KOSEN KMUTT ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Thailand 4.0 วางเป้าหมายสร้างเทคโนโลยี

KOSEN KMUTT เกิดขึ้นภายใต้บริบทที่ประเทศต้องการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ Thailand 4.0 (new s-curve industry) ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) และเพื่อตอบสนองต่อโจทย์ของประเทศ จึงเป็นที่มาของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และทักษะวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านแนวคิด Story-based learning เรียนรู้ในสถานที่จริง และโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมาย คือ การผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ (Practical Engineer) สร้างสรรค์แนวคิดใหม่และลงมือผลิตนวัตกรรมได้จริง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมกับสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่นในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้บริบทของประเทศไทย “เราใช้เวลา 1 ปีในการหารือกับผู้เชี่ยวชาญของ KOSEN ประเทศญี่ปุ่น จึงมีความเห็นร่วมกันว่า อุตสาหกรรมไทยมีบริบทที่แตกต่างจากญี่ปุ่น  เป้าหมายคือการร่วมมือกันสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์การสร้างกำลังคนชองประเทศ เราเชิญทางญี่ปุ่นมาเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่ มจธ. หลายครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า…

อว.เดินสายโรดโชว์ Reinventing University 3 ภาค ประเดิมหาดใหญ่ที่แรก หวังเร่งสร้างความเข้าใจ พร้อมแนะแนวทางการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยแบบชัดเจน

สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยคณะอนุกรรมการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย หรือ Reinventing University ภายใต้กรอบนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวง อว.ได้เปิดตัวโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย หรือ Reinventing University เพื่อต้องการให้การศึกษาของไทยเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้มีคุณภาพ ดังนั้น การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิรูประบบอุดมศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศ สามารถผลิตบัณฑิตที่เชื่อมโยงกับความต้องการของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางใหม่ ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศสอบถามเกี่ยวกับตัวโครงการเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยออกเป็น 5 กลุ่มตามความถนัด เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจและเกิดความสับสนว่าสถาบันตัวเองควรอยู่กลุ่มไหน ดังนั้น เพื่อให้นโยบายการขับเคลื่อนโครงการเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  และการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยมีทิศทางที่ชัดเจน สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม…

รมว.ศธ. มั่นใจโควิดระบาดรอบสองไม่กระทบการเรียน พร้อมรับมือเรียนออนไลน์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยหากประเทศไทยเผชิญการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coivd-19) รอบที่ 2 ไม่กระทบการเรียนแน่นอนเพราะเคยรับมือการเรียนออนไลน์มาแล้ว   เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เปิดเผยหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ covid-19 (ศคบ.) ว่าที่ประชุมได้มีการหารือถึงเรื่องความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หากกรณีมีการระบาดของ covid-19 อีกครั้ง โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้มีการดำเนินการรับมือในเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว และสำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทางกระทรวงศึกษาธิการก็จะการบริหารจัดการเรื่องการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งจะต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามว่าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของ covid-19 ก็มีความจำเป็นที่จะต้องคุมเข้มและระมัดระวังก่อนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ อย่างไรก็ตาม นายณัฐพลมั่นใจว่าหากมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นระบบมาตรการของรัฐบาลจะสามารถติดตามตัวผู้ที่มีความเสี่ยงและสามารถควบคุมได้ ทั้งนี้…

ข่าวดี! มูลนิธิดำรงธรรม เปิดรับสมัครนักเรียนทุน เรียนจนจบป.ตรี รุ่นที่ 20 โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้-31 ม.ค. 64

มูลนิธิดำรงชัยธรรม เปิดรับสมัครนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช.3 อายุไม่เกิน 21 ปีสมัครโครงการทุน “สร้างคน สร้างบัณฑิต” รุ่นที่ 20/2564 เพื่อรับทุนการศึกษาใยระดับปริญญาตรี (ทุนต่อเนื่อง แบบครบวงจร) จำนวน 20 ทุน โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2563-31 มกราคม 2564   คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา -เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2563 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช.3…

อพวช.ติดปีกความรู้ให้ครูไทยในงาน EDUCA 2020 แนะแนวทางสร้างกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้นอกห้องเรียนนับเป็นกิจกรรมที่มีความหมายไม่แพ้การเรียนในห้องเรียน เพราะการหลุดออกมาจากพื้นที่สี่เหลี่ยมจะช่วยให้ผู้เรียนได้พบเจอกับโลกภายนอกที่มีหลายเรื่องราวให้ค้นหา และได้เปิดประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยพบเจอ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ และเกิดความเข้าใจต่อประเด็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง โดยในฝั่งของครูผู้สอนก็ต้องวางแผนว่าจะออกแบบการเรียนรู้อย่างไรให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด    ในฐานะของคนที่มีบทบาทและคลุกคลีกับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ นางสาวศิรประภา ศรีสุพรรณ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้ให้คำแนะนำไว้ในเวิร์คชอปออนไลน์หัวข้อ “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างแก่นเรื่องโดยใช้สถานที่เป็นฐาน กรณีศึกษาการสร้างการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์”ภายใต้ มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูครั้งที่ 13 หรือ EDUCA 2020  โดยบริษัท   ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ที่ปีนี้ได้ปรับโหมดมาสู่การจัดงานออนไลน์เต็มรูปแบบ   นางสาวศิรประภา กล่าวว่าเมื่อครูมีแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ หรือพานักเรียนไปทัศนศึกษานอกโรงเรียน จะต้องเตรียมข้อมูลพื้นฐานของสถานที่ดังกล่าวก่อนว่าเป็นอย่างไร และมีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรบ้าง โดยหัวใจสำคัญคือการดึงจุดแข็งของสถานที่มาสร้างกิจกรรมต่างๆ ทั้งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายหรือ    ธีมการเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของนักเรียนระหว่างทำกิจกรรม ซึ่งนี่เป็นลักษณะของการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างแก่นเรื่องโดยใช้สถานที่เป็นฐาน   ในแง่ของการสร้างการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ จุดเด่นอยู่ที่มีสิ่งจัดแสดงของนิทรรศการ และพื้นที่จัดแสดงเป็นโซนอย่างชัดเจน จึงสามารถกำหนดโซนต่างๆ เป็นฐานการเรียนรู้ได้ โดยครูต้องเลือกนิทรรศการที่ต้องการสื่อสารก่อน…

บ้านปูฯ เปิดค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม “เพาเวอร์กรีน” ครั้งพิเศษ

“บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)” ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ที่มุ่งมั่นพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน จึงจับมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดินหน้าสานต่อการสร้างสรรค์ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ‘เพาเวอร์กรีน’ ในรูปแบบพิเศษขึ้นภายใต้ธีม “Jungle Rumble – เสียงก้องจากป่าลึก” โดยจัดการแข่งขันตอบคำถามผ่านทางออนไลน์เป็นครั้งแรก สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อคัดเลือกเยาวชน 15 คน ไปทัศนศึกษาด้วยการเดินป่าแบบเจาะลึกที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่เยาวชน พร้อมทั้งสร้างแกนนำและเครือข่ายเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต โครงการค่าย “เพาเวอร์กรีน” ภายใต้ธีม “Jungle Rumble – เสียงก้องจากป่าลึก” ในปีนี้ เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ทั่วประเทศ ทุกแผนการเรียนทีมละ 3 คน สมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมแข่งขันตอบคำถามผ่านช่องทางออนไลน์รวม 2 รอบ เพื่อวัดพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทำภารกิจสะสมคะแนนผ่านสื่อออนไลน์ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 243 ทีม จากนั้นคัดเลือกผู้ชนะจำนวน 5 ทีม เพื่อไปทัศนศึกษา ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน…

รับสมัครแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจดิจิทัล 2563 (Digital Economy Contest: DEC2020) ชิงทุนการศึกษา

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กําหนดจัดการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Contest: DEC) ภายใต้โครงการการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์ สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ทั่วประเทศ ประจําปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 10 แล้ว รูปแบบ การแข่งขันในปีนี้ เป็นแบบประเภทเดี่ยว โดยไม่จํากัดจํานวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งในการแข่งขันรอบคัดเลือกจะมีการ อบรมและสอบคัดเลือกผ่านรูปแบบออนไลน์ เพื่อเฟ้นหาตัวแทนโรงเรียนหรือวิทยาลัยเข้า แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งได้กําหนดจัดขึ้น ในวันจันทร์ที่ 1 มีนาคม 2554 เวลา 09.30…

“สวนสุนันทา” จัดพิธีรับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2563 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ ในโอกาสอันสำคัญนี้ วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 09.19 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดพิธีรับพระบรมราชโองการเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมสุนันทานุสรณ์ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณะกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ นายกสมาคมศิษย์เก่าสวนสุนันทาในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตสวนสุนันทาฯ หัวหน้าหน่วยงาน พร้อมด้วยบุคลากร…

มหาวิทยาลัยที่ คนเรียนต่อ MBA ในประเทศเยอรมัน ต้องห้ามพลาด Berlin School of Business and Innovation (a great chance to study MBA abroad in Germany – introduce “Berlin School of Business and Innovation”)

ประเทศเยอรมัน เป็นอีกหนึ่งในสถานที่ในฝันที่คนอยากเรียนต่อ MBA ต้องนึกถึง วันนี้เราจะพาน้องๆชาว Eduzones มารู้จัก หนึ่งในมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงด้านธุรกิจ ในเยอรมัน  ‘Berlin School of Business and Innovation’ (BSBI) สถาบันระดับอุดมศึกษาใจกลางกรุงเบอร์ลินบนถนน Potsdamerc Schöneberg พื้นที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาได้ใกล้ชิดบริษัทนานาชาติที่ใหญ่ที่สุด! เล่าก่อนว่าแนวคิดหลักๆ ที่แฝงอยู่ในโปรแกรมทั้งหมดของ BSBI จะประกอบด้วย Enterprise, Leadership และ Success ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสู่การเป็นผู้นำเชิงนวัตกรรม ตอบโจทย์คนที่อยากก้าวสู่การเป็นผู้นำที่โดดเด่นในสาขาที่เลือกเรียนหรืออยากขยายธุรกิจตัวเอง โดย  BSBI จะเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีเป็นต้นไป จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งด้านธุรกิจ การตลาดดิจิทัล…

ทีม นศ.วิศวฯ มจธ.คว้ารางวัลออกแบบหัวรถจักรไฟฟ้า ผนึกทีมไทยแลนด์เข้าแข่งขันระบบราง IMechE Railway Challenge ที่ประเทศอังกฤษ

ทีมนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) “KMUTT Railway Team” คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสองการแข่งขัน “Electric Locomotive Design Contest 2020” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 – 13 พฤศจิกายน 2563 ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยเป็นหนึ่งในสามทีมที่จะแข่งขันสร้างต้นแบบ prototype ในไทยปี 2564 เพื่อค้นหาสุดยอดทีมนักศึกษาไทยเข้าร่วมแข่งขันหัวรถจักรไฟฟ้า IMechE Railway Challenge ณ ประเทศอังกฤษ ในปี 2564 ซึ่งประเทศไทยส่งทีมเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก ทีม KMUTT Railway Team เป็นการรวมทีมของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ. มีสมาชิกในทีมจำนวน 14 คน โดยมี ดร.ชาญชัย เตชะวัชราภัยกุล รศ.ดร.มงคล…