SOP คืออะไร? สำคัญอย่างไรสำหรับการเรียนต่อต่างประเทศ?

  ในการสมัครเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น มีหลายสิ่งที่เราต้องคำนึง ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่สำคัญและมีผลต่อการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยต่างๆ นั่นก็คือ การเขียน SOP (Statement of Purpose) ที่มีส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการพิจารณารับเข้าเรียนต่อของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งการเขียน SOP นี้ก็ยังเป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่เข้าใจและไม่รู้จะเขียนออกมาอย่างไรดี วันนี้เราจึงมีข้อมูลและเทคนิคการเขียน SOP สำหรับยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมาฝากกันค่ะ     ทำความรู้จักกับ SOP Statement of Purpose หรือ SOP คือการเขียนเรียงความเพื่อเป็นการแนะนำตัวเราให้ทางมหาวิทยาลัยรู้จักมากขึ้น เป็นเหมือนการแนะนำตัวที่จะสร้าง First Impression ที่ดีและน่าสนใจให้กับทางมหาวิทยาลัย ซึ่ง…

อยากเรียนต่อป.โทต่างประเทศต้องไม่พลาด…5 ประเทศน่าไปเรียนต่อระดับป.โท ปี 2020

  สำหรับคนที่สนใจไปเรียนในระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศ ทั้งการไปเรียนในสาขาวิชาต่างๆ หรือการไปเพื่อฝึกภาษา ก็อาจยังมีความลังเลว่าจะไปเรียนต่อที่ประเทศไหนดี ถึงจะไปทั้งเรียนป.โท พร้อมกับการฝึกภาษไปด้วยอย่างคุ้มค่า วันนี้เราจึงมี 5 ประเทศที่น่าไปเรียนต่อเพื่อการเรียนปริญญาโทพร้อมกับการฝึกภาษาไปด้วยมาฝากกันค่ะ       สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์นอกจากจะอยู่ใกล้ประเทศไทยแล้ว ยังมีคุณภาพการศึกษาที่ดีติดอันดับโลกอีกด้วยวัดได้จากการดูตัวชี้วัดด้านการศึกษา PISA (Program for International Student Assessment) ที่ประเทศสิงค์โปรได้คะแนนเป็นอันดับ 1 แซงหน้าทั้งฟินแลนด์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง นอกจากนี้มหาลัย National University of Singapore…

10 เคล็ดลับช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียน

แม้ในการเรียนให้ประสบความสำเร็จจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ สำหรับทุกคนแต่หากเรามีความตั้งใจ มีวินัย รวมไปถึงเคล็ดลับดีๆ ในการเรียนก็อาจช่วยให้เราสามารถทำตามที่หวังไว้ให้ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน วันนี้เราจึงมี 10 เคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้การเรียนของเราประสบความสำเร็จหาฝากกันค่ะ         ตั้งเป้าหมายในการเรียน การตั้งเป้าหมายเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ กับการเรียนก็เช่นเดียวกัน ก่อนอื่นเลยเราต้องลองตั้งเป้าหมายสำหรับการเรียนของเราเสียก่อน ว่าเราเรียนไปเพื่ออะไร และเราต้องทำอย่างไรถึงจะประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้ เมื่อตั้งเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การลงมือทำและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายนั้นๆ   วางแผนการเรียน เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่า และคงจะไม่ดีนักถ้าเราเป็นคนที่มาเร่งตั้งใจเรียน หรือตั้งใจอ่านหนังสือแค่ในช่วงก่อนสอบ เพราะนั่นอาจจะช้าเกินไปเสียแล้ว ดังนั้นในการเรียน เราจึงจำเป็นต้องวางแผนให้กับการเรียนของตัวเอง เพราะมันจะทำให้เราสามารถจัดระเบียบตัวเองได้…

จุฬาฯ พร้อมแล้วกับการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ รองรับสถานการณ์ COVID-19

  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรวดเร็วและมีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ปรับการเรียนการสอนทุกรายวิชาให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่ 16 มีนาคม เป็นต้นมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 และลดความเสี่ยงของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ ในการสัมผัสโรคโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจากการทดสอบระบบการเรียนการสอนออนไลน์แล้วพบว่า แม้ระบบจะมีติดขัดบ้าง แต่ก็สามารถทำการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างราบรื่น  สนุกสนานทั้งผู้เรียนและผู้สอน ถือเป็นก้าวสำคัญในการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ Digital Transformation ด้านการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ รศ.ดร.กุณฑินี มณีรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ            ได้ซักซ้อมการใช้ Zoom ทำงานกลุ่มย่อยในวิชา “ท่องโลก” ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป  นิสิตที่เรียนเป็นนิสิตปี…

นักวิจัย เจ๋ง คิดค้นเครื่องอัดแผ่นวัสดุชีวภาพ ราคาถูกสำหรับชุมชน

          “ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกะทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนชุมชน ใช้งานได้ง่าย โดยแผ่นอัดที่ได้จากเครื่องนี้มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก. เหมือนกับแผ่นไม้อัดทั่วไป ที่สำคัญราคาถูกกว่าท้องตลาด” ดร.ประชุม คำพุฒ นักวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา เครื่องอัดแผ่นวัสดุชีวภาพต้นทุนต่ำ เล่าถึงข้อดีของเครื่องอัดแผ่นวัสดุชีวภาพต้นทุนต่ำ โดยเป็นผลงานร่วมระหว่างอาจารย์และนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ประกอบด้วย นายธนะชัย เดชสิมา นายอมรฤทธิ์ บุญเรือง นายพงศธร  ยิ้มเจริญ นายปฏิภาณ พิทักษ์พงศ์ นายธีรภัทร์ การกลจักร และนายณัฐพงศ์ เหล้าผอม           โดย ดร.ประชุม…

สวนสุนันทากันโควิด-19เข้มข้น ระดมเทคโนโลยีทันสมัยรับมือ ยันนักศึกษา-บุคลากรต้องปลอดภัยเต็มที่

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เรื่อง แนวทางในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๓) ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ และตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ ๓)…

รู้จักกลยุทธ์การสอนแบบ “เรกจิโอ” เพราะเด็กไม่ใช่แก้วเปล่าแต่คือผู้กำหนดการเรียนรู้

ปัจจุบันการเรียนการสอนแบบที่ให้เด็กเป็นศูนย์การของการเรียนรู้มากกว่าเป็นผู้ที่คอยรับความรู้จากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว คือวิธีการเรียนการสอนที่ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในวิธีการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะไม่ได้ให้เด็กเป็นผู้รับ และเรียนแบบท่องจำ ทำตามแบบที่ครูบอกอีกต่อไป แต่ให้เด็กกลายเป็นศูนย์กลาง ที่ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความต้องการแบบศักยภาพของเด็กเป็นหลัก ซึ่งวิธีการสอนเช่นนี้ก็เป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกับ กลยุทธ์การสอนแบบเรกจิโอ ที่เชื่อว่าเด็กไม่ใช่แก้วเปล่าแต่ทุกคนมีศักยภาพในตนเองที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ วันนี้เราจึงจะพาไปรู้จักกับกลยุทธ์การสอนดังกล่าวกันค่ะ   รูปแบบการสอนแบบเรกจิโอเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ภายในหมู่บ้านวิลลา เซลลา (Villa Cella) ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเรกจิโอ เอมิเลีย ไปประมาณ 2-3 ไมล์  โดยลอริส มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi) นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง ได้รวมกลุ่มผู้ปกครอง…

เปิดใจรุ่นพี่ 4 ชั้นปี… ชีวิตนักศึกษาเป็นอย่างไรในรั้ว “วิทย์ มธ.

ชีวิต 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนในชีวิตให้น้อง ๆ ได้เข้าไปเก็บเกี่ยวช่วงเวลาอันมีค่า ทั้งความรู้และประสบการณ์ รวมถึงยังเป็นตัวกำหนดเส้นทางการทำงานในอนาคต ดังนั้น ในวันนี้ รุ่นพี่ทั้ง 4 ชั้นปี จาก “SCI-TU” หรือ “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)” จึงขอแวะมาแชร์ประสบการณ์ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตวัยนักศึกษา ในรั้ว SCI-TU แต่จะมีเรื่องราวสนุก ๆ หรือความประทับใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้ “ถ้าชอบในวิทยาศาสตร์ และต้องการมีอิสระทางความคิด ต้อง คณะวิทย์ มธ.” นายรุ่งวิกรัย เลิศสุวรรณ์ (ตูน) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. (SCI-TU) นักศึกษาทุนกล้ายูงทอง ดีกรีนักกีฬาฟันดาบ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองของมหาวิทยาลัย เล่าว่า เมื่อก้าวเข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัยครั้งแรกเหมือนเรามาเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือกิจกรรม อย่างผมเป็นนักกีฬาฟันดาบของมหาวิทยาลัยก็จะมีการซ้อมหลังเลิกเรียน ในช่วงที่ต้องหยุดเรียนไปแข่ง…

6 มาตรการอว. สู้ศึก COVID-19

เมื่อวานนี้ (อาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 63) ผมร่วมประชุมด่วนกับผู้บริหารกระทรวง อว. เพื่อเตรียมมาตรการรับมือภาวะวิกฤต โรคโควิด-19 โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันถึงมาตรการ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้ครับ 1. กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับสุขภาพและสวัสดิภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ และขอให้มหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย แล้วปรับไปสู่การเรียนออนไลน์ทั้งหมด ภายในวันที่ 1 เมษายน 2563 2. ให้บุคลากรในกระทรวง อว. สามารถทำงานจากที่บ้านได้ (Work at Home) โดยพิจารณาให้ไม่มีผลกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชน 3.…

รู้จักอาชีพ “นักบริหารความสัมพันธ์”อาชีพมาแรงแห่งโลกอนาคต

  ในปัจจุบันด้วยการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ทำให้สังคมและการใช้ชีวิต รวมถึงการประกอบอาชีพก็เปลี่ยนไป ดังที่เราจะเห็นได้ว่ามีการคาดการณ์กันว่าในยุคนี้และอนาคตต่อไปจะมีอาชีพไหนที่หายไปบ้าง ซึ่งนอกจากการคาดการณ์อาชีพที่จะหายไปแล้วยังมีคาดการณ์อาชีพที่กำลังจะมาแรงในอนาคตอีกด้วย โดยจากการคาดการณ์ในอนาคตข้างหน้านั้นมีหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจและถูกจัดอันดับไว้ว่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดนั่นก็คือ อาชีพ “นักบริหารความสัมพันธ์” นั่นเอง วันนี้เราจึงมีข้อมูลสำหรับคนที่อาจจะสนใจอยากจะประกอบอาชีพนี้มาฝากกันค่ะ อาชีพ “นักรักษาความสัมพันธ์” จะต้องคอยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายตัวเองกับอีกฝ่าย ให้เป็นมิตรที่ดีต่อกันไปเรื่อยๆ รวมถึงคอยดูแลเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ไม่ให้ขัดแย้งกัน ซึ่งนักบริหารความสัมพันธ์นั้น สามารถมีได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่นักบริหารความสัมพันธ์องค์กร ไปจนถึงบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ   สำหรับหน้าที่ของนักบริหารความสัมพันธ์นั้น นอกจากการติดต่อประสานงานกันตามหน้าที่หลักของบริษัทแล้ว (core job) การบริหาร รักษาความสัมพันธ์ รวมถึงแก้ไขความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของทั้งสองบริษัท ก็เป็นอีกหนึ่งงานสำคัญที่จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างระยะยาวระหว่างสองบริษัท ที่จะส่งผลดีต่อการเจรจา และการทำธุรกิจร่วมกันในระยะยาว…