7 อาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิ EP. 5 : สาขาอาชีพอาหารและเกษตร

สวัสดีค่ะทุกคน พี่ ๆ ทีมงานเอ็ดดูโซนจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสาขาวิชาทั้ง 7 ซึ่งเป็นสาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565 ที่ทาง ครม. มีมติให้เป็น 7 สาขาที่ต้องการพัฒนากำลังคนและเป็นสาขาอาชีพที่จำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1.สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2.สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3.สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4.สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ 5.สาขาอาชีพอาหารและเกษตร 6.สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ 7.สาขาอาชีพแม่พิมพ์ และใน EP นี้ เป็นคิวของสาขาที่ต่างไปจากสาขาอื่น ๆ คือ สาขาอาหารและการเกษตร เชื่อว่าหลาย ๆ คน โดยเฉพาะสายกินแบบพี่เนี่ย กำลังรอสาขานี้อยู่ใช่ไหมคะ พี่ก็อยากรู้แล้วค่ะว่าสาขานี้เขาจะเรียนเกี่ยวกับอะไรกันนะ ให้ทำอาหารแล้วชิมทั้งวันเลยหรือเปล่า พูดแล้วก็หิวเลยค่ะ เรารีบไปดูกันดีกว่า

สาขาอาชีพอาหารและเกษตร

          อย่างที่ทราบกันดีว่าทั้งในเรื่องของการเกษตรและอาหารมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิต และที่สำคัญการเกษตรเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย เนื่องจากเราใช้สารพัดประโยชน์จากพืชและสัตว์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน และมีการแปรรูปสินค้าและอาหารออกไปสู่ตลาดต่างประเทศอีกด้วย ทำให้การเกษตรและอาหารมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนในประเทศจำเป็นต้องกินต้องใช้ เมื่อเรียนจบไปไม่ตกงานแน่นอน แต่ว่าสาขาวิชาอาหารและเกษตรเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง จบแล้วทำงานด้านไหนดี มีมหาวิทยาลัยที่ไหนเปิดบ้าง อย่ามัวรอช้า ไปดูกันเลย

 

สาขาการจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร

สาขาการจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารเรียนอะไรบ้าง ?

          สาขาวิชานี้จะเน้นเรื่องการเรื่องการแปรรูปและการผลิตอาหารเชิงอุตสาหกรรม ไม่ได้เข้าครัว ไม่ได้เรียนทำอาหารอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ ในเรื่องของความยากง่ายนั้น ขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก สาขาวิชานี้เรียนเกี่ยวกับวิชาชีวะ เคมี ซะส่วนมาก ในเรื่องของการคำนวณสาขาวิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณน้อยมาก ในช่วงของชั้นปีที่ 1 จะเรียนเกี่ยวกับ ปฏิบัติการชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ จุลชีววิทยา หลักการจัดการ เป็นต้น จากนั้นในช่วงชั้นปีที่ 2 – 3 นักศึกษาจะได้เรียนเจาะลึกลงไปในแต่ละรายวิชา โดยจะเรียนเน้นด้านเคมีอาหาร การวิเคราะห์อาหาร โครงสร้างของอาหาร การเปลี่ยนแปลงของวัสดุชีวภาพหลังการเก็บเกี่ยว จุลชีวะของอาหาร การแปรรูปอาหาร การประกันคุณภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โภชนาการในการแปรรูปอาหาร ปฏิบัติการเคมีอาหาร มาตรฐานการผลิตและกฎหมายอาหาร วิธีการจัดการอาหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น

สาขาการจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารจบสาขานี้มาทำงานอะไร ?

– สายอาชีพเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ เช่น นักเทคโนโลยีอาหาร นักโภชนาการ นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในทางอาหารในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารในสถานประกอบการต่างๆ เป็นต้น

– สายอาชีพเกี่ยวกับโรงพยาบาล เช่น นักโภชนาการในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จัดการเกี่ยวกับอาหาร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมดูแลและรักษาสุขภาพ เป็นต้น

– สายอาชีพเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เจ้าหน้าที่จัดการเกี่ยวกับอาหาร โดยทำหน้าที่ฝ่ายผลิต หรือฝ่ายควบคุม/ประกันคุณภาพ หรือฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายตรวจวิเคราะห์อาหาร การตรวจรับรองระบบคุณภาพหรือความปลอดภัยของอาหาร เป็นต้น

– สายอาชีพข้าราชการในหน่วยงานรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรเจ้าหน้าที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันอาหาร เป็นต้น

– สายอาชีพเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร เช่น ผู้ประกอบการอิสระโดยใช้ความรู้ด้านนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร เป็นต้น

– สายอาชีพเกี่ยวกับหน่วยงานเอกชน ผู้ตรวจสอบคุณภาพและประกันคุณภาพ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นักการผลิตและนักวิชาการในหน่วยเอกชน เป็นต้น

– สายอาชีพเกี่ยวกับการศึกษา ครู หรือ อาจารย์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาขาจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร

– มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร

– มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการ

– คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร

– มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา – อาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาโภชนาการอาหารและการกำหนดอาหาร

– มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะเทคโนโลยี สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะเกษตรศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา คณะศิลปศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ

– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร

– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะเกษตร สาขาอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคโนโลยี สาขาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร

– มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาโภชนาการชุมชน

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาโภชนาการอาหารและการกำหนดอาหาร

– มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โรงเรียนการเรือน สาขาโภชนาการและการประกอบอาหาร

– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร

– มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ สาขาวิทยาการอาหารและโภชนาการ

– มหาวิทยาลัยคริสเตียน คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ

 

เป็นยังไงบ้างคะน้อง ๆ กับสาขาอาชีพอาหารและเกษตร ได้เห็นกันแล้วใช่ไหมเอ่ย กับหลักสูตรที่เกี่ยวกับอาชีพอาหารและเกษตร ซึ่งหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ชอบเทคโนโลยีการเก็บอาหาร ชอบเรียนวิชาเคมีและชีวะ สำหรับคนที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ก็สามารถเรียนวิชานี้ได้ เพราะมีคำนวณน้อยมาก ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรนี้ก็จะมีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป แต่ละหลักสูตรก็จะมีจุดเด่นเฉพาะตัว น้อง ๆ สามารถนำจุดเด่นทั้งหมดนี้ มาพิจารณาในการเลือกวิชาชีพที่จะศึกษาต่อ และแน่นอนว่าสาขาอาชีพทั้ง 7 สาขาตามกรอบคุณวุฒิที่พี่ ๆ ได้นำมาแนะนำน้อง ๆ นั้น เป็นสาขาอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการและเมื่อเรียนจบไปมีงานรับรองแน่นอน และสำหรับ EP ต่อไปจะเป็นสาขาวิชาชีพไหน ใช่สาขาวิชาชีพที่น้อง ๆ สนใจหรือเปล่า อย่าลืมติดตามข่าวสารกันนะคะเด็ก ๆ หากน้อง ๆ คนไหนอยากรู้ว่า 7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิมีอะไรบ้างสามารถเช็กได้ที่

EP.1 สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน คลิก 

EP.2 สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คลิก

EP.3 สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คลิก

EP.4 สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ คลิก

EP.5 สาขาอาชีพอาหารและเกษตร คลิก

EP.6 สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงาน คลิก

EP.7 สาขาอาชีพแม่พิมพ์ คลิก

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *