รีวิวการเรียน “คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ”

มาถึงสาขาที่จะพาน้อง ๆ ได้มองโลกจามมุมสูงกันบ้างกับสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ฟังแค่ชื่อก็เท่ห์ไม่เบาเลย สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับระบบเครื่องบิน ดาวเทียมต่าง ๆ พลาดไม่ได้เลย เพื่อที่น้อง ๆ จะได้มีการเตรียมความพร้อม พี่จะขอพาไปทำความรู่จักเกี่ยวกับสาขานี้คร่าว ๆ ว่าเขาเรียนอะไรกันบ้างนะ

วิศวกรรมการบินและอวกาศ เรียนอะไรบ้าง ?

สำหรับวิศวกรรมการบินและอวกาศ จะเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ, การสร้าง, การซ่อมบำรุง และการบริการธุรกิจทางด้านการบิน โดยที่จะเป็นการเรียนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานของการออกแบบ การสร้างทางกายภาพของอากาศยาน, จรวด, ยานบิน และยานอวกาศ ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงลักษณะทางอากาศพลศาสตร์และพฤติกรรม, พื้นผิวการควบคุมการบิน, การยกตัว, การลากทางอากาศพลศาสตร์ และยังรวมถึงเรื่องอื่น ๆ อีกด้วย

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

  1. เป็นวิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรมโครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ กังหันลม เป็นต้น
  2. เป็นวิศวกรควบคุมการซ่อมบำรุงอากาศยาน เครื่องยนต์เจ็ท ดาวมเทียม ฯลฯ
  3. เป็นวิศวกรควบคุมการโคจรและสถานีดาวเทียม
  4. เป็นวิศวกรด้านการบริหารการจัดการในภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการบินและอวกาศ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การซ่อมบำรุงและอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นต้น
  5. เป็นวิศวกรด้านการจัดการธุรกิจการขนส่งทางอากาศ เช่น สายการบิน ท่าอากาศยาน การจัดการ โลจิสติกส์ ฯลฯ

 

คณะ/สาขาแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ และบริหารธุรกิจ
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบิน
  • มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมการบิน
  • มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบิน

 

ใช้คะแนนอะไรบ้างในการสอบเข้า

ต้องบอกก่อนเลยว่าแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์กำหนด ว่าจะต้องใช้สัดส่วนคะแนนไหนเท่าไหร่บ้าง แต่หลัก ๆ แล้วการสอบเข้าก็จะใช้คะแนนตามนี้เลย

  • O-NET
  • 9 วิชาสามัญ
  • GAT ความถนัดทั่วไป
  • PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
  • PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
  • PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Admission Premium, Campus-star.com Learn anywhere

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *