สอศ. ขับเคลื่อนพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 42 สาขาวิชา เชื่อมโยงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF)

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า จากนโยบายเร่งด่วน (Quick win) ของนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งหวังให้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ผลิตและพัฒนากําลังคนให้มี ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศตามนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ตามความเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ เพิ่มศักยภาพและความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง สอศ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการอาชีวศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ และศักภาพสูง โดยแนวทางหนึ่งคือการขับเคลื่อนในการพัฒนาหลักสูตร จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ  ซึ่งจะทําให้ผู้สําเร็จการศึกษามีงานทํา เป็นกลไกการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ต่อไป
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่า สอศ.ได้กำหนดจัดประชุมไว้เบื้องต้น 2 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน นี้ผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 18-21 กันยายน 2564  ในการจัดทําหลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ที่มีความเป็นเลิศ ตามโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) จํานวน 42 สาขาวิชา 120 สถานศึกษา
พร้อมกันนี้ ได้กำหนดการประชุมครั้งที่ 2 ในการดำเนินการบรรณาธิการกิจหลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ(NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ระหว่างวันที่ 25 – 28 กันยายน 2564
สำหรับ หลักสูตร 42 สาขาวิชา ได้แก่ 1.สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล, 2.สาขางานเทคนิคช่อมตัวถังและสีรถยนต์, 3. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต, 4.สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม, 5. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์, 6. สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์, 7. สาขาวิชาการท่องเที่ยว, 8. สาขาวิชาพาณิชยกรรมและบริการฐานวิทยาศาสตร์, 9. สาขาวิชาการโรงแรม, 10. สาขาวิชาการจัดประชุมและนิทรรศการ, 11.สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรฐานวิทยาศาสตร์, 12. สาขาวิชาพืชศาสตร์, 13 สาขาวิชาสัตวศาสตร์, 14. สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, 15 สาขาวิชาช่างกลเกษตร, 16. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร, 17. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารฐานวิทยาศาสตร์, 18.สาขาวิชาอาหารและโกชนาการ. 19. สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์, 20. สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์, 21. สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 22. สาขาวิชาเทคนิคซ่อมบำรุงเรือ, 23. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 29. สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกลเรือ, 25. สาขาวิชาช่างอากาศยาน, 26. สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง, 27. สาขาวิชาปิโตรเคมี 28. สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม, 29. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือวัดและควบคุมงานปิโตรเลียม, 30. สาขาวิชาไฟฟ้า, 31. สาขาวิชาอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า, 32. สาขาวิชาเทคนิคพลังงาน, 33. สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล, 34.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก 35. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, 36. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง, 37. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ, 38. สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี, 39. สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก, 40. สาขาวิชาเทคนิคเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ, 41. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ, และ 42. สาขาวิชาเทคโนโลยีความงาม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *