ก.ค.ศ.กำหนดอัตรากำลังครูสายบริหาร-การสอน-สนับสนุนการศึกษา สังกัด สพฐ.

ก.ค.ศ.กำหนดอัตรากำลังครูสายบริหาร สายการสอน และสนับสนุนการศึกษา ในสังกัด สพฐ. ตามจำนวนนักเรียน ชั่วโมงการเรียน-การสอน พร้อมสูตรคำนวณสำหรับสถานศึกษา

 

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ทางสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีหนังสือ ถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เรื่อง เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

ตามที่ สำนักงาน ก.ค. ได้แจ้งเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และเกณฑ์ อัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา ให้ทราบและถือปฏิบัตินั้น ก.ค.ศ. พิจารณาแล้ว มีมติดังนี้

 

1.ให้ยกเลิกเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ตามหนังสือ ที่อ้างถึง 1-4

 

2.กําหนดเกณฑ์อัตรากําลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

 

1.เกณฑ์อัตรากําลังนี้ใช้สําหรับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกเว้น สถานศึกษาสังกัดสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยให้สถานศึกษามีอัตรากําลังตามสายงาน ได้แก่ สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานการสอน และสายงาน สนับสนุนการศึกษา ซึ่งกําหนดเป็น 2 กรณี ดังนี้

1.1 สถานศึกษาที่มีจํานวนนักเรียนตั้งแต่ 119 คนลงมา

1.2 สถานศึกษาที่มีจํานวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป

 

3.ชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู จําแนกเป็น

3.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ระดับปฐมวัย ไม่ต่ำกว่า ๖ ชั่วโมง/สัปดาห์ ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

3.2 งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้นของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการต้นสังกัด ไม่ต่ำกว่า ๘ ชั่วโมง/สัปดาห์

ทั้งนี้ การคํานวณอัตรากําลังตามเกณฑ์อัตรากําลังนี้ กําหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ ๒๐ ชั่วโมงสัปดาห์

 

4.การกําหนดสาขาวิชาเอกในสถานศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาเอก

 

5.จํานวนนักเรียนต่อห้องเรียน พิจารณาตามระดับการศึกษาที่เปิดสอน ดังนี้

-ระดับปฐมวัย (ชั้นอนุบาล 1-3) กําหนด 30 คน ต่อห้อง

-ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6) กําหนด 30 คน ต่อห้อง

-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) กําหนด 35 คน ต่อห้อง

-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) กําหนด 35 คน ต่อห้อง

การคิดจํานวนห้องเรียน กรณีจํานวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียน มีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้คิดเพิ่มอีก 1 ห้อง เช่น ชั้นอนุบาล 1 มีนักเรียน 38 คน (มีเศษ 8 คน) จะคิดเป็น 1 ห้องและชั้นอนุบาล มีนักเรียน 45 คน (มีเศษ 15 คน) จะคิดเป็น 2 ห้อง รวมจํานวนห้องที่จะนําไปคํานวณอัตรากําลังระดับปฐมวัย จํานวน 3 ห้อง

 

6.กําหนดเวลาเรียนต่อสัปดาห์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน สําหรับการคํานวณอัตรากําลังตามเกณฑ์อัตรากําลัง ดังนี้

-ปฐมวัย ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง/ปี, 20 ชั่วโมง/สัปดาห์

-ประถมศึกษา ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมง/ปี, 25 ชั่วโมง/สัปดาห์

-มัธยมศึกษาตอนต้น ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมง/ปี, 30 ชั่วโมง/สัปดาห์

-มัธยมศึกษาตอนปลาย ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง/ปี, 35 ชั่วโมง/สัปดาห์

 

การคํานวณอัตรากําลัง

7.การคํานวณอัตรากําลัง ให้คํานวณตามสายงานดังนี้

7.1 สายงานบริหารสถานศึกษา

7.1.1 สถานศึกษาที่มีจํานวนนักเรียนตั้งแต่ 40 คนลงมา ไม่กําหนดอัตรากําลัง สายงานบริหารสถานศึกษา

7.1.2 สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 41 คน ขึ้นไป ทุกพื้นที่ ให้กำหนดอัตรากำลังสายการบริหารสถานศึกษา ดังนี้

จำนวนนักเรียน 41-119 คน ต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 อัตรา

จำนวนนักเรียน 120-719 คน ต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 อัตรา และรองผู้อำนวยการ 1 อัตรา

จำนวนนักเรียน 120-1,079 คน ต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 อัตรา และรองผู้อำนวยการ 2 อัตรา

จำนวนนักเรียน 1,080-1,679 คน ต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 อัตรา และรองผู้อำนวยการ 3 อัตรา

จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1,080 คน ต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 อัตรา และรองผู้อำนวยการ 4 อัตรา

โดยกำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ และตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

 

7.2 สายการสอน

7.2.1 สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 119 คนลงมากำหนดอัตรากำลังสายงานการสอนในสถานศึกษาตามแต่กรณีดังนี้

-สถานศึกษาที่เปิดสอนระดับปฐมวัยหรือระดับประถมศึกษากำหนดกำลังตามจำนวนนักเรียน ดังนี้

จำนวนนักเรียน 1-40 คนกรอบอัตรากำลังสายการสอน 1-4 อัตรา

จำนวนนักเรียน 41-80 คนอัตรากำลังสายการสอน 6 อัตรา

จำนวนนักเรียน 81-119 คนอัตรากำลังสายงานการสอน 8 อัตรา

 

-สถานศึกษาที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาให้กำหนดอัตรากำลังโดยนำจำนวนห้องเรียนแต่ละระดับการศึกษา ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร และชั่วโมงการปฏิบัติงานของครูมาคำนวณตามสูตร

เมื่อคำนวณอัตรากำลังในแต่ละระดับการศึกษาแล้วให้นำมารวมกันเพื่อกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังสายงานการสอนของสถานศึกษานั้นๆ

 

-โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาให้กำหนดอัตรากำลัง ดังนี้

  1. ระดับปฐมวัยหรือระดับประถมศึกษาให้นำจำนวนนักเรียนระดับปฐมวัยรวมกับจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษาแล้วกำหนดอัตรากำลังตามเกณฑ์อัตรากำลังข้างต้น
  2. ระดับมัธยมศึกษาให้นำจำนวนห้องเรียนแต่ละระดับการศึกษา ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร และชั่วโมงการปฏิบัติงานของครูมาคำนวณตามหลักสูตร ดังนี้

 

เมื่อคำนวณอัตรากำลังในแต่ละระดับการศึกษาแล้วให้นำมารวมกันเพื่อกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังสายงานการสอนของสถานศึกษานั้นๆ

 

7.2.2 สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป

กำหนดอัตรากำลังสายงานการสอนในสถานศึกษาโดยนำจำนวนนักเรียนแต่ละระดับการศึกษา ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร และชั่วโมงการปฏิบัติงานของครูมาคำนวณตามหลักสูตร ดังนี้

เมื่อคำนวณอัตรากำลังในแต่ละระดับการศึกษาแล้วให้นำมารวมกันเพื่อกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังสายงานการสอนของสถานศึกษานั้นๆ

 

7.3 สายงานสนับสนุนการศึกษา

กำหนดอัตรากำลังสายงานสนับสนุนการศึกษาในสถานศึกษา โดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ ความจำเป็น และภาระงานของสถานศึกษา ดังนี้

-จำนวนนักเรียน 1-359 คน ให้มีพนักงานราชการ/อัตราจ้าง 1 อัตรา

-จำนวนนักเรียน 360-719 คน ให้มีบุคลากรทางการศึกษาอื่น 1 อัตรา

-จำนวนนักเรียน 720-1,079 คน ให้มีบุคลากรทางการศึกษาอื่น 2 อัตรา

-จำนวนนักเรียน 1,080-1,679 คน ให้มีบุคลากรทางการศึกษาอื่น 3 อัตรา

-จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1,680 คน ให้มีบุคลากรทางการศึกษาอื่น 4 อัตรา

 

8.การกำหนดอัตรากำลังในสถานศึกษาปกติที่มีเด็กพิการเรียนรวม

ให้กำหนดอัตรากำลังเพิ่มจากอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามข้อ 7 เป็นพนักงานราชการหรืออัตราจ้างครูพี่เลี้ยงเด็กพิการตามความเหมาะสมกับจำนวนเด็กพิการ ประเภทของความพิการ และภาระงานของสถานศึกษานั้น

 

และกรณีมีความจำเป็นที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องกำหนดกรอบอัตรากำลังต่างไปจากเกณฑ์นี้ ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเสนอเหตุผลความจำเป็นและแนวทางการพัฒนาต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนเสนอพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

 

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์อัตรากำลังสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติม ได้ที่ >>> คลิก

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

-สำนักงาน ก.ค.ศ.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *