7 อาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิ EP. 3 : สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

สวัสดีค่ะทุกคน เดินทางมาถึง EP. 3 กันแล้ว วันนี้พี่ ๆ ทีมงานเอ็ดดูโซนจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสาขาวิชาทั้ง 7 ซึ่งเป็นสาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565 ที่ทาง ครม. มีมติให้เป็น 7 สาขาที่ต้องการพัฒนากำลังคนและเป็นสาขาอาชีพที่จำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1.สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2.สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3.สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4.สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์  5.สาขาอาชีพอาหารและเกษตร 6.สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ 7.สาขาอาชีพแม่พิมพ์ ครั้งที่แล้วพี่ ๆ พาไปทำความรู้จักกับสาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชนกันแล้ว และสำหรับ EP. 3 ของเรา พี่ ๆ จะพามาทำความรู้จักกับสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แค่ได้ยินชื่อก็ตื่นเต้นกันแล้วใช่ไหมคะ งั้นอย่ารอช้า เราไปดูกันเลยว่าสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเนี่ยจะเรียนเกี่ยวกับอะไร และมีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนบ้างนะ ตามมาเลยค่า

สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่าในปัจจุบันโลกของเรานั้นอยู่ในยุคเทคโนโลยี หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ด้วยความที่หุ่นยนต์นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัตินั้นมีความสามารถหลากหลายด้าน จึงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแทบจะทุกอย่าง มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในยุค 4.0การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมทำให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้นและช่วยลดต้นทุนการผลิตในงานอุตสาหกรรมได้มากเลยทีเดียว ดังนั้นสายการเรียนที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจึงน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการเลือกศึกษาต่อ และน่าจะถูกใจมาก ๆ สำหรับผู้ที่ชอบหุ่นยนต์ ว่าแต่จะมีสาขาอะไร งั้นไปดูกันเลย!

 

หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเรียนอะไรบ้าง?

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิศวกรรมศาสตร์  การใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและเครื่องมือต่าง ๆ การออกแบบระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม พัฒนาระบบอัตโนมัติ แก้ไขปัญหาในงานหุ่นยนต์ และรวมไปถึงศึกษาเกี่ยวกับระบบโครงสร้าง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติ ตลอดจนการเขียนแบบทางวิศวกรรมและการใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมการผลิต

 

หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจบแล้วทำอะไร?

– วิศวกรออกแบบและพัฒนาระบบอัตโนมัติ

– วิศวกรออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์

– วิศวกรฝ่ายขายและฝึกอบรม

– วิศวกรควบคุมระบบอัตโนมัติ

– วิศวกรโครงการด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

– วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต

 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

– สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) สาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เป็นยังไงบ้างคะน้อง ๆ กับสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้เห็นกันแล้วใช่ไหมเอ่ย กับหลักสูตรที่เกี่ยวกับสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  ซึ่งสาขาวิชานี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ชอบในเรื่องเทคโนโลยี ชอบระบบอัตโนมัติ เรื่องการควบคุมโดยเทคโนโลยีต่าง ๆ และชอบในการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ซึ่งหลักสูตรนี้ก็จะมีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ทางมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะจัดสอน แต่ละหลักสูตรก็จะมีจุดเด่นเฉพาะตัว น้อง ๆ สามารถนำจุดเด่นทั้งหมดนี้ มาพิจารณาในการเลือกวิชาชีพที่จะศึกษาต่อ และแน่นอนว่าสาขาอาชีพทั้ง 7 สาขาตามกรอบคุณวุฒิที่พี่ ๆ ได้นำมาแนะนำน้อง ๆ นั้น เป็นสาขาอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการและเมื่อเรียนจบไปมีงานรับรองแน่นอน และสำหรับ EP ต่อไปจะเป็นสาขาวิชาชีพไหน ใช่สาขาวิชาชีพที่น้อง ๆ สนใจหรือเปล่า อย่าลืมติดตามข่าวสารกันนะคะเด็ก ๆ หากน้อง ๆ คนไหนอยากรู้ว่า 7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิมีอะไรบ้างสามารถเช็กได้ที่

EP.1 สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน คลิก 

EP.2 สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คลิก

EP.3 สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คลิก

EP.4 สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ คลิก

EP.5 สาขาอาชีพอาหารและเกษตร คลิก

EP.6 สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงาน คลิก

EP.7 สาขาอาชีพแม่พิมพ์ คลิก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *