อยากเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มีกี่สาขา เรียนอะไรบ้าง?

วันนี้เรามาดูรายละเอียดการเรียนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ว่ามีกี่สาขา แล้วเรียนอะไรบ้างนะ น้อง ๆ ที่สนใจอยากเรียนต่อในคณะนี้ มาดูกันว่าเรียนอะไรบ้าง

คณะสัตวแพทยศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง

คณะสัตวแพทยศาสตร์ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี แต่ละปีเรียนอะไรบ้างมาดูกัน

ชั้นปีที่ 1 เรียนพื้นฐาน

จะเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น ฟิสิกส์ทางการแพทย์ เคมีทั่วไป ชีววิทยาทั่วไป เคมีอินทรีย์

ชั้นปีที่ 2 เรียนวิชาเกี่ยวกับสัตวแพทย์

จะเริ่มเรียนวิชาของคณะฯ ซึ่งการเรียนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ไม่ได้เรียนแค่เฉพาะสุนัขหรือแมวเท่านั้น แต่ยังต้องเรียนไปถึง ม้า หมู ไก่ วัว ปลา วิชาที่จะเจอ เช่น จุลกายวิภาควิทยา หลักสัตวบาล สรีรวิทยา อนามัยสิ่งแวดล้อม เภสัชวิทยา และได้เรียนโครงสร้างของสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นและมองไม่เห็นจนถึงสุขอนามัยในฟาร์มเลี้ยงสัตว์

ชั้นปีที่ 3 ช่วงปิดซัมเมอร์ก่อนขึ้นปี 4

ปีนี้เป็นอีกปีที่เรียนหนักมาก ๆ ในช่วงปิดซัมเมอร์ก่อนขึ้นปี 4 จะมีการฝึกงานทางด้านสัตวบาลภาคสนามจะฝึกงาน 1 เดือน วิชาที่ได้เรียนเช่น วิชาไวรัสวิทยา วิชาพยาธิวิทยาทั่วไป

ชั้นปีที่ 4 เริ่มเรียนการรักษา

เริ่มเข้าสู่วิชาเกี่ยวกับการรักษามากขึ้นวิชาเรียนก็จะเจาะลึกลงไปอีก เช่น อายุรศาสตร์ตามระบบอวัยวะ เทคนิคการวินิจฉัยและการรักษาโรคสัตว์ รังสีวิทยา พิษวิทยา หลักการศัลยศาสตร์และวิสัญญี เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ของสัตว์ สุขศาสตร์อาหาร กฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

ชั้นปีที่ 5 คลินิก

จะเป็นวิชาคลินิกแบบเต็มตัว ก็จะมีวิชาคลินิกแบบเต็มตัว เช่น คลินิกสัตว์เล็ก คลินิกสุกร คลินิกสัตว์ปีก คลินิกม้า โค สูติวิทยา

ชั้นปีที่ 6 ฝึกงานจริง

ก็จะเป็นคลินิกปฏิบัติเราจะต้องออกไปฝึกงานตามที่ต่าง ๆ ระยะเวลาฝึกงานก็จะขึ้นอยู่ที่มหาลัยการฝึกงานในส่วนนี้เราจะได้ไปฝึกงานเป็นสัตวแพทย์จริง ๆ อยู่ในโรงพยาบาลสัตว์ ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น หมู วัว แพะ ก็จะฝึกงานที่ฟาร์ม

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีกี่สาขา

การเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์ไม่มีการแบ่งสาขา เพราะจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ทุกอย่าง เพื่อจะได้รักษาสัตว์ได้ทุกชนิดนั้นเอง

ถ้าน้อง ๆ อยากเรียนต่อหลังจากจบปริญญาตรีแล้ว ตามสถาบันต่าง ๆ ก็มีหลักสูตรประกาศนียบัตรเฉพาะทางเปิดสอน

สำหรับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

  1. สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์จะแบ่งออกตามระดับการศึกษาเป็น 3 ระดับ ตามคุณวุฒิ คือ นักเทคนิคการสัตวแพทย์, เจ้าหน้าที่เทคนิคการสัตวแพทย์, ผู้ช่วยสัตวแพทย์ จะเรียนหลายหมวดวิชาด้วยกัน เช่น หมวดวิชาสัตว์เลี้ยง หมวดวิชาสุกร หมวดวิชาม้า เป็นต้น วิชาที่เรียนมีทั้งวิสัญญีวิทยาทางคลินิก, โรคสุกรและการวินิจฉัยขั้นสูง, จักษุวิทยาในม้า, เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการชันสูตรโรคสัตว์น้ำ
  2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และชีวเวชศาสตร์ จะศึกษาทางด้าน ชีวิวิทยาระดับโมเลกุลพันธุกรรม ระบาดวิทยาระดับโมเลกุล การเชื่อมโมเลกุล และเชื่อมโยงความรู้ด้านพื้นฐานเข้ากับเวชศาสตร์ทำให้เกิดความรู้ใหม่ และนวัตกรรมใหม่ทางการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคในสัตว์
  3. สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการสัตวแพทย์ คือสาขาวิชาที่รวมถึงการตรวจหา จุลชีพที่ได้จากตัวอย่างสัตว์ป่วย ซากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ วิทยาภูมิคุ้มกันทางสัตวแพทย์ การฝึกพิเศษทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เน้นด้านการพัฒนาชีวภัณฑ์ทางการสัตวแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยและป้องกันโรคติดเชื้อในสัตว์ ระบาดวิทยาโมเลกุลของเชื้อที่ก่อโรค ในสัตว์และโรคสัตว์สู่คน วิทยาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลทางการสัตวแพทย์ การวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำทางจุลชีววิทยา การตรวจอาหารปลอดภัยทางจุลชีววิทยาสัตวแพทย์
  4. สาขาวิชาเภสัชและพิษวิทยาทางการสัตวแพทย์ จะเป็นการศึกษาวิจัยด้านยา สารเคมี และสารพิษชนิดต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพสัตว์ เป็นการศึกษาทั้งทางด้านการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพการตกค้างของยาและสารต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวสัตว์
  5. สาขาวิชาระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ เป็นการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดของสัตว์รวมไปถึงการประเมิน วิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นสำหรับโรคนั้น ๆ
  6. สาขาวิชาปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์ จะศึกษาเกี่ยวกับด้านเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดโรคทั้งคนและสัตว์ รวมทั้งด้านระบาดวิทยาของโรคปรสิตในสัตว์ วิทยาภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อปรสิต ปรสิตวิทยาโมเลกุล เชื้อปรสิตที่นำโดยอาหาร น้ำ และสัตว์
  7. สาขาพยาธิวิทยา เรียนเกี่ยวกับ พยาธิวิทยาของสัตว์ทดลอง วิทยาเนื้องอกและมะเร็งทางสัตวแพทยศาสตร์ ไวรัสวิทยาขั้นสูงทางสัตวแพทย์
  8. สาขาสรีรวิทยา เรียนเกี่ยวกับสรีรวิทยาขั้นสูงของเซลล์สัตว์ การควบคุมอุณหภูมิและสรีรวิทยาสภาวะแวดล้อมในปศุสัตว์ สรีรวิทยาขั้นสูงของไตในสัตว์
  9. สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ เรียนเกี่ยวกับ ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยกรรมช่องท้อง วิสัญญีคลินิก เป็นต้น
  10. สาขาวิชาอายุรศาสตร์สัตวแพทย์ เรียนเกี่ยวกับอายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยงขั้นสูง เทคนิคขั้นสูงในการตรวจและรักษาโรคในสัตว์เลี้ยง การควบคุมโรคในสัตว์
  11. สาขาสัตวบาล จะเน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสัตว์เพื่อเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์ไทยเป็นส่วนใหญ่เลย
  12. สาขาสูติศาสตร์ จะเน้นศึกษาด้านระบบการสืบพันธุ์ของสัตว์
  13. เวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง เน้นศึกษาการรักษาสัตว์เลี้ยงในคลินิกส่วนตัวและโรงพยาบาลสัตว์ โดยทั่วไปมีหน้าที่รักษาสุนัข แมว รวมถึงสัตว์เลี้ยงพิเศษ เช่น นก กระต่าย เต่า เฟอร์เร็ต เป็นต้นสัตวแพทย์ต้องทำการวินิจฉัยและรักษาปัญหาทางสุขภาพ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (รับรองแบบมีเงื่อนไข)
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (รับรองแบบมีเงื่อนไข)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (รับรองแบบมีเงื่อนไข)
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น (รับรองแบบมีเงื่อนไข)
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รับรองแบบมีเงื่อนไข)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *