7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ EP.6 : สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน

สวัสดีค่ะทุกคน พี่ ๆ ทีมงานเอ็ดดูโซนจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสาขาวิชาทั้ง 7 ซึ่งเป็นสาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565 ที่ทาง ครม. มีมติให้เป็น 7 สาขาที่ต้องการพัฒนากำลังคนและเป็นสาขาอาชีพที่จำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1.สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2.สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3.สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4.สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ 5.สาขาอาชีพอาหารและเกษตร 6.สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ 7.สาขาอาชีพแม่พิมพ์ และเราก็ได้แนะนำไป 5 สาขากันแล้ว ในวันนี้ก็เดินทางมาถึง EP.6 สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความโด่งดังมากและเขาว่ากันว่า เป็นอาชีพที่เงินเดือนเยอะมาก ๆ พูดแบบนี้พี่ชักจะอยากรู้แล้วล่ะค่ะว่าสาขานี้เรียนยังไง ต้องทำอะไรบ้าง แล้วจบไปจะทำอะไรนะ แล้วน้อง ๆ ล่ะคะอยากรู้กันไหมเอ่ย ถ้าอยากรู้ก็ตามพี่ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่า

สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงงานทดแทน

การใช้พลังงานของมนุษย์ในปัจจุบันนี้มีมากขึ้นทุกวัน ทั้งใช้ในการดำเนินชีวิต ในการประกอบอาชีพ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะด้วยความต้องการที่จะสร้างความสะดวกสบายให้กับตัวเอง ซึ่งเชื้อเพลิงหรือพลังงานที่ใช้กันส่วนมากเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการคิดค้นพลังงานทดแทนขึ้นเพื่อให้สามารถเอามาใช้แทนพลังงานจริง ๆ ได้ และทำให้พลังงานยังคงไม่หมดไปจากโลกใบนี้ ซึ่งสาขาวิชานี้เป็นสายอาชีพที่ขาดตลาด และตลาดแรงงานมีความต้องการเป็นอย่างมาก เมื่อเรียนจบไปไม่ตกงาน มีงานทำแน่นอน ว่าแต่สาขาวิชาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และพลังงานทดแทนเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง จบแล้วทำงานด้านไหนดี มีมหาวิทยาลัยที่ไหนเปิดบ้าง อย่ามัวรอช้า ไปดูกันเลย

 

สาขาปิโตรเลียม

สาขาปิโตรเลียมเรียนอะไรบ้าง ?

          อย่างที่เข้าใจกันดีว่าปิโตรเลียมจะเป็นงานที่เกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสาขานี้ก็จะศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจการเจาะ การสกัดและการผลิตน้ำมัน จากแหล่งใต้ผิวดิน ซึ่งจะเรียนรู้ทุกขั้นตอนการผลิตก็ว่าได้ โดยมีทั้งการออกแบบ ศึกษา และวางแผนการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในการศึกษาสาขาวิชาปิโตรเลียมจะศึกษาเน้นไปทางฟิสิกส์ เพราะเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับหลักการ ความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เพื่อมาประเมินการผลิตน้ำมัน และยังมีคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรม การวางแผนวงจรไฟฟ้า การบริหารและการจัดการทางเคมี อีกทั้งยังมีการออกแบบเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

 

จบไปทำงานอะไร ?

วิศวกรรังวัด

– วิศวกรเหมืองแร่

– วิศวกรเคมี

– วิศวกรความปลอดภัย

– นักเดินเรือ

– หน่วยงานราชการ ได้แก่ กองเชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี กรมพลังงานทหาร อาจารย์มหาวิทยาลัย

– บริษัทน้ำมัน ได้แก่ ปตท. สำรวจและผลิต Thai shell, Unocal, chevron

– บริษัทเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้แก่ บริษัทจำพวก service companies ได้แก่ schlumberger, halliburt on, baker hugh, BJ service, soientific Drilling และ อื่น ๆ

 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาขางานปิโตรเลียม

– วิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– Engineering Program in Geotechnologyม.สุรนารี

– สาขาปิโตรเคมี และวัสดุพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

– สาขาปิโตรเคมี และวัสดุพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

– มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม

– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม

– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่

– หลักสูตรวิศวกรรมปิโตรเคมี ภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

– ภาควิชาปิโตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

– ภาควิชาปิโตรเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

สาขางานควบคุมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้า

สาขางานควบคุมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าเรียนเกี่ยวกับอะไร ?

สาขางานควบคุมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าเป็นสาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้า การดูแลบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าช่วยให้ยืดอายุการใช้งานและรักษาประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้เกิดผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด สาขานี้จึงเรียนตั้งแต่ตรวจสอบและควบคุมระบบผลิตไฟฟ้า ตรวจเช็คความปกติของเครื่องจักร อุปกรณ์ ตรวจสอบและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า จัดทำแผนบำรุงเชิงป้องกัน และจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนและซ่อมบำรุงเครื่องอุปกรณ์ เพื่อให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีความสมบูรณ์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้นั่นเอง

 

สาขางานควบคุมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจบไปทำงานอะไร ?

-ผู้ปฏิบัติงานในส่วนการควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า

“มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาขางานปิโตรเลียม”

– วิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– Engineering Program in Geotechnology มหาวิทยาลัยสุรนารี

– สาขาปิโตรเคมี และวัสดุพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

– สาขาปิโตรเคมี และวัสดุพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

– มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม

– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม

– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่

– หลักสูตรวิศวกรรมปิโตรเคมี ภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

– ภาควิชาปิโตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

– ภาควิชาปิโตรเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

สาขางานเทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้า

สาขางานเทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้าเรียนเกี่ยวกับอะไร ?

สาขางานเทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้าจะศึกษาครอบคลุมเกี่ยวกับระบบการการผลิตไฟฟ้าไปจนถึงการส่งกระแสไฟฟ้า ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบผลิตไฟฟ้า ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุงในการผลิตไฟฟ้า วางแผน ควบคุมการสั่งการดำเนินงานของสถานีผลิตไฟฟ้า และในการทำงานจริงจึงมีความจำเป็นในการที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับการเดินสายไฟเพื่อส่งกระแสไฟฟ้า การจ่ายโหลดพลังงานไฟฟ้า และยังด้องมีความสามารถในการประสานงานเจ้าหน้าที่ควบคุมสั่งจ่ายไฟ อีกทั้งเตรียมพร้อมกับภาวะฉุกเฉินของเครื่องมือภายในพื้นที่ควบคุม

 

สาขางานเทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้าจบไปทำงานอะไร ?

– วิศวกรด้านไฟฟ้ากำลัง

– เจ้าหน้าที่ติดตั้งระบบไฟฟ้า

– งานออกแบบระบบไฟฟ้า

– งานเขียนโปรแกรมควบคุมไฟฟ้า

– งานออกแบบระบบส่องสว่าง

 

สาขางานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขางานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

สาขางานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะศึกษาเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าของระบบโซลาร์เซลล์ ศึกษาโครงสร้างและหลักการทำงานของโซลาร์เซลล์ การต่อแผงโซล่าเซลล์ใช้งานกับระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ร่วมกับการต่อเชื่อมระบบจำหน่ายไฟฟ้า นอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แล้ง ยังศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนและสั่งการดำเนินงานของสถานีผลิตไฟฟ้า  ดูแลบำรุงรักษาโซลาร์เซลล์ การดูแลบำรุงรักษาตัวแปลงกระแสไฟฟ้า และระบบเชื่อมต่อต่าง ๆ และการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

 

สาขางานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จบไปทำงานอะไร ?

– ผู้ปฏิบัติงานด้านการขายระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

– ผู้ปฏิบัติงานด้านติดตั้ง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

– ผู้ปฏิบัติงานด้านออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

 

 ทั้ง 3 สาขานี้อาชีพที่เกี่ยวกับกลุ่มพลังงานและพลังงานทดแทน สามารถศึกษาต่อได้ที่มหาวิทยาลัยต่อไปนี้

– สาขาวิชาไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

– สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

– ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

– ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

– สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

–  มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

–  มหาวิทยาลัยนครพนม  คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยนครพนม วิทยาลัยธาตุพนม สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

–  มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

– มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

– มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

– มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง คณะเทคโนโลยีการอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

–  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

–  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  คณะเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ    คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี เทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร   คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล   คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคขอนแก่น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคสกลนคร คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคสกลนคร คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคสุรินทร์ เทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า

– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

– มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า – อิเล็กทรอนิกส์

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรมและพลังงาน

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ   บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธรไทย-เยอรมัน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

– มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

–  มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร

–  มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร

– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน

– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

– มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยปทุมธานี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

– มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยสยาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน

– มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

– มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

– วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้ากำลัง

– วิทยาลัยพิชญบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

 

เป็นยังไงบ้างคะน้อง ๆ กับสาขาอาชีพปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน  ได้เห็นกันแล้วใช่ไหมเอ่ย กับหลักสูตรที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน ซึ่งสาขาวิชานี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ชอบเกี่ยวกับวิชาเคมี ชอบทำการทดลอง ได้คิดค้นสารหรือพลังงานต่าง ๆ เพื่อเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต  ซึ่งทั้ง  3 หลักสูตรนี้ก็จะมีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป แต่ละหลักสูตรก็จะมีจุดเด่นเฉพาะตัว น้อง ๆ สามารถนำจุดเด่นทั้งหมดนี้ มาพิจารณาในการเลือกวิชาชีพที่จะศึกษาต่อ และแน่นอนว่าสาขาอาชีพทั้ง 7 สาขาตามกรอบคุณวุฒิที่พี่ ๆ ได้นำมาแนะนำน้อง ๆ นั้น เป็นสาขาอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการและเมื่อเรียนจบไปมีงานรับรองแน่นอน และสำหรับ EP ต่อไปจะเป็นสาขาวิชาชีพไหน ใช่สาขาวิชาชีพที่น้อง ๆ สนใจหรือเปล่า อย่าลืมติดตามข่าวสารกันนะคะเด็ก ๆ หากน้อง ๆ คนไหนอยากรู้ว่า 7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิมีอะไรบ้างสามารถเช็กได้ที่

EP.1 สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน คลิก 

EP.2 สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คลิก

EP.3 สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คลิก

EP.4 สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ คลิก

EP.5 สาขาอาชีพอาหารและเกษตร คลิก

EP.6 สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงาน คลิก

EP.7 สาขาอาชีพแม่พิมพ์ คลิก

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *