รวมมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาโลจิสติกส์ในประเทศไทย

สาขาโลจิสติกส์เรียนที่ไหนดี ? มีที่ไหนเปิดสอนบ้าง ? สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจจะเรียนต่อทางด้านนี้แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนที่ไหนดี วันนี้พี่มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้มาฝากกัน จะเป็นที่ไหนบ้าง ใช่ที่ที่น้อง ๆ หมายตาเอาไว้หรือเปล่า ตามมาดูกันได้เลย

สาขาวิชาโลจิสติกส์

เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

 

มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยโลจิสติกส์ที่เปิดสาขาโลจิสติกส์ในประเทศไทย

  1. วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • วิทยาเขตบางเขน
  • วิทยาเขตชลบุรี
  • วิทยาเขตขอนแก่น
  1. วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA DPU) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สาขาวิชาการจัดการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสมัยใหม่
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี (ภาคปกติ)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี (วันเสาร์-วันอาทิตย์)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 2 ปี (เทียบโอนภาคปกติ)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 2 ปี (เทียบโอน วันอาทิตย์)
  1. วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์
  • หลักสูตรภาคปกติ ระดับปริญญาตรี (4 ปี) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (ทุกสาย) หรือ ปวช. ทุกสาขาวิชา
  • หลักสูตรเทียบโอน ระดับปริญญาตรี (3 ปี) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขาวิชา
  • หลักสูตรเทียบโอน ภาคพิเศษ ระดับปริญญาตรี (3 ปี) ภาค เสาร์-อาทิตย์ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขาวิชา หรือต้องการปริญญาใบที่สอง
  1. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ คณะการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง เปิดสอน 3 วิชาเอก
  • การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • การจัดการการคมนาคมขนส่ง
  • การจัดการสถานีและพื้นที่
  1. วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (Department of Logistics Management)หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Department of Air cargo Management)
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
  3. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  4. มหาวิทยาลัยเกริก สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  5. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • หลักสูตร 4 ปี ที่ศูนย์รังสิต บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง
  • หลักสูตร 5 ปี ตรี-โท ที่ท่าพระจันทร์ หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารโลจิสติกส์และปฏิบัติการ
  1. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน (ธุรกิจโลจิสติกส์ทางการบิน)
  2. มหาวิทยาลัยภาคกลาง สาขาการตลาดและโลจิสติกส์
  3. มหาวิทยาลัยรังสิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  4. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (วิทยาเขตสะพานใหม่ , วิทยาเขตรังสิต) สาขาการจัดการโลจิสติกส์
  5. มหาวิทยาลัยรามคำแหง โครงการพิเศษบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ วิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์
  6. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  7. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  8. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม
  9. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สาขาการขนส่งระหว่างประเทศ
  10. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  11. มหาวิทยาลัยธนบุรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  12. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สาขาการจัดการโลจิสติกส์
  13. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สาขาการวิเคราะห์โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน (หลักสูตรนานาชาติ) คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี
  14. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด สาขาวิชาบริหารธุรกิจ กลุ่มวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
  15. มหาวิทยาลัยปทุมธานี สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ (GSAS)
  16. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  17. มหาวิทยาลัยนครพนม สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ
  18. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สาขาการจัดการโลจิสติกส์
  19. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
  20. มหาวิทยาลัยทักษิณ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะนิติศาสตร์บัณฑิต
  21. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น คณะนิติศาสตร์ กลุ่มวิชากฎหมายเกี่ยวกับโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยี
  22. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  23. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ
  • สาขาวิชาการขนส่งทางทะเล
  1. คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
  • สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ (5 ปี)
  1. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  2. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  4. มหาวิทยาลัยศรีปทุม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  5. มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์
  6. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  7. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์
  8. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร สาขาโลจิสติกส์
  10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
  1. สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ กลุ่มวิชาเฉพาะการจัดการโลจิสติกส์
  2. มหาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

 

ใช้คะแนนอะไรบ้างในการเรียนโลจิสติกส์

  • แบบที่ 1 GAT + PAT1
  • แบบที่ 2 GAT + PAT1 + PAT2

 

เรียนโลจิสติกส์จบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานบ้าง งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน ถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ และนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้อง ๆ บัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้

  • ระดับปฏิบัติการ

เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

  • ระดับบริหาร

เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน,  นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว

เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

  • รับราชการ

รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • งานสายวิชาการ

เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

 

สาขาโลจิสติกส์นี้เป็นอีกหนึ่งที่มีความต้องการคนทำงานเพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นสาขาที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน มีหลาย ๆ มหาวิทยาลัยที่กำลังเปิดสอน สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ชอบในด้านนี้ เรียนจบแล้วมีงานทำรับรอง พี่ขอแนะนำสาขานี้เลย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Logisticscafe.com, Admission premium และ Campus-star.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *