คณะเภสัชศาสตร์ กับ 6 เรื่องที่ Dek64 ควรรู้!
สวัสดีค่ะ สวัสดีน้อง ๆ Dek64 ทุกคนที่กำลังเตรียมตัว ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ หลายคนคงจะมีคณะ สาขา ในดวงใจที่อยากจะเข้า แต่สำหรับใครที่ยังลังเลและตัดสินใจไม่ได้ วันนี้พี่มีคณะที่น่าสนใจมาแนะนำ เอาใจสายวิทย์สักหน่อย กับคณะเภสัชศาสตร์ อยากรู้ว่าคณะนี้เรียนอย่างไร เรียนอะไรบ้าง เรียนกี่ปี จบไปแล้วทำงานอะไรได้บ้าง พร้อมแล้ว เราไปทำความรู้จักกับคณะนี้กันเลย Let’s go!!
มาทำความรู้จักคณะเภสัชศาสตร์แบบง่าย ๆ กันเถอะ
คณะเภสัชศาสตร์ หรือ Faculty of Pharmacy เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับ “ยา” คำว่า “เภสัชศาสตร์” มาจากคำว่า “เภสัช” ซึ่งแปลว่า “ยา” และ “ศาสตร์” ซึ่งหมายถึง “ความรู้” รวมกันแล้ว เภสัชศาสตร์ จึงหมายถึง ความรู้ในเรื่องยาหรือการศึกษาเกี่ยวกับยา ตั้งแต่การปรุงผสม ผลิตและจ่ายยา รวมทั้งการเลือกสรรพคุณภาพของยา เวชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องการวิจัยพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ ผลข้างเคียงของการใช้ยาแต่ละชนิด การประเมินการใช้ยา การบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา และยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
- คณะเภสัชศาสตร์มีสาขาอะไรบ้าง ?
คณะเภสัชศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) และ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก) มีความแตกต่างกัน
- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)
จะเน้นการศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าหาตัวยา และการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยาแต่ละชนิด รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วสาขาวิชาเภสัชศาสตร์จะอยู่ในสายงานด้านการผลิต จะทำงานประจำที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยา
- สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)
จะเน้นการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรม คือ จะต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำให้ความปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยาหรือใช้ยาอย่างถูกต้อง และยังรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วงานในสาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรมจะทำงานประจำอยู่ที่โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพ ฯลฯ
- รายชื่อวิชาที่เด็กเภสัชศาสตร์จะได้เรียน
ในการเรียนคณะเภสัชศาสตร์ ทุกคนที่เรียนจะต้องเรียนรู้อีกหลายรายวิชา ทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องยา เพราะรายวิชาเหล่านั้นต่างก็จำเป็นเพื่อใช้เป็นความรู้พื้นฐาน ซึ่งหลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างรายวิชาพื้นฐาน :
- แคลคูลัส (Calculus)
- หลักเคมี (Principal of chemistry)
- เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry)
- เคมีเชิงฟิสิกส์และการนำไปประยุกต์ใช้ (Physical Chemistry and Applications)
- ฟิสิกส์เบื้องต้น (Introductory physics)
- เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล (Cell and Molecular Biology)
- ชีวเคมีการแพทย์พื้นฐาน (Basic Medical Biochemistry)
- สรีรวิทยาการแพทย์ (Medical Physiology)
- กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (Basic Anatomy)
- ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ (General Medical Parasitology)
- จุลชีววิทยาทางการแพทย์ (Medical Microbiology)
- หลักการสาธารณสุข (Principle of Public Health)
- ประสบการณ์สาธารณสุขในชุมชน (Public Health Experience in Community)
- ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English)
- ภาษาอังกฤษพัฒนา (Developmental English)
- ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes)
- ภาษาอังกฤษวิชาชีพ (Professional English)
วิชาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชศาสตร์ :
- บทนำสู่วิชาชีพเภสัชกรรม (Introduction to Pharmacy Profession)
- บทนำทางเภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Introduction to Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
- การควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์สำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Quality Control for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
- บทนำสู่เภสัชเวท (Introduction to Pharmacognosy)
- เภสัชเวทสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacognosy for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชวิทยา (Pharmacology)
- ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ (Biopharmaceutics and Pharmacokinetics)
- เภสัชเคมีสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Chemistry for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชบำบัดประยุกต์ (Applied Pharmacotherapeutics)
- กฎหมายทางเภสัชกรรม (Laws in Pharmacy)
- เภสัชสนเทศสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacoinformatics for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชระบาดวิทยาเบื้องต้น (Basic Pharmacoepidemiology)
- การทบทวนข้อมูลยาใหม่ (Current Drug Review)
- การบริหารทางเภสัชศาสตร์และบทบาทเภสัชกร (Pharmacy administration and Pharmacist role)
- จริยธรรมเชิงวิชาชีพ (Professional Ethics)
- การจัดการคุณภาพในองค์กรสุขภาพ (Quality Management in Health Care Organization)
- ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติสำหรับบริบาลเภสัชกรรม (Research Methodology and Biostatistics for Pharmaceutical Care)
- เภสัชเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Basic Pharmacoeconomics)
- การสื่อสารเชิงวิชาชีพ (Professional Communication)
- เภสัชศาสตร์สังคมและพฤติกรรม (Social and Behavioral Aspects in Pharmacy)
- บทนำสู่ปฏิบัติการทางบริบาลเภสัชกรรม (Introduction to Clerkship for Doctor of Pharmacy)
- การฝึกงานวิชาชีพเภสัชกรรม (Pharmacy Training)
- โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ (Research Project in Pharmaceutical Sciences)
- เภสัชศาสตร์ต้องเรียนกี่ปีกันนะ ?
ต้องบอกก่อนเลยว่าระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาแตกต่างกันในแต่ละประเทศ พี่ได้รวบรวมมาไว้คร่าว ๆ สำหรับใครที่สนใจในหลักสูตรของต่างประเทศ สามารถดูประกอบการตัดสินใจเรียนต่อกันได้เลยจ้า
- สหภาพยุโรป รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภ.บ. (Pharm.)
- ประเทศออสเตรเลีย เดิมใช้เวลา 3 ปี ปัจจุบันเรียน 4 ปี ได้ ภ.บ. (Pharm.)
- สหรัฐอเมริกา เดิมใช้เวลา 4-5 ปี ได้ ภ.บ. (Pharm.) ปัจจุบันต้องเรียนหลักสูตรเตรียมเภสัชศาสตร์ ใช้เวลา 2-3 ปี และบางมหาวิทยาลัยต้องเรียนจบปริญญาตรี 4 ปีก่อน จากนั้นจึงเรียนต่อ Doctor of Pharmacy (Pharm.D.) อีก 4 ปี รวมระยะเวลาเรียน 6-8 ปี มีฐานะเทียบเท่ากับ แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (Doctor of Medicine : MD)
ในส่วนของประเทศไทยเอง ใช้เวลาเรียน 6 ปี ได้วุฒิเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) (Doctor of Pharmacy : Pharm.D.) ซึ่งตลอดระยะเวลาการเรียนทั้ง 6 ปีนี้ น้อง ๆ จะได้รับความรู้ที่อัดแน่นแน่นอน
- แล้วเภสัชศาสตร์ต้องเรียนอะไรบ้าง ?
ในชั้นปีที่ 1-2 จะเป็นการศึกษาด้านเตรียมเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเบื้องต้น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ในชั้นปีที่ 3-4 จะเป็นการศึกษาวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีวเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา สาธารณสุข หลักในการเกิดโรค และจุลชีววิทยา และศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทฤษฎี ปฏิบัติการ และการฝึกงาน ประกอบไปด้วย เภสัชวิเคราะห์ เภสัชศาสตร์สัมพันธ์ อาหารและเคมี โภชนาการศาสตร์ บทนำเภสัชภัณฑ์ เภสัชพฤกษศาสตร์ ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชกรรมและการบริหารเภสัชกิจ เภสัชวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิก นิติเภสัชและจริยธรรม พิษวิทยา เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชเคมี และ การปฏิบัติฝึกงาน
ในชั้นปีที่ 5-6 จะเป็นการศึกษาในหมวดวิชาสาขาที่นักเรียนสนใจ เน้นความชำนาญทางวิชาชีพ มีให้เลือก 2 สาขาที่ได้พูดไปเบื้องต้น ระหว่างทางกว่าจะถึงชั้นปีนี้ น้อง ๆ ก็ยังพอมีเวลาหาตัวตน เพื่อที่จะเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ และทำให้ให้เกิดเป็นความชำนาญ สามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติงานด้วยนะ
- คณะเภสัชศาสตร์เปิดสอนที่ไหนบ้าง ?
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย >> https://www.chula.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ >> https://tu.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล >> https://mahidol.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ >> https://swu.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ >> https://www.cmu.ac.th/web/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา >> https://www.buu.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ >> https://www.psu.ac.th/th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น >> https://kku.ac.th/2307
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร >> https://www.su.ac.th/th/index.php
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร >> https://www.nu.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี >> https://www.ubu.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม >> http://www.web.msu.ac.th/#page=page-1&std=std-1
- วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต >> https://www2.rsu.ac.th/home
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ >> https://www.hcu.ac.th/index.php
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา >> https://www.up.ac.th/th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ >> https://pharmacy.payap.ac.th/info/home/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม >> https://siam.edu/
- สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ >> https://pharmacy.wu.ac.th/
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย >> https://www.western.ac.th/index.php/th/
- เปิดค่าเทอมของคณะเภสัชศาสตร์
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคการศึกษาละ : 26,500 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://www.reg.chula.ac.th/NewStudyFee_2563.pdf
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคการศึกษาละ : 52,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://web.reg.tu.ac.th/registrar/_link/_4_admission/ad58/admissions58_3.pdf
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตลอดหลักสูตร : 210,550 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : http://www.student.mahidol.ac.th/portal/document/announce/2562/announce-10072019-2.pdf
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภาคการศึกษาละ : 30,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://admission.swu.ac.th/file_staff_upload/file_news/7820191125032318.PDF
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาคการศึกษาละ : 20,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : http://202.28.24.114/finance/scan/14.pdf
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ตลอดหลักสูตร : 900,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://docs.google.com/spreadsheets/d/1FUBb8BdMzh3WxivBZ5fxz4WuN0VLmqAIFknYExg_fRo/edit#gid=0
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาคการศึกษาละ : 28,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://reg.psu.ac.th/reg/fee/fee_tree_2561.pdf
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาคการศึกษาละ : 18,000 บาท
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(ภาคปกติ) ภาคการศึกษาละ : 23,000 บาท
(ภาคพิเศษ) ภาคการศึกษาละ : 75,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://admission.su.ac.th/file-faculty/08_sutcas63-Pharmacy.pdf
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชั้นปีที่ 1 – 5 ภาคการศึกษาละ : 22,000 บาท
ชั้นปีที่ 6 ปีการศึกษาละ : 44,000 บาท
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
(ภาคปกติ) ภาคการศึกษาละ : 29,500 บาท
(โครงการพิเศษ) ภาคการศึกษาละ : 45,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://www.ubu.ac.th/web/files_up/04f2016072809353061.pdf
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาคการศึกษาละ : 32,500 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://admission.msu.ac.th/upload/procedure-63.pdf
- วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ตลอดหลักสูตร : 1,799,200 – 1,832,300 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://www2.rsu.ac.th/info/admissions-fee
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ปีการศึกษาละ : 90,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://www.hcu.ac.th/charges
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ภาคการศึกษาละ : 35,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://www.up.ac.th/th/up_news/admission63/index.html#p=10
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
ตลอดหลักสูตร : 997,050 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : http://pradmission.payap.ac.th/html_pyu/fee-thai.html
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ตลอดหลักสูตร : 1,034,750 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://siam.edu/tuition-fees/
- สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ภาคการศึกษาละ : 30,400 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://pharmacy.wu.ac.th/?page_id=140
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ตลอดหลักสูตร : 1,200,000 บาท
รายละเอียดค่าเทอม : https://www.western.ac.th/index.php/th/apply/courses/bd-cost
- จบแล้วทำงานที่ไหน ?
- เภสัชกรการอุตสาหกรรม เช่น เภสัชกรฝ่ายผลิต เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ เภสัชกรฝ่ายขึ้นทะเบียน เภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฯลฯ จะปฏิบัติงานในโรงงานการผลิตหรือบริษัทจำหน่ายยาทั้งของรัฐและเอกชน
- เภสัชกรโรงพยาบาล เช่น เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา เภสัชกรผู้ให้ปรึกษาด้านยา เภสัชกรผู้ผลิตยาในโรงพยาบาล ฯลฯ
- เภสัชกรชุมชน เช่น เภสัชกรร้านยา เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ หรือเป็นเจ้าของกิจการร้านยา เป็นต้น
- เภสัชกรการตลาด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยา
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐ เช่น เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เภสัชกรการศึกษา ฯลฯ
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล ศูนย์อนามัย สถานีอนามัย
- ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก
นอกจากนี้ก็จะเป็นสายอาชีพอื่นที่เกี่ยวกับยาด้วยค่ะ เช่นเป็น detail ยา หรือเจ้าหน้าที่ตามบริษัทเครื่องสำอางนั่นเอง
เป็นยังไงกันบ้างคะ น้อง ๆ Dek64 อ่านมาถึงตรงนี้แล้วพอจะสนใจอยากเรียนคณะนี้หรือเปล่า สำหรับใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ อนาคตเป็นของเรา เราควรจะเลือกเรียนในสิ่งที่ถนัดและเราก็ชอบสิ่งนั้นด้วย นอกจากจะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียนแล้ว เรายังจะมีความสุขตลอดระยะเวลาที่เรียนอีกด้วย พี่ขอเป็นกำลังใจให้ Dek64 ทุกคนเลยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
teen.MThai.com , clinicya.com , Dek-D , Campus star , True ปลูกปัญญา และ sangfans.com