7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565

7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565

ครม. เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565 จำนวน 7 สาขาอาชีพ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (29 ธันวาคม 2563) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 2 เรื่อง คือ เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565 จำนวน 7 สาขาอาชีพ และโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

จะกล่าวถึงในข้อที่ 1 คือเรื่องการเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสายอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565 จำนวน 7 สาขาอาชีพ เชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี) ได้แก่ โลจิสติกส์, โครงสร้างพื้นฐาน, โลจิสติกส์ซัพพลายเชน, หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์, อาหารและเกษตร, ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และแม่พิมพ์

สำหรับการจัดทำร่างฉบับดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 แต่นำแผนฉบับนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้ง โดยได้ทบทวนและมองถึงปัญหาเรื่องการผลิตและการพัฒนากำลังคนเนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ได้กำชับถึงการวางแผนและการพัฒนากำลังคนต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดให้มากที่สุด โดยจะต้องทำให้เชื่อมโยงกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน (BOI) ด้วย ซึ่งแต่ละสาขาอาชีพได้ประมาณความต้องการกำลังคน เช่น สาขาวิชาโลจิสติกส์ซัพพลายเซน มีความต้องการกำลังคนถึง 6.6 ล้านคน แต่ขณะนี้มีความสามารถผลิตกำลังคนสาขาวิชานี้ได้เพียง 38,000 คน โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการเบื้องต้น 606.94 ล้านบาท

สำหรับกรอบแนวในทางการดำเนินการจัดทำแผน มีดังนี้

  1. ศึกษาความต้องการกำลังคนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยร่วมมือกับสถานประกอบการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสามารถปรับตัวสอดรับกับทักษะ/สมรรถนะที่ทันสมัย
  2. กำหนดระบบการพัฒนากำลังคน โดยการนำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพมาเป็นแกนหลักในการกำหนดหลักสูตรทั้งในภาคการศึกษาและหลักสูตรการอบรมในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงออกแบบการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อพัฒนากำลังคนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3) พัฒนา เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพกับระดับคุณวุฒิการศึกษาและการฝึกอบรม เช่น วิเคราะห์มาตรฐานอาชีพที่มีอยู่เดิม/ปรับปรุงเพิ่มเติมตามความต้องการกำลังคน เป็นต้น

4) กำหนดรูปแบบและแนวทางปฏิบัติ การเทียบโอนประสบการณ์การยกระดับทักษะ (Up – Skills) และปรับทักษะ (Re – SkiIls)

5) กำหนดครุภัณฑ์และสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากำลังคน

6) เสนอแนวทางการพัฒนาครูและครูฝึกในสถานประกอบการ เช่น จัดทำหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาครูเพื่อให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น

7) เสนอรูปแบบการวัดผล ประเมินผลสมรรถนะผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ

8) ส่งเสริมการมีงานทำและการมีรายได้ที่เหมาะสม

9) องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การเชื่อมโยงกับมาตรฐานสากล เป็นต้น

ในแต่ละสาขาอาชีพได้มีการประมาณการความต้องการกำลังคน ความสามารถในการผลิตกำลังคน จำนวนที่ต้องผลิตกำลังคนเพิ่มเติม เป้าหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคน และวงเงินงบประมาณเบื้องต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S – Curve) และรองรับการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 และทางทีมงานเอ็ดดูโซนได้นำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ 7 สาขาแห่งอนาคตไว้เป็นตอนให้น้อง ๆ ได้อ่านกันอย่างง่าย ๆ โดยสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ตามนี้

EP.1 สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน คลิก 

EP.2 สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คลิก

EP.3 สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คลิก

EP.4 สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ คลิก

EP.5 สาขาอาชีพอาหารและเกษตร คลิก

EP.6 สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงาน คลิก

EP.7 สาขาอาชีพแม่พิมพ์ คลิก

สำหรับ 7 สาขาอาชีพที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากน้อง ๆ คนไหนสนใจ อยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา  สามารถคลิ๊กตามลิงค์ที่พี่ได้ใส่ไว้ตามรายสาขาวิชาอาชีพตามข้างต้นได้เลยค่ะ

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *