ทำความรู้จักกับ “คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา”

วันนี้พี่มีคณะมาแนะนำ สำหรับใครที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย ต้องไม่พลาดกับคณะนี้เลย “คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา” อยากรู้ว่าเปิดสอนที่มหาวิทยาลัยที่ไหนบ้าง แล้วคณะนี้เรียนจบแล้วเป็นครูพละใช่หรือไม่ วันนี้มีคำตอบพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ทำความรู้จักกับ “คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา”

วิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเนื้อหาสาระความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ถึงผลของการมีส่วนร่วมในการเล่นกีฬาหรือการออกำลังกายในกิจกรรมต่าง ๆ โดยอาศัยหลักวิชาทางด้านสรีรวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยา หรืออื่น ๆ ดังนั้นวิทยาศาสตร์การกีฬาจึงเป็นการรวมวิชาต่าง ๆ มากมายหรือที่เรียกว่าสหวิทยาการ ที่มีเนื้อหารสาระครอบคลุมในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สรีรวิทยาการกีฬา จิตวิทยาการกีฬา สังคมวิทยาการกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา โภชนาการการกีฬา เทคโนโลยีการกีฬาวิทยวิธีทางกีฬา วิทยาการการจัดการการกีฬา

 

ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?

  • กายวิภาคศาสตร์ คือ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างสัดส่วนของร่างกายนักกีฬาแต่ละคน ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท เป็นต้น

 

  • สรีรวิทยา คือ ความรู้เกี่ยวกับการทำงานหรือการทำหน้าที่ของอวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้ ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทกีฬาและนักกีฬาแต่ละบุคคล

 

  • ชีวกลศาสตร์ คือ การทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อต่อ การใช้แรงในการเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติทักษะอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละชนิดหรือประเภทกีฬา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านเทคนิคทักษะกีฬาแต่ละบุคคลได้อย่างกลมกลืนกับระดับความสามารถที่เป็นจริงของนักกีฬา

 

  • ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา คือ หลักการกำหนดรูปแบบวิธีการฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจาก อายุ เพศ วัย ประสบการณ์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งระบบพลังงานสมรรถภาพทางกาย ประเภทกีฬา เพื่อนำไปสู่การวางแผนการฝึกซ้อมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

  • โภชนาการทางการกีฬา คือ ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วน และคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขันซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานของนักกีฬาแค่ละคน

 

  • จิตวิทยาการกีฬา คือ ศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดการควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬารวมถึงการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ของการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างถูกต้อง มีผลดีต่อการแสดงออกซึ่งทักษะและความสามารถของนักกีฬาได้อย่างสอดคล้อง สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

  • เวชศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด

 

  • เทคโนโลยีทางการกีฬา คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาส่งเสริมตลอดจนการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องให้กับนักกีฬาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพให้กับผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬา

 

เปิดสอนที่ไหนบ้าง ?

  1. สถาบันการพลศึกษา (ทั่วประเทศ) >> http://www.ipe.ac.th/web/web3/
  2. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต >> https://kbu.ac.th/home/
  3. มหาวิทยาลัยคริสเตียน >> https://www.christian.ac.th/
  4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย >> https://www.chula.ac.th/
  5. มหาวิทยาลัยทักษิณ >> https://www.tsu.ac.th/index.php
  6. มหาวิทยาลัยบูรพา >> https://www.buu.ac.th/
  7. มหาวิทยาลัยมหิดล >> https://mahidol.ac.th/th/
  8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ >> https://tu.ac.th/
  9. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ >> https://www.swu.ac.th/
  10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี >> http://www.sut.ac.th/2012/index.php
  11. มหาวิทยาลัยขอนแก่น >> https://www.kku.ac.th/
  12. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย >> https://lru.ac.th/
  13. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี >> https://bkkthon.ac.th/microsite/index.php
  14. มหาวิทยาลัยศิลปากร >> https://www.su.ac.th/th/index.php
  15. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://www.chandra.ac.th/

 

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาค่าเทอมเท่าไหร่ ? (โดยประมาณ)

อ่านมาถึงตรงนี้ น้อง ๆ คงอยากรู้กันแล้วว่าแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนนั้น จะมีค่าเทอมเท่าไหร่ พี่ได้รวบรวมข้อมูลโดยประมาณมาให้แล้ว เบื้องต้นสถาบันการพลศึกษา (ทั่วประเทศ) มีค่าเทอมที่แตกต่างกันไป หากน้อง ๆ คนไหนสนใจเข้าไปดูที่เว็บไซต์หลักได้เลย http://www.ipe.ac.th/web/web3/ ส่วนใครที่สนใจมหาวิทยาลัยอื่น ๆ พี่ได้รวบรวมได้ ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต : จำนวน 280,000 ตลอดหลักสูตร

เว็บไซต์คณะ : http://ss.kbu.ac.th/home/

  1. มหาวิทยาลัยคริสเตียน : จำนวน 285,350 ตลอดหลักสูตร

เว็บไซต์คณะ : https://service.christian.ac.th/ahs/Sport/

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : จำนวน 26,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : http://www.spsc.chula.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยทักษิณ : จำนวน 15,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : https://www.fhss.tsu.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยบูรพา : จำนวน 64,040 – 67,270 ตลอดหลักสูตร

เว็บไซต์คณะ : https://www.buu.ac.th/course/frontend/courseDetail/NTU4

  1. มหาวิทยาลัยมหิดล : จำนวน 16,600 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : https://op.mahidol.ac.th/ea/wp-content/uploads/2019/04/31_TH_SS.pdf

  1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : จำนวน 16,500 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : https://allied.tu.ac.th/sport-science/

  1. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : จำนวน 15,000 – 20,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : http://academic.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=7801

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี : จำนวน 197,900 ตลอดหลักสูตร

เว็บไซต์คณะ : http://sutgateway.sut.ac.th/ces/fees/B58.pdf

  1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : จำนวน 12,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : https://ase.kku.ac.th/ase2018/

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย : จำนวน 10,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : http://predu.edu.lru.ac.th/th/

  1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี : จำนวน 30,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : https://bkkthon.ac.th/home/th/faculty/faculty-16/department-40

  1. มหาวิทยาลัยศิลปากร : จำนวน 15,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : https://www.su.ac.th/th/faculty-education.php

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : จำนวน 9,900 – 12,000 ต่อภาคการศึกษา

เว็บไซต์คณะ : https://sci.chandra.ac.th/sportsci/

 

จบแล้ว ไม่ได้เป็นแค่ครูพละเท่านั้น !

หลายคนมีข้อสงสัยกับเรื่องนี้เยอะ จริง ๆ แล้ว อาชีพอื่นก็มีให้เลือกนะ สำหรับใครที่ไม่อยากเป็นครูพละ ยังมีอาชีพที่น่าสนใจสำหรับ น้อง ๆ ที่จบจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาอีกเยอะเลย เรามาดูกันดีกว่าว่ามีอาชีพอะไรบ้าง

  • โค้ชฝึกสอนกีฬา

สำหรับใครที่มีความสามารถด้านกีฬาอยู่แล้วก็สามารถไปเป็นโค้ชฝึกสอนได้ เพราะได้เรียนทั้งศาสตร์ทางด้านกีฬาประเภทต่าง ๆ รวมถึงกายวิภาคศาสตร์ และจิตวิทยา ทำให้สามารถกำหนดรูปแบบการฝึกซ้อมกีฬา จัดโปรแกรมการฝึกซ้อมได้อย่างเหมาะสม

 

  • นักวิทยาศาสตร์การกีฬา

ทำงานตามทีมกีฬาต่าง ๆ ดูแลนักกีฬาทั้งด้านโภชนาการ เทคนิคกีฬา จิตวิทยา ตลอดจนการดูแลสุขภาพร่างกายนักกีฬาอย่างเป็นขั้นตอน

 

  • นักโภชนาการกีฬา

คอยให้ความรู้ จัดการในเรื่องโภชนาการให้กับนักกีฬา ดูแลเรื่องอาหารของนักกีฬาให้เหมาะสมในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขัน

 

  • นักเวชศาสตร์การกีฬา

ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กับนักกีฬา รักษาอาการบาดเจ็บ เพื่อช่วยเสริมสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาให้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์พร้อมที่สุด ทำงานตามทีมกีฬา หรือโรงพยาบาล

 

  • เทรนเนอร์ฟิตเนส

ด้วยความสามารถทางด้านกีฬาและการได้รับความรู้ที่ถูกหลัก ผู้ที่จบคณะนี้สามารถไปทำงานเทรนเนอร์งานฟิตเนสตามฟิตเนส สปอร์ตคลับ สถานศึกษา องค์กรต่าง ๆ หรือเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวได้

 

  • นักจิตวิทยาการกีฬา

ช่วยฟื้นฟู เยียวยา ปลุกใจนักกีฬาทั้งก่อนแข่งขัน ระหว่างแข่งขัน ไปจนถึงหลังแข่งขัน โดยจะทำงานอยู่ตามทีมกีฬาต่าง ๆ

 

  • นักข่าวกีฬา

หากจบวิชาเฉพาะทางด้านการสื่อสารมวลชนทางกีฬา ก็สามารถเป็นนักข่าวสายกีฬาได้ โดยนำความรู้ด้านกีฬามาใช้ในการสื่อสารมวลชน

 

  • อาจารย์มหาวิทยาลัย

ผู้ที่เรียนจบคณะนี้สามารถเป็นอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้

 

  • นักกีฬา

มีนักกีฬาหลายคนเลือกที่จะเรียนคณะนี้ เพราะจะได้เรียนรู้หลักและเทคนิคที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของนักกีฬาทั้งทางร่างกายและจิตใจ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ “คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา” พอจะตอบคำถามน้อง ๆ ได้ครบกันหรือเปล่า สำหรับน้อง ๆ คนที่ไหนที่สนใจ เตรียมตัวให้พร้อมกันได้เลย Dek64 สู้ ๆ

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

เว็บไซต์ Campus star , Admission Premium และ True ปลูกปัญญา

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *