การวัดผล PISA คืออะไร สอบไปทำไม

มาทำความรู้จักกับการวัดผล PISA ชื่อเต็มคือ Programmed for International Student Assessment เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD)

การวัดผล PISA มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความรู้ความสามรถในด้าน ‘การรู้เรื่อง’ (Competency) ของนักเรียนอายุ 15 ปีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ข้อสอบ PISA จะประเมิน ‘การรู้เรื่อง’ 3 ด้านหลัก ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน โดยที่ไม่ได้อ้างอิงกับเนื้อหาหรือหลักสูตรใด ๆ เป็นการเฉพาะ

สาเหตุที่ต้องเป็นนักเรียนอายุ 15 ปี เพราะเด็กกลุ่มนี้จะสิ้นสุดการศึกษาภาคบังคับและออกไปประกอบอาชีพ ดังนั้นคุณภาพของเด็กกลุ่มนี้จึงเป็นตัววัดคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในอนาคต

ความเป็นมาของการสอบวัดผล PISA

การวัดผล PISA เริ่มขึ้นในปี 2000 และมีการจัดสอบทุก 3 ปี การสอบครั้งล่าสุดในปี 2015 มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมเพิ่มขึ้นจาก 43 ประเทศ (นักเรียน 256,000 คน) ในครั้งแรก เป็น 72 ประเทศ (นักเรียน 510,000 คน) ในครั้งล่าสุด ถือว่าเป็นการประเมินทักษะความรู้ความสามารถของนักเรียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และประเทศไทยนับเป็นประเทศในกลุ่มแรกๆ ที่เข้าร่วมการสอบ PISA ทุกรอบตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

นานาชาติถือว่า PISA เป็นข้อสอบที่มีคุณภาพและมีนักเรียนจำนวนมากจากทั่วโลกเข้าร่วมทดสอบ ผลสอบจึงบ่งบอกคุณภาพทางการศึกษาที่น่าเชื่อถือ จะเห็นได้จากหน่วยงานจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันต่างๆ เช่น World Competitiveness Center (IMD) หรือ World Economic Forum (WEF) ล้วนใช้ผลสอบ PISA เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านทรัพยากรของประเทศต่าง ๆ

การวัดผล PISA กับเป็นประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญกับการสอบ PISA เช่นเดียวกัน ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้ตั้งเป้าหมายให้เด็กไทยมีคะแนน PISA อยู่ในระดับมาตรฐานสากลหรือระดับค่าเฉลี่ยของประเทศ OECD ให้ได้

ผลการประเมิน PISA ปี 2018 15 ประเทศ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *