เด็กเทคนิคสุราษฎร์ และอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ คว้าแชมป์โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับชาติ

เด็กเทคนิคสุราษฎร์ และอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ คว้าแชมป์รางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับชาติ ประจำปี ๒๕๖๓ 

 นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ร่วมมือกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และการสนับสนุนจากบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ครั้งที่ ๓๐ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การคัดเลือกโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากอาชีวศึกษาทั่วประเทศ มีโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าร่วมประกวด จำนวน ๔๐ โครงงาน โดยโครงงาน “ผลของนาโนซิงค์ ออกไซด์และเทฟลอนที่มีผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์จากใยกล้วยย้อมสีด้วยใบสัก” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับ ปวช. ขณะที่โครงงาน “การศึกษาคุณสมบัติของหลอดชีวภาพจากผงวุ้น” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับ ปวส. ซึ่งงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ๒๕๖๓ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ อาคารชาแลนเจอร์ ๒ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี 

รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับ ปวช. ที่ได้รับรางวัลอื่นๆ ได้แก่  

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จำนวน ๔ โครงงาน ดังนี้ 

โครงงาน “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียผสมสารสกัดจากเปลือกมังคุด” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี  

โครงงาน “การพัฒนากระดาษบรรจุภัณฑ์จากเส้นใยหญ้าขจรจบร่วมกับเส้นใยไบโอเซลลูโลส” จากวิทยาลัยเทคนิคสตูล  

โครงงาน “การศึกษาประสิทธิภาพเตาเผาหัวแร้งประหยัดพลังงาน” จากวิทยาลัยเทคนิคสองแคว และ 

โครงงาน “ผลของสารสกัดจากสับปะรดและมะละกอที่มีต่อคุณภาพของเจลขัดผิวระเบิดขี้ไคล” จากวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ จำนวน ๗ โครงงาน ดังนี้ 

โครงงาน “การศึกษาสีชอล์กน้ำมันโดยใช้รงควัตถุจากขมิ้นชัน ดอกอัญชัน และกระเจี๊ยบแดงที่ใช้สำหรับวาดภาพ” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี 

โครงงาน “กระถางต้นไม้รักษ์โลกจากใยสับปะรดพันธุ์นางแลและฟางข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาแม่สาย 

โครงงาน “การศึกษาการผลิต Syrup จากข้าว” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก 

โครงงาน “การพัฒนาผลิตภัณฑ์งานศิลปะบนผิวน้ำ” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ 

โครงงาน “การพัฒนาคุณภาพของหอยขมอบแห้ง” จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร 

โครงงาน “การศึกษาผลของกรดอินทรีย์จากเสาวรสต่อคุณลักษณะของครีมบำรุงมือ” จากวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง 

โครงงาน “การพัฒนาแป้งปั้นเปลือกทุเรียนชั้นในที่มีผลต่อคุณภาพงานปั้น” จากวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ จำนวน ๘ โครงงาน ดังนี้ 

โครงงาน “การศึกษาชนิดข้าวเหนียวพื้นถิ่นที่มีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์บราวนี่กรอบ” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย 

โครงงาน “สเปรย์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในผลไม้จากเปลือกกล้วย” จากวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี 

โครงงาน “ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์บัวลอยขึ้นรูปโดยเทคนิค Frozen Reverse Spherification” จากวิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร 

โครงงาน “น้ำยาป่าหัวปลีอบแห้งกึ่งสำเร็จรูป” จากวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีแห่งที่ 2 

โครงงาน “การพัฒนาเครื่องพันขดลวดแบบอัตโนมัติ” จากวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี 

โครงงาน “การศึกษาสีธรรมชาติกับงานลงยาสีเครื่องประดับ” จากกาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง 

โครงงาน “การศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการทำบัตเตอร์เค้กผสมมันเทศ” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี 

โครงงาน “การศึกษาประสิทธิภาพสมุนไพร 4 ชนิด ในการทำยาหม่อง” จากวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง 

โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับ ปวส. ที่ได้รับรางวัลเพิ่มเติม ได้แก่ 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จำนวน ๔ โครงงาน ดังนี้ 

โครงงาน “การพัฒนาแผ่นบุผนังดูดซับเสียงภายในอาคารจากวัสดุธรรมชาติ” จากวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี 

โครงงาน “การพัฒนาเม็ดชาไข่มุกผสมสตาร์ชพรีเจลาทิไนท์จากมันเทศสีม่วงเสริมเจลาตินจากหนังปลานิล” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา 

โครงงาน “ศึกษาอัตราส่วนของตัวทำละลายที่มีผลต่อการสกัดสารสีจากเปลือกผลแก้วมังกรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์บลัชออน” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช 

โครงงาน “การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดมิ้ลค์กี้” จากวิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผล 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ จำนวน ๗ โครงงาน ดังนี้ 

โครงงาน “การศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพจากใบชะพลูที่มีผลต่อการกำจัดหอยทากสยาม (Cryptozona siamensis)” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 

โครงงาน “การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมในการผลิตพลาสติกชีวภาพ” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนเเก่น 

โครงงาน “การพัฒนาแผ่นมุงหลังคาจากผักตบชวา( Eichhornia crassipes (C. Mart.) Solms. เยื่อไผ่(Dendrocalamus asper Backer) และยางพารา (Rubber) ให้มีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อน      

และกันน้ำได้ดี” จากวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ 

โครงงาน “การศึกษาสารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากผักตบชวาเพื่อผลิตฟิล์มชีวภาพ” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี 

โครงงาน “การศึกษาคุณภาพอาหารกุ้งผสมสาหร่ายไฟต่ออัตราการลอกคราบและอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามกราม” จากวิทยาลัยประมงสมุทรสาคร 

โครงงาน “ผลการใช้ลำไยตกเกรดหมักต่อการเจริญเติบโตและการลดต้นทุนอาหารของหมูดำและเป็ดกากีแคมป์เบลล์” จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ 

โครงงาน “การเตรียมกลีเซอรีนด้วยปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันจากน้ำมันสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว” จากวิทยาลัยเทคนิคสตูล 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ จำนวน ๘ โครงงาน ดังนี้ 

โครงงาน “ระบบ Smart Farm การรดน้ำอัตโนมัติโดยการวัดค่าความชื้นในดิน” จากวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ 

โครงงาน “การศึกษาสูตรและสัดส่วนที่เหมาะสมในการพัฒนาขนมขาไก่ อ๋อเลย” จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย 

โครงงาน “การพัฒนาขนมกัมมี่ปลีกล้วยน้ำว้าช่วยเสริมสร้างน้ำนมแม่” จากวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน 

โครงงาน “การพัฒนาอาหาร BSF Flakes สำหรับอนุบาลลูกปลานิล” จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ 

โครงงาน “การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของตัวประสานผักแผ่น” จากวิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ 

โครงงาน “เครื่องตัด/ต่อมิเตอร์ไฟฟ้าควบคุมด้วยระบบ GSM” จากวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี 

โครงงาน “ผลของสารสกัดไคโตซานจากเปลือกหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยหอมเขียวพันธุ์ Cavendish ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด 

โครงงาน “การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักใบสาบเสือในการยับยั้ง Staphylococcus aureus ที่ก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม” จากวิทยาลัยเทคนิคโคกสำโรง 

รองเลขาธิการฯ กล่าวปิดท้ายว่า โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา เป็นกิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (STEM Education) ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในงานอาชีพ และกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา ได้เห็นความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชน สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาของชาติ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *