บทบาทของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนทางไกล ในช่วงสถานการณ์ COVID-19

 

เนื่องจากทางโรงเรียนและสถานศึกษาต้องเลื่อนการเปิดภาคเรียนออกไปจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดประชุมทางไกลผอ.สพท.ทั่วประเทศ ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2563 ที่ผ่านมา ในเรื่อง การจัดการศึกษาทางไกล ในสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 โดยในการประชุมครั้งนี้ ดร.เทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ได้นำเสนอ บทบาทของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนทางไกล DLTV เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้กับแต่ละโรงเรียน ดังนี้

 

สำหรับแนวทางในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐานจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของผู้บริหาร และครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

โดยบทบาทของผู้บริหาร จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้น โดยขั้นแรก คือ ขั้นเตรียมความพร้อมตั้งแต่การการวางแผน เตรียมและดาวน์โหลดเอกสาร จัดสรรงบประมาณ (ทำแฟ้ม) รวมถึงแต่งตั้งคณะกรรมการ และแบ่งหน้าที่รับชอบแก่ครูและบุคลากร  ทำการประชาสัมพันธ์ ประสานกับหน่วยงานภายนอก และเพิ่มช่องทางการสื่อสารและตอบข้อสงสัยแก่ผู้ปกครองด้วย

และขั้นสุดท้าย คือการประเมินผลการเรียนการสอน ตั้งแต่การบันทึกหลังการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลและรายงานผลต่อ สพท. สัปดาห์ละ 1 ครั้งด้วย

 

ขั้นที่สอง ขั้นกำกับ ติดตาม ช่วยเหลือ และแก้ปัญหา ให้ตรวจสอบความพร้อมตั้งแต่เวลาเริ่มการสอน รวมถึงคอยควบคุมดูแลในช่วงระหว่างเวลาการเรียนการสอน รวมถึงคอยติดต่อสื่อสารและตอบข้อสงสัยแก่ผู้ปกครอง และติดตามการเรียนการสอนของครูด้วยการนัดพบครูอาทิตย์ละ  1 ครั้ง

 

สำหรับบทบาทหน้าที่ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการเรียนการสอนทางไกล จะแบ่งไปบทบาทของครูไปตามระดับชั้นได้แก่ ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย และจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนในการปฏิบัติ ได้แก่

 

ขั้นการเตรียมความพร้อม เริ่มตั้งแต่การสำรวจความพร้อม การจัดตั้งกลุ่มการสื่อสารผ่านช่องต่างๆ ทำความเข้าใจระหว่างครูและผู้ปกครองในการเรียนการสอน รวมถึงศึกษาเอกสารและจัดพิมพ์เอกสารสำหรับทำแฟ้มและนัดหมายส่งเอกสาร และสำหรับบทความของครูในระดับชั้นม.ปลาย ให้เพิ่มการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนด้วย

 

ขั้นที่สองขั้นการจัดการเรียนการเรียนทางไกล จะเริ่มตั้งแต่การเช็กความพร้อมและจำนวนของผู้เข้าเรียน ดูแลการเรียนการสอน ติดต่อสื่อสารสรุปการเรียนการสอนรายวัน และบันทึกผลของการเรียนการสอน โดยที่ครูในระดับชั้นม.ปลาย ให้มีการเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้หลังการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนด้วย

 

ขั้นต่อมา คือ ขั้นพบปะนักเรียนและผู้ปกครองรายสัปดาห์ เพื่อสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน และขั้นตอนสุดท้ายคือ ขั้นการวัดและประเมินผล โดยการตรวจสอบใบงานและชิ้นงาน รวมถึงการทดสอบหลังจบหน่วยการเรียนรู้ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต หรือช่องทางอื่นๆ ที่ผู้เรียนและผู้สอนสะดวกและสามารถทำได้

 

ทั้งหมดนี้คือบทบาทของครูและบุคลากรทางการศึกษาในช่วงการเรียนการสอนทางไกล ในสถานการณ์ COVID-19 ที่ทางสพฐ.ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนทุกท่าน ซึ่งนอกจากบทบาทของผู้สอนและทางสพฐ. ก็ได้จัดทำบทบาทของผู้ปกครองที่เป็นอีกบุคคลสำคัญในช่วงการเรียนการสอนทางไกลที่บ้านของนักเรียนไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ปกครองที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >>> บทบาทและการเตรียมความพร้อมของผู้ปกครอง ในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ช่วง COVID-19

 

ดาวน์โหลดไฟล์บทบาทของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนทางไกล ได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1QIPYRBQRWLW-d9srz_NoWx-dtf7_J4lV/view?usp=sharing

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *