รมว.ศธ.เผย 4 วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.)
เข้ารับตําแหน่งอย่างเป็นทางการณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระพุทธรูปประจํากระทรวง พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์สยามิศรจักรี สัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์ศาลพระภูมิ และพระบรม-ราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖)
จากนั้นพบปะและมอบนโยบายผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ
ณ ห้องประชุมราชวัลลภอาคารราชวัลลภ

โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้นําเสนอ๔วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่

1.การผลักดันโรงเรียนคุณภาพของชุมชนและการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นการสานต่อนโยบายเดิมของกระทรวงฯ ที่ต้องการขับเคลื่อนให้แต่ละชุมชนได้มีโรงเรียนที่มีคุณภาพอย่างน้อย 1 โรงเรียนขึ้นไป
ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ําของโอกาสในการศึกษา ทําให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโรงเรียนที่ดีใกล้บ้านของตนได้ ทั้งนี้ จะดําเนินการให้มีความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมการศึกษา ตลอดจนด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม โดยทั้งสามด้านดังกล่าวมีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญเป็นอันดับแรก คือ “สวัสดิการครู”เพื่อเป็นการบํารุงขวัญกําลังใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติงาน
สําหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น ขณะนี้เรามีพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 ซึ่งโดยหลักการสอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่อยู่ในระหว่างการดําเนินการและคาดว่าจะประกาศใช้เร็ว ๆ นี้ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ตนได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวมาอย่างดี โดยเชื่อว่า การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพนั้นเป็นพื้นฐานที่สําคัญที่สุดต่อพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยต่อมาจึงพร้อมที่จะดําเนินการต่าง ๆ ให้สอดรับกับกฎหมายแม่บทต่อไปอย่างแน่นอน

 2.ความปลอดภัยของสถานศึกษา โรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทยถือเป็น “พื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone)”จากการบูลลี่ (bully)และการทารุณกรรมเด็ก (Child Abuse) โดยสําหรับนักเรียนแล้วโรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของพวกเขา ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็กและผู้ปกครองในระยะแรกจึงต้องมีการดําเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดกับผู้กระทําความผิดต่อนักเรียนที่ถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ไม่ว่าด้านชีวิต ร่างกาย เพศ หรือจิตใจ อันจะนํามาสู่การดําเนินการในระยะต่อมา
คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่ายในการวางตัวและการปฏิบัติต่อกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะมีตั้งแต่การลงรายละเอียดเป็นแนวปฏิบัติ (Code of Conduct) ที่เป็นรูปธรรมการผลิตและสนับสนุนสื่อทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นวงกว้างไปจนถึงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งที่จะพัฒนาใหม่และสานต่อโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น Youth Counselorของสพฐ.ให้มีการทํางานเชิงรุกตามสถานศึกษาต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

3.ความรู้เรื่องดิจิทัลและทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดความนิยมในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์(Online) มากยิ่งขึ้น
กระทรวงฯ จะเร่งดําเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําของโอกาสในการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความพร้อมของโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ที่จําเป็น ให้มีความทั่วถึง รองรับการใช้งานของผู้เรียนทุกระดับ
นอกจากนี้ การพัฒนาแหล่งข้อมูล แหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลายก็เป็นสิ่งจําเป็น โดยจะประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่มีศักยภาพในการรณรงค์เรื่องดังกล่าวเข้ามาทํางานร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษา(Big Data) เพื่อเตรียมคนไทยให้มีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ (Resilience)

4.การขับเคลื่อนภาพลักษณ์ที่ดีของการอาชีวศึกษาปัจจุบันประเทศไทยกําลังประสบปัญหาการขาดแคลนช่างฝีมือ ซึ่งเป็นผลจากการดําเนินนโยบายด้านการศึกษาที่ไม่สอดรับกับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับทัศนคติของผู้ปกครองและผู้เรียนไทยที่มองว่าระบบอาชีวศึกษาเป็นที่รองรับของผู้เรียนที่ไม่สามารถศึกษาต่อในสายสามัญได้ จึงต้องมีการขับเคลื่อนภาพลักษณ์ที่ดีของการอาชีวศึกษาในประเทศไทยให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
โดยระยะแรกจะมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สถาบันอาชีวศึกษาที่มีมาตรฐานชั้นนําในระดับประเทศให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง เพื่อให้ผู้เรียน และผู้ปกครองเห็นถึงโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าทางวิชาชีพอันจะก่อให้เกิดความมั่นใจที่จะเลือกศึกษาต่อในสายอาชีวะมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาผ่านมาตรการจูงใจต่าง ๆ ต่อไป

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยังได้นําเสนอรูปแบบการทํางาน“TRUST”ดังนี้

“TRUST”หมายถึง “ความไว้วางใจ”รูปแบบการทํางานที่จะทําให้ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เรียน และประชาชน กลับมาให้ความไว้วางใจในการทํางานของกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้งโดย
Tย่อมาจาก Transparency (ความโปร่งใส)
R ย่อมาจาก Responsibility (ความรับผิดชอบ)
U ย่อมาจาก Unity (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว)
S ย่อมาจาก Student-Centricity (ผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนา)
T ย่อมาจาก Technology (เทคโนโลยี)

ที่มา นสพ.พิมพ์ไทย รายวัน https://www.pimthai.co.th/65447

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *