

: https://www.moneybuffalo.in.th

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.mac69.com/material/373868.html

: http://www.ox.ac.uk/news/2014-05-16-research-proves-how-much-we-distrust-people-who-are-mean-money

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *