10 กิจกรรมการเรียนรู้ทางไกลที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต

เมื่อนักเรียนไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่บ้านได้ พวกเขาจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อให้การเรียนรู้ดำเนินต่อไป

นี่คือ 10 กิจกรรมที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ เมื่อโรงเรียนต่าง ๆ หันมาใช้การเรียนรู้ทางไกลทั่วโลก แต่จะทำอย่างไรเมื่อนักเรียนบางคนนั้นไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

  • นักเรียนบางคนมีอุปกรณ์ที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้ให้ แต่อินเทอร์เน็ตไม่เอื้ออำนวย
  • นักเรียนบางคนใช้อินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ข้อจำกัดของข้อมูลและการรับข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกันทำให้เกิดปัญหา
  • นักเรียนบางคนไม่มีอุปกรณ์เลยหรืออินเทอร์เน็ตที่บ้านเลย

 

หากเราต้องการเรียนรู้ต่อไป แต่ไม่มีตัวเลือกเทคโนโลยีที่เท่าเทียมกันเราจะทำอย่างไร?

 

นอกเหนือจากการมอบหมายใบงานและคำถามทบทวนบทเรียนแล้ว ต่อไปนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทางไกลที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต 10 กิจกรรม เพื่อช่วยให้นักเรียนนั้นพัฒนาตนเองแม้ว่าไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนก็ตาม กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมประเภทที่ไม่ต้องอธิบายอะไรมากมาย แต่กลับให้ผลประโยชน์อย่างมาก และอาจเป็นสิ่งที่นักเรียนต้องการอีกด้วย

 

  1. อ่านหนังสือ

การส่งเสริมให้นักเรียนได้อ่านหนังสืออย่างอิสระในระหว่างการเรียนรู้ทางไกล อาจเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างหนึ่งที่เราสามารถทำได้ เพราะการส่งเสริมการอ่านอย่างอิสระ สามารถพัฒนาคลังคำศัพท์ การอ่านจับใจความ ความคล่องแคล่วในการอ่าน รวมไปถึงการพัฒนาความรู้รอบตัวได้ด้วย

  1. สอนผู้อื่น

การสอนสิ่งที่เคยเรียนรู้ให้กับผู้อื่น ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ของผู้สอนในเนื้อหาที่จะต้องสอนได้ ดังนั้น นักเรียนสามารถสอนคนอื่นไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง ผู้ปกครอง หรือสอนใครก็ได้ที่ยินดีรับฟังในสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ไป ไม่ว่าจะเรียนในห้องเรียนหรือที่อื่นก็ตาม

  1. ทำชิ้นงานในสิ่งที่สนใจ

หากทราบว่านักเรียนของคุณหลงใหลหรือชอบอะไรบ้าง พวกเขาสามารถใช้เวลาหลายชั่วโมงไปกับการทำสิ่งไหน แม้ว่าจะไม่มีใครขอให้ทำก็ตาม หากทราบคำตอบ ลองให้นักเรียนลองวางแผน และลงมือทำ นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ทำชิ้นงานในสิ่งที่พวกเขาสนใจ โดยปกติ แล้วการทำเช่นนี้อาจจะไม่สามารถทำได้ หรืออาจไม่มีเวลาทำภายใต้สถานการณ์ปกติ

  1. เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ

สิ่งนี้คล้ายกับการทำชิ้นงานในข้อที่ 3 ที่ต้องทำให้เห็นถึงการทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่แตกต่างกันตรงที่ว่า การพัฒนาทักษะนั้นต้องทำซ้ำ ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ติดตัวไปใช้ได้ตลอด

  1. ถามคำถาม

นักเรียนสามารถถามคำถามได้มากมาย เช่น ถามเกี่ยวกับชีวิต หรือถามเกี่ยวกับงานของพวกเขา ถามถึงความสำเร็จที่สำคัญ ถามเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาถนัด ซึ่งการสร้างคำถามโดยใช้เทคนิคการสร้างคำถาม (QFT) สามารถช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองหลังจากที่บทสนทนาจบลงได้

โดยขั้นตอนมีดังนี้ :

  1. สร้างจุดเน้นคำถาม
  2. สร้างคำถามมากมาย
  3. ปรับปรุงคำถามของคุณ
  4. วางกลยุทธ์
  5. ไตร่ตรอง

  1. ทำในสิ่งที่ตัวเองภาคภูมิใจ

กิจกรรมนี้คล้ายข้อ 3 และ 4 แต่แตกต่างกัน จากการทำในสิ่งที่ตัวเองภาคภูมิใจ โดยสิ่งนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเลือกสิ่งที่คุณต้องการจะทำ ได้ใช้เวลากับมัน  ข้อกำหนดเดียวคือเป็นอะไรก็ได้ที่ทำแล้วเป็นไปตามความต้องการมาตรฐานของคุณเอง

  1. ทบทวนสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ไป

การเสริมสร้างการเรียนรู้ในระยะยาว อาจมีความสำคัญมากเท่าเทียมกับกับการเรียนรู้ใหม่ ๆ มีวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่งในการเข้ารหัสแนวคิดในหน่วยความจำระยะยาวไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่า การฝึกดึงข้อมูล เป็นแนวคิดจากการวิจัยที่ว่าความจำระยะยาวจะดีขึ้นเมื่อเราดึงความคิดออกจากความทรงจำของเรา ใช้ความคิดที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้หรือเมื่อนานมาแล้วในสมอง ช่วยให้เราจดจำได้ในอนาคต

  1. ไตร่ตรอง

การไตร่ตรองถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มา นักเรียนสามารถฝึกการไตร่ตรอง เพื่อเป็นการจัดระเบียบความคิดของนักเรียนเอง

  1. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายไม่ได้สอนเนื้อหาใหม่ให้นักเรียนของคุณ แต่เป็นส่วนสำคัญกับสมองส่วนความคิด และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคิดของนักเรียน

  1. อยู่นิ่ง ๆ

การอยู่คนเดียว เงียบ ๆ ถือว่าเป็นการพักผ่อนสมอง ประโยชน์ของการพักสมองนั้น ทำให้สมาธิของคุณดีขึ้น มีความคิดเชิงลึกและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

เรียบเรียงมาจาก:
10 no-internet remote learning activities. https://ditchthattextbook.com/no-internet-remote-learning/?fbclid=IwAR3XU3SnDt6cDaSMy3sOcnttnxLK3d0kVyLWg6ZXw1Yz2jqFbJQXplz24Ms

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *