เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง

โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community: SLC) เป็นแนวทางการจัดการการเรียนรู้ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น โดย ศ.มานาบุ ซาโต ศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยกักคุชูอิน ซึ่งหัวใจของ SLC คือ วิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรม พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนที่ต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีสิทธิในการเรียนรู้อย่างเสมอภาค รวมถึงสร้างระบบสังคมแบบประชาธิปไตยที่นักเรียน ครู ผู้อำนวยการ ผู้ปกครอง และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเปิดชั้นเรียน โดยทุกคนสามารถร่วมสังเกตการณ์แล้วสะท้อนคิด (Reflection) การเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อครูได้นำไปพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับนักเรียน  

 

สำหรับประเทศไทยนั้นมีหลายโรงเรียนที่ได้นำ SLC เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งหนึ่งในผลลัพธ์ที่ผลิดอกออกผลเกิดขึ้นกับโรงเรียนพุทธจักรวิทยา กรุงเทพมหานคร โดยเป็นผลจากแรงผลักดันและส่งเสริมจาก EDUCA แพลตฟอร์มการสื่อสารเพื่อพัฒนาครู โดย บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตลอดระยะเวลา ปี  

 

ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่าการทำงานกับร.ร.พุทธจักรวิทยาในช่วงปีแรกเน้นการทำเวิร์คชอปเพื่อเปิดใจและสร้างความเข้าใจกับครูและผู้อำนวยการในการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ซึ่งมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการเปิดชั้นเรียนครั้งแรก และให้คนภายนอกเข้ามาสังเกตการสอน โดยดร.เอสุเกะ ไซโต ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLC จากมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียได้เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ และแสดงให้เห็นว่าการเปิดชั้นเรียนตามแนวทาง SLC คือต้องไม่รบกวนการสอนของครู และการสอนของเด็ก ส่งผลให้ครูได้เห็นมุมมองของ SLC มากยิ่งขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่ปีที่ ของการดำเนินงาน สังเกตได้จากบทสนทนาของกลุ่มครูที่มุ่งเน้นถึงการหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

 

นอกจากนั้น ครูยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกมากกว่าเดิม เมื่อถึงเวลาที่มีครูต้องการความช่วยเหลือ เพื่อนครูจะดึงจุดแข็งของตัวเองมาช่วยสนับสนุน ขณะที่เด็กก็มีความผูกพัน รู้จักทักษะการทำงานเป็นทีม และพาเพื่อนทุกคนร่วมเรียนไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งเพื่อนคนไหนให้เรียนคนเดียว ซึ่งจากการดำเนินงานตามแนวทาง SLC มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ร.ร.พุทธจักรวิทยามีคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ของปี 2562 เพิ่มขึ้น และจากคะแนนเฉลี่ยของทุกกลุ่มวิชามีค่าพัฒนาการเป็นบวก (เปรียบเทียบปีการศึกษา 2561-2562) มากที่สุดของเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

 

คะแนนโอเน็ตเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขที่เห็นผลได้จากการทำ SLC แต่แนวคิด SLC ไม่ได้มีผลโดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันที คือต้องใช้เวลา ซึ่งเมื่อครูสนใจการเรียนของเด็กมากขึ้นก็จะยอมปรับการสอนของตัวเอง เพื่อสร้างห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กทุกคน หลังจากนั้นเรื่องผลการเรียนจะเป็นผลที่ตามมาทีหลัง อย่างไรก็ดี  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จากการที่ครูต้องเชื่อก่อนว่าเด็กทุกคนเป็นคนสำคัญและเก่งได้ในแบบของเขา ห้องเรียนไม่ใช่พื้นที่ปิด คนนอกสามารถมาเรียนรู้ด้วยกันได้ ยิ่งมีหลายคนมาดู ก็จะทำให้ครูเห็นลูกศิษย์ในหลากหลายมิติมากขึ้น ส่งผลให้การสอนมีความเข้มแข็ง และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในห้องเรียนเมื่อครูใส่ใจเด็กทุกคน

 

อ.ธีรวัฒน์ เลื่อนฤทธิ์ ผู้อำนวยการ ร.ร.พุทธจักรวิทยา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการสอบโอเน็ตระดับชั้นม.ของปีการศึกษา 2562 ว่ามีคะแนนเฉลี่ยรวมของทุกกลุ่มวิชาสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2561 ซึ่งมีผลต่าง 0.84 ห่างจากโรงเรียนที่มีค่าพัฒนาการเป็นบวกลำดับ และ 3 ซึ่งมีผลต่างที่ 0.57 และ 0.43 โดยร.ร.พุทธจักรวิทยามี กลุ่มวิชาที่คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ที่ 55.95 และ 33.91 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 นั้น ภาษาไทยเพิ่มขึ้น 4.01 คะแนน และภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น 8.95 คะแนน ขณะเดียวกัน คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษของร.ร.พุทธจักรวิทยายังสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศอีกด้วย ซึ่งคะแนนโอเน็ตวิชาภาษาไทยของประเทศอยู่ที่ 55.14 คะแนน และภาษาอังกฤษ 33.25 คะแนน

 

ด้วยปรัชญาของ SLC คือไม่ทิ้งเด็กไว้ข้างหลังแม้แต่คนเดียว ครูจึงออกแบบการสอนที่สอดรับกับพัฒนาการของเด็ก และจากการเปิดชั้นเรียนที่ให้เพื่อนครูและคนภายนอกได้ร่วมสะท้อนถึงการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้ครูได้รับแรงกระตุ้น พวกเขาต้องตื่นตัวตลอดเวลาในการเตรียมการสอน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพมากที่สุด ทั้งนั้น จากกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SLC มาโดยตลอด ส่งผลให้โรงเรียนของเราได้รับโล่รางวัลดีเด่นระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับประเทศ ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประจำปี 2562 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SLC เป็นแนวทางที่ทำให้ครูได้ดูแลและติดตามเด็กอย่างใกล้ชิด โดยผลลัพธ์ทั้งสองอย่างที่เกิดขึ้นนั้นได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับครูร.ร.พุทธจักรวิทยา  อย่างมาก

 

ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) แสดงความคิดเห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเป็นผลลัพธ์ปลายทางที่เป็นรูปธรรม แต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงคือ การเกิดวิสัยทัศน์ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ครู ผู้บริหาร และนักวิชาการ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และมีอนาคตทางการศึกษา ผ่าน ปรัชญาที่ยึดถือในการทำงาน ได้แก่ ปรัชญาของความเป็นสาธารณะ ปรัชญาของความเป็นประชาธิปไตย และปรัชญาของความเป็นเลิศ รวมถึงการออกแบบระบบกิจกรรมที่สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเรียนรู้ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งหมดคือปัจจัยที่ทำให้ร.ร.พุทธจักรวิทยาประสบผลสำเร็จ

 

เรามองว่าแนวคิด SLC เป็นปรัชญาและวิสัยทัศน์การพัฒนาโรงเรียนที่เป็นสากล และเหมาะสมกับประเทศไทย เพราะตอบโจทย์การสร้างทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี ที่ผ่านมา EDUCA ได้ส่งเสริมและเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายระดับโลกด้าน SLC สู่ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ การดูงาน เยี่ยมเยียนและให้คำแนะนำโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ SLC ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติผ่านงานมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูมากว่า 6  ปี รวมถึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อสื่อสารเรื่องนี้อีก 6 เล่ม โดย EDUCA มุ่งมั่นให้เกิดเครือข่ายโรงเรียน SLC ในประเทศไทย เพราะเชื่อมั่นว่าจะเป็นแนวทางที่สามารถสร้างการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในระยะยาว

 

“SLC อยู่บนพื้นฐานปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressive Education) เชื่อในการลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง เด็กๆ เป็นเจ้าของการเรียนรู้ และรู้สึกว่าความรู้เหล่านั้นมีความหมายกับพวกเขา ดังนั้น ต้องกลับไปทบทวนถึงปรัชญาการศึกษาว่าแท้จริงแล้วการจัดการเรียนรู้ของไทยตั้งอยู่บนปรัชญาการศึกษาใด และจะทำอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถสร้างทักษะที่สำคัญเพื่อให้เด็กๆ ของเราเผชิญความท้าทายได้ทุกยุคสมัย ไม่ใช่เพียงแค่วิกฤตการณ์จากโควิด 19 ครั้งนี้เท่านั้น” ดร.นิภาพรกล่าวปิดท้าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *