โลจิสติกส์ สวนสุนันทา ขานรับแผนรัฐหนุนผลิตกำลังคนสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ชี้ต้องการกว่า 6.6 ล้านคน แต่ผลิตได้แค่ 3.8 หมื่นคนเท่านั้น (ชมคลิปสัมภาษณ์)

รัฐบาลชุดปัจจุบัน ไฟเขียวเดินหน้าผลิตกำลังคน 7 สาขาอาชีพ รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S – Curve) ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยมีสาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน  เป็นอาชีพที่มีข้อมูลชี้ชัดว่าต้องการกำลังคนถึงกว่า 6,623,713 คน แต่ประเทศไทยเรายังมีความสามารถการผลิตกำลังคนได้แค่  38,970 คนเท่านั้น

ดร.ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวยันมีความพร้อมทุกด้าน ในการผลิตกำลังคนมืออาชีพสนองนโยบายรัฐบาล ชี้พิษโควิด – 19 ไม่ส่งผลกระทบเพราะเตรียมการเรียนการสอนออนไลน์พร้อมมีหลักสูตรทางไกลรองรับครบถ้วน ด้านคณาจารย์ทุกสาขาให้ความเชื่อมั่นนักเรียนที่จะเข้ามาเรียนจะได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่จากหลักสูตรที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาเพื่อรองรับอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชนโดยเฉพาะ มีที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น

โดยผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อสามารถดูข้อมูลและติดต่อสอบถามได้ที่

โทร. 062-491-3343 หรือ063-878-8208 ฝ่ายรับสมัครนักศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติมเว็บไซต์ https://cls.ssru.ac.th/
……………………………………………

ในส่วนของการสนับสนุนของรัฐบาลนั้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิต และพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565 จำนวน 7 สาขาอาชีพ ได้แก่

1. สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน (ช่างซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง)
ความต้องการกำลังคน (Demand) 7,280 คน (วิศวกรและช่างเทคนิค) ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) มีเพียง 5,670 คน

2. สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
นักวางแผนอุปสงค์ พนักงานควบคุมยานพาหนะมืออาชีพประเภทรถบรรทุกและนักจัดการโลจิสติกส์มืออาชีพด้านสินค้าเกษตรที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ
ความต้องการกำลังคน (Demand) 6,623,713 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 38,970 คน

3. สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ผู้ปฏิบัติงานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม]
ความต้องการกำลังคน (Demand) 11,521 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 7,140 คน

4. สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ 9 สาขา ได้แก่ นักพัฒนาระบบและนักทดสอบระบบ นักพัฒนาเกมและแอนิเมชัน, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ และนักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นักพัฒนาการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ ช่างโครงข่ายปลายทางด้านเครือข่ายใยแก้วนำแสง และนักบริหารโครงการสารสนเทศ
ความต้องการกำลังคน (Demand) มากกว่า 87,427 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 29,670 คน

5. สาขาอาชีพอาหารและเกษตร นักจัดการความปลอดภัยอาหาร นักพัฒนาอาหาร เกษตรกรอัจฉริยะ กลุ่มอาชีพโคนม กลุ่มอาชีพข้าว เป็นต้น ความต้องการกำลังคน (Demand) 177,314 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 48,864 คน

6. สาขาอาชีพปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงาน และพลังงานทดแทน ช่างเทคนิค สาขาสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และช่างเทคนิคสาขาการกลั่นและปิโตรเคมี ความต้องการกำลังคน (Demand) 2,137คน ความสามารถในการผลิตกำลังคน (Supply) 500 คน

7. สาขาอาชีพแม่พิมพ์ โดยนำร่องในสาขาอาชีพช่างแม่พิมพ์
ยังไม่มีข้อมูล Demand และ Supply เนื่องจากจะนำร่องในสาขาอาชีพแม่พิมพ์โดยจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องและต่อเนื่องกันไป

ซึ่ง (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ได้ประมาณการความต้องการกำลังคนในแต่ละสาขาอาชีพ ความสามารถในการผลิตกำลังคน จำนวนที่ต้องผลิตกำลังคนเพิ่มเติม

ทั้งนี้ คาดว่า 7 สาขาอาชีพจะใช้งบประมาณเบื้องต้นรวมทั้งสิ้น 5,687.71 ล้านบาท โดยความสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ 7 สาขาอาชีพเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างต้นแบบการผลิต และพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มีการยกระดับการเรียนการสอนทั้งในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้งร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม สร้างกำลังคนคุณภาพของประเทศให้มีเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S – Curve) และรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0
………………………………………

cr : อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกรัฐบาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *