เคลียร์ทุกเรื่อง ที่มา/วิธีการคัดเลือก/วิธีการจัดอันดับ/อะไรคือปัจจัยเสี่ยง Admission 2563
แอดมิชชัน ถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆอีกเรื่องหนึ่งในชีวิตของน้องๆ ม.6 ในทุกๆปีนะครับ เพราะถือว่าเป็นสะพานในการพาน้องๆไปสู่ความฝันหรือเป้าหมายที่ต้องการหลังจากฝ่าฝันสอบมาอย่างดุเดือดตลอดปีการศึกษาของ ม.6 ซึ่งแน่นอนว่าน้องๆแต่ละคนก็ต้องการความกระจ่างและความมั่นใจมากที่สุดก่อนที่จะทำการเลือกคณะ ซึ่งก็มีหลากหลายคำถามเข้ามาที่พี่แฮนด์มากมายทั้งวิธีการการเลือก แนวโน้มแต่ละคณะ และคำถามอื่นๆ พี่แฮนด์จึงเขียนบทความเพื่อไขข้อสงสัยในหลายเรื่องสำหรับแอดมิชชัน
แอดมิชชัน หรือน้องๆอาจจะเรียกว่าแอดกลาง ก็คือการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (Central University Admissions System – CUAS ) จัดการคัดเลือกโดย ทปอ. นำมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2549 แทนการคัดเลือกแบบเอนทรานซ์นั่นเอง ซึ่งจุดประสงค์หลักที่นำระบบแอดมิชชันมาใช้แทนระบบเก่าอย่างเอนทรานซ์ก็เพราะว่า การเอนทรานซ์ จะเน้นในการสอบเพียงอย่างเดียว ทำให้เด็กๆทิ้งการเรียนในห้องเรียน ไปมุ่งมั่นติวกันเพียงอย่างเดียว แต่การแอดมิชชันจะมีการนำเกรดเฉลี่ยในโรงเรียนมาใช้ด้วย ทำให้เด็กๆต้องสนใจวิชาในห้องเรียนไม่สามารถทิ้งได้(แต่สุดท้ายเด็กไทยก็ยังติวกันเหมือนเดิมนะครับ อิๆ)
แอดมิชชันจะมีคะแนนรวมทั้ง 30,000 คะแนน จากองค์ประกอบ4ตัว ดังต่อไปนี้
1.GPAX คือเกรดเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียน ตลอดหลักสูตรมัธยมปลาย ม.4-ม.6 ของนักเรียน โดย GPAX ใช้เป็นสัดส่วนในแอดมิชชัน 20% หรือ6,000คะแนนทุกคณะ
2. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการสอบพร้อมทั้งหมดของเด็ก ม.6 ทั่วประเทศ จะมีการสอบทั้งหมด 5 วิชาได้แก่ คณิตศาสตร์,ภาษาอังกฤษ,ภาษาไทย,สังคม.วิทยาศาสตร์ โดย O-NET ใช้เป็นสัดส่วนในแอดมิชชัน 30% หรือ9,000คะแนนทุกคณะ
3. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือการสอบความถนัดทั่วไป คะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบGAT ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ GAT ไทย ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และ GAT ภาษาอังกฤษ อย่างละ 150 คะแนน โดย GAT ใช้เป็นสัดส่วนในแอดมิชชัน 10-50% หรือ3,000-15,000คะแนนแล้วแต่คณะ
4. PAT (Professional Aptitude Test) หรือการสอบความถนัดทางวิชาชีพ เป็นข้อสอบที่ยากเพราะเป็นเนื่อหาที่ไม่มีสอนในโรงเรียน โดยจะมรทั้งหมด 7 PAT ด้วยกัน ได้แก่ PAT1 คณิตศาสตร์ PAT2 วิทยาศาสตร์ PAT3 พื้นฐานวิศวกรรม PAT4 พื้นฐานสถาปัตยกรรม PAT5 พื้นฐานความเป็นครู PAT6 ศิลปกรรม และPAT7วิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ โดย PAT ใช้เป็นสัดส่วนในแอดมิชชัน 0-40% หรือ0-12,000คะแนนแล้วแต่คณะ

**จุดสังเกตขององค์ประกอบแต่ละกลุ่มคณะขอให้น้องๆจำง่ายๆว่า GPAX(20%) และ O-NET(30%) มีสัดส่วนคงที่ทุกกลุ่มคณะ แต่ละกลุ่มแตกต่างกันตรง GAT และ PAT เท่านั้น

พี่แฮนด์เอาสถิติตั้งแต่ปี 53 ที่เริ่มใช้ GAT PAT เป็นปีแรก มาให้ดูกันนะครับ
ปี 53 จำนวนผู้สมัคร 98,143 คน มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 70,003 คน หลุดแอดมิชชัน 28,140 คน
ปี 54 จำนวนผู้สมัคร 123,260 คน มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 78,096 คน หลุดแอดมิชชัน 45,164 คน
ปี 55 จำนวนผู้สมัคร 122,169 คน มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 82,102 คน หลุดแอดมิชชัน 40,067 คน
ปี 56 จำนวนผู้สมัคร 113,400 คน มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 83,955 คน หลุดแอดมิชชัน 29,445 คน
ปี 57 จำนวนผู้สมัคร 99,767 คน แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 80,880 คน หลุดแอดมิชชัน 18,887 คน
ปี 58 จำนวนผู้สมัคร 124,648 คน แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 91,813 คน หลุดแอดมิชชัน 32,835 คน
ปี 59 จำนวนผู้สมัคร 105,046 คน แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 85,834 คน หลุดแอดมิชชัน 19,212 คน
ปี 60 จำนวนผู้สมัคร 81,232 คน แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 70,689 คน หลุดแอดมิชชัน 10,543 คน
ปี 61 จำนวนผู้สมัคร 54,782 คน แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 44,476 คน หลุดแอดมิชชัน 10,306 คน
ปี 62 จำนวนผู้สมัคร 122,523 คน แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 52,315 คน หลุดแอดมิชชัน 20,093 คน
เห็นจำนวนสถิติอย่างงี้ก็เพิ่งอย่าไปเครียดอะไรนะครับ เพราะที่จริงแล้วยอดผู้สมัครทุกปีนั้น น้อยกว่ายอดรับตามระเบียบการทุกปี แต่ที่มีคนไม่ติดนั้นก็เพราะว่า ส่วนใหญ่ก็จะไปเลือกคณะเดียวกันซะเยอะ ทำให้มีคนหลุดแอดทุกปี และที่สำคัญจะเห็นเลยว่าจำนวนนั้นลดลงเรื่อยๆทุกปี
ใช้ GPAX ร้อยละ 20 GPAX ให้คิดเทียบคะแนนเต็มเป็น 300 คะแนน
วิธีคิด
1. ให้นํา GPAX คูณกับ 75 เพื่อแปลงค่าผลการเรียนเฉลี่ยเป็นคะแนนเต็ม 300 คะแนน
2. ให้นําคะแนน GPAX ที่แปลงค่าเป็นคะแนนแล้วคูณกับค่าน้ําหนักที่กําหนด จะได้เป็นคะแนน GPAX
ตัวอย่าง ผู้สมัครมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 2.93
วิธีคิด
ขั้นที่ 1 ใ ให้นํา GPAX คูณด้วย 75 จะได้คะแนนดังนี้
คะแนน GPAX (2.93 × 75) = 219.75 คะแนน
ขั้นที่ 2 นําคะแนน GPAX คูณด้วยค่าน้ําหนักที่กําหนดไว้ คือ 20%
คะแนน GPAX (219.75 × 20) = 4,395 คะแนน จากคะแนนเต็ม 6,000 คะแนน
วิธีการคิดคะแนน O-NET
1. ให้นําคะแนนสอบวิชา O-NET แต่ละวิชาของผู้สมัครคูณกับ 3 (กําหนด ให้คะแนนเต็มแต่ละวิชาเท่ากับ 300)
2. นําคะแนนในข้อ 1 คูณกับค่าน้ําหนักที่กําหนด
3. นําคะแนนแต่ละวิชาในข้อ 2 มารวมกันจะได้คะแนนรวมของ O-NET
ตัวอย่าง ผู้มัครมีคะแนน O-NET ดังนี้
วิชา 01 = 63.00, 02 = 75.00, 03 = 71.00, 04 = 81.00
05 = 87.00
ขั้นที่ 1 นําคะแนนแต่ละวิชาของผู้สมัครคูณด้วย 3(ยกเว้นวิชา 06 ไม่ต่องคูณ) ดังนี้
คะแนน O-NET วิชา 01 (63.00 × 3) = 189
วิชา 02 (75.00 × 3) = 225
วิชา 03 (71.00 × 3) = 213
วิชา 04 (81.00 × 3) = 243
วิชา 05 (87.00 × 3) = 261
ขั้นที่ 2 นําคะแนนที่คูณด้วย 3 คูณด้วยค่าน้ําหนัก ดังนี้
คะแนน O-NET วิชา 01 (189 × 6) = 1,134
วิชา 02 (225 × 6) = 1,350
วิชา 03 (213 × 6) = 1,278
วิชา 04 (261 × 6) = 1,458
วิชา 05 (261 × 6) = 1,566
ขั้นที่ 3 นําคะแนน O-NET ที่คูณด้วยค่าน้ําหนักแล้ว มารวมกันดังนี้
คะแนน O-NET (1,134 + 1,350 + 1,278 + 1,458 + 1,566)
คะแนนรวม O-NET = 6,786 คะแนน (จากคะแนน 9,000 คะแนน)
วิธีการคิดคะแนน GAT, PAT
2. นําคะแนนแต่ละวิชาจากข้อ 1 มารวมกันจะได้คะแนนรวมของ GAT และ/ PATตัวอย่าง วิธีการคิดคะแนน GAT และ PAT ของผู้สมัครเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องการเลือกคณะวิศวกรรมศาสตร์ กําหนดให้สอบ O-NET 5 กลุ่มสาระฯ คือ รหัส 01,02,03,04 และ 05 แต่ละวิชาให้ค่าน้ําหนักร้อยละ 6 วิชา GAT (รหัส 85) ให้ค่าน้ําหนักร้อยละ 15 วิชา PAT 2 (รหัส 72) ให้ค่าน้ําหนักร้อยละ 15 วิชา PAT 3 (รหัส 73) ให้ค่าน้ําหนักร้อยละ 20 ผู้สมัครมีคะแนนแต่ละวิชาดังนี้ วิธีคิดขั้นที่ 1 นําคะแนน GAT และ PAT ของผู้สมัครคูณกับค่าน้ําหนัก
คะแนน GAT (265 × 15) = 3,975 คะแนน
คะแนน PAT 2 (210 × 15) = 3,150คะแนน
คะแนน PAT 3 (250 × 20) = 5,000คะแนน
คะแนนรวม GAT และ PAT (3,975 + 3,150 + 5,000) = 12,125 คะแนนการคิดคะแนนรวม
คะแนนรวม = คะแนน GPAX + คะแนน O-NET + คะแนน GAT และ/หรือ คะแนน PAT(นำคะแนนทุกอย่างมาบวกกัน)
นี่ก็คือวิธีการคิดคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือกในระบบแอดมิชชันนะครับ น้องๆคนไหนอยากคิดคะแนนตัวเองก็ลองคิดได้เลยนะครับ แต่อย่าไปคิดบวกเกินให้ตัวเองละ มันไม่ดีเน้อ อิอิ

การยื่นเลือกคณะของแอดมิชชันนั้น ปีนี้จะเลือกกัน หลังจากที่น้องๆม.6 ได้ทราบผลคะแนนทุกตัวที่ใช้เป็นองค์ประกอบแล้ว โดยน้องๆจะสามารถเลือกได้ทั้งหมด 4 อันดับ จะเลือกคณะอะไรมหาวิทยาลัยใดก็ได้ มหาวิทยาลัยเดียวกันก็ได้ โดยจะสมัครทางเว๊บไซท์ http:/mytcas.com/โดยวิธีการคิดเลือกคณะจะเป็นดังนี้1.ระบบจะรวบรวมคะแนนอันดับ1 ของน้องๆ ทุกคนมาเรียงไว้จากมากไปหาน้อย เช่น คณะวิศวะ จุฬา รับ100 คน ระบบก็จะนำคนที่เลือกคณะวิศวะจุฬาทั้งหมดนำคะแนนมาเรียงกัน ใครอยู่อันดับ1-100 ก็คือติดไป *คนที่ไม่เลือกไม่มีสิทธิ์ติดนะครับ*2.ระบบจะเลือกคนที่มีคะแนนมากที่สุด เข้าสู่แต่ละคณะให้ครบตามจำนวนที่รับ คนที่คะแนนไม่ติดคณะใดเลย ถือว่าตกพิจารณาในอันดับแรก ก็จะถูกพิจารณาคะแนนในอันดับที่2 ต่อไป3.เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าคะแนนในอันดับ2 สูงกว่าคนที่ผ่านการพิจารณาในรอบแรก คะแนนใหม่ก็จะนำมาแทรก ดังนั้นคนที่ได้คะแนนต่ำสุดในรอบแรกของแต่ละคณะก็จะตกไปถ้าน้องไม่ติดอันดับ 1 ระบบก็จะนำคะแนนของน้องไปแข่งที่อันดับต่อไป ไม่ติดก็จะนำไปอันดับต่อไปเรื่อยๆ จนถึงอันดับ4 โดยถ้าคะแนนถึงอันดับไหนก็จะติดอันดับนั้นเลย ไม่นำคะแนนไปแข่งในอันดับถัดไปและที่สำคัญ จำไว้เลยว่าคะแนนสำคัญกว่าอันดับ ถึงแม้เราเลือกคณะเดียวกับคู่แข่ง แต่เราอันดับ3 คู่แข่งเค้าเลือกไว้อันดับ 1 ถ้าเราไม่ได้ติดอันดับ 1และ 2 จนมาถึงอันดับ3 ถ้าเราคะแนนมากกว่าก็ไม่ต้องกังวลอะไรครับ เราก็ติดก่อนแน่นอน แม้ว่าเราจะเลือกคณะนี้ไว้เป็นอันดับ3ก็ตาม
** เพราะฉะนั้นอันดับแรกเลยของการเลือกคณะคือเลือกคณะที่เราอยากเรียนมากที่สุด อยากเข้าไปที่สุด ไว้อันดับ1 เท่านั้น!! เรียกว่าเลือกตามความฝันไปเลยครับ ไม่ต้องห่วงคะแนน อะไรใดๆทั้งสิ้น เพราะหากติดคณะที่เราไม่อยากเรียน จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจ
เพราะโอกาสมาจากการเลือก ถ้าเราไม่เลือกก็คือไม่มีโอกาส ถึงแม้บางคนจะมองว่าโอกาสจะน้อยนิด แต่ก็ยังถือว่ามีโอกาส ถ้าไม่เลือกเลยโอกาสคือเท่ากับ 0 ครับ!!
– การเลือกคณะที่เรียงลงมานั้น ต้องเริ่มคำนึงถึงโอกาสสอบติดมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการรองรับกัน ให้น้องๆลองนึกภาพถึงการตกจากที่สูงนะครับ คือตกลงมาแล้ว เบาะชั้น1 รับไม่อยู่ก็ยังมีชั้น2 ชั้น3 ชั้น4 รองรับต่อๆกัน ทำให้ไม่ตกถึงฟื้น(หลุดแอด)
โดยการดูโอกาสสอบติดดูได้จากอะไร ส่วนมากที่น้องๆดูก็จะมีคะแนนขั้นต่ำของปีที่ผ่านๆมา แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้น้องๆสามารถนำคะแนนของน้องๆมาประเมินได้จากโปรแกรมประเมินโอกาสต่างๆที่ตอนนี้มีอยู่หลายเว๊บ ซึ่งในอนา่คตรับรองว่าจะมีของ dek ad แน่นอนครับ
ยกตัวอย่างการเรียงอันดับ
อันดับ1 อย่างที่บอก เลือกไปเลยครับ คณะที่ชอบที่รักที่สุด ไม่ต้องสนใจโอกาสสอบติด ส่วนคณะที่ตามมา ต้องเลือกคณะที่่โอกาสสอบติดเปอร์เซ็นสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น อันดับ2 50% อันดับ3ควร 70-80% อันดับ4ควร 90% ขึ้นไป เอาให้ปลอดภัยที่สุด ให้นอนหลับสบาย แบบไร้กังวลมากที่สุด ประมาณนี้ครับ เพื่อเป็นการรองรับกันและความปลอดภัยป้องกันไม่ให้เกิดการหลุดแอด
แต่ถ้าถามว่าถ้าอยากเสี่ยงได้ไหม ก็ต้องแยกเป็นกรณีๆไปเช่นกรณีเด็กซิ่ว มีที่เรียนมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว แต่อาจไม่ได้เรียนในคณะที่ชอบอยากมาซิ่วใหม่ ก็เสี่ยงไปเลยครับเต็มที่ หรือน้องๆที่อาจจะติดรับตรงไปแล้วแต่ยังสามารถมาแอดได้ ก็สามารถจัดการความเสี่ยงได้ด้วยตัวเองเต็มที่เช่นกัน แต่สิ่งที่สำคัญสุดไม่ว่าพร้อมเสี่ยงหรือไม่พร้อมเสี่ยงก็คือการวางอันดับ อย่างน้อยๆก็ควรวางอันดับให้เป็นไปตามโอกาสที่น่าจะติด เพราะถ้าวางไปมั่วๆมันก็จะเป็นการเสียอันดับและเสียโอกาสโดยใช่เหตุครับ
มาถึงอีกคำถามที่น้องๆถามมามากที่สุดก็คือเรื่องแนวโน้มต่างๆกับจะเช็คได้อย่างไรว่าคณะไหนมีความเสี่ยงมากน้อยเท่าไหร่
ง่ายๆเพียงเท่านี้ รับรองแอดมิชชั่นปีนี้ น้องๆไม่หลุดชัวร์!!! ครับ