รัฐเร่งผลิตด่วน บุคลากร “การบินและโลจิสติกส์-หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม”ป้อนอุตสาหกรรม S-curve

กระทรวงแรงงาน สั่งขับเคลื่อน 2 อุตสาหกรรม “หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม-การบินและโลจิสติกส์” รัฐเร่งผลิตด่วน บุคลากรป้อนอุตสาหกรรม S-curve

ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมายเอสเคิร์ฟ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และพิจารณาแผนพัฒนาแรงงานและประสานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (พ.ศ.2565 – 2570) ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์

ทั้งนี้เป็นการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ของ 2 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้ผ่านการ Workshops สำรวจความต้องการ และหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้ว อุตสาหกรรมแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิตหุ่นยนต์ กลุ่มผู้ใช้หุ่นยนต์ กลุ่มนักบูรณาการระบบ และกลุ่มผู้สร้างเครื่องจักรกลอัตโนมัติ

ส่วนอุตสาหกรรมที่สอง ได้แก่ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ประกอบด้วย ด้านบริการลูกค้า ด้านการวิเคราะห์และวางแผน ด้านคลังสินค้าและการกระจายสินค้า ด้านการจัดซื้อและจัดหา ด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์ และด้านการขนส่ง

โดยจะแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการด้าน New Skills / Up Skills / Re Skills ตลอดจนหน่วยฝึกอบรม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อแรงงานได้อย่างยั่งยืนต่อไป
…………

S-curve คืออะไร

เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เกี่ยวกับข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth ) โดยหลัก ๆ แล้ว จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. First s-curve : ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ
2. New S-curve : ที่เป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่

โดยมีเป้าหมายว่าทั้ง 2 ส่วนนี้จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างก้าวกระโดด และช่วยต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม เพื่อเพิ่มรายได้ของประชากรได้มากขึ้นอีกด้วย

ทั้ง 2 ส่วนนี้ เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบการลงทุนที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต

1. First s-curve : นั้นเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยการลงทุนชนิดนี้ จะอยู่ในช่วงการเติบโตทางเศษฐกิจในระยะสั้น และ ระยะกลางเพียงเท่านั้น
โดยจะกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศได้ดังนี้
1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive)
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
* แต่ในปัจจุบัน กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ (First s-curve) ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทย ก้าวกระโดดได้ตามที่คาดหวังไว้ จึงจำเป็นต้องมีในส่วนของ (New S-curve) ควบคู่ไปด้วย

2. New S-curve : เป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี โดยจะเป็นหัวใจหลักของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New Growth Engines) ซึ่งการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมเหล่านี้ จะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับประชากรสูงถึงร้อยละ 70 จากกลุ่มเป้าหมายเลยทีเดียว
โดยกำหนดอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ได้ดังนี้
1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)
2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
4) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

………………………………………

แนะนำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ระบบการศึกษาทางไกล) ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและภาครัฐสนับสนุนเร่งด่วน

……………………………………….

“หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ระบบการศึกษาทางไกล) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา”

ความโดดเด่นของที่นี่ สรุปได้สั้น ๆ แต่ทำให้มั่นใจก็คือ…

หมดกังวลเรื่องเลื่อนเปิดเทอม หรือเลื่อนการเรียนเพราะ COVID-19 เพราะไม่ว่าสถานการณ์ไหนก็เรียนได้ จบจากที่บ้านภายใน 2 ปี

จุดเด่น เป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์ยุค New normal 

– เหมาะสำหรับคนทำงาน
– เรียนจบได้จากที่บ้าน
– สะดวกลดการเดินทาง
– ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่
– เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต
– เทียบโอนหน่วยกิตได้
– จบ ปวส. หรือเทียบเท่า สามารถจบได้ภายใน 2 ปี
กำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 2 วันนี้

รายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียน
https://cls.ssru.ac.th/page/coursedistance

ข้อมูลเพิ่มเติม https://lin.ee/KSyMQSy

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *