อยากเรียนคณะเภสัชศาสตร์ มีกี่สาขา เรียนอะไรบ้าง ?

คณะเภสัชศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะที่น่าสนใจพอ ๆ กับการเรียนหมอเลย เภสัชนั้นก็มีความสำคัญและขาดไม่ได้ในโรงพยาบาลเหมือนกับ หมอ พยาบาล เราดูมากันว่าถ้าเข้าไปเรียนคณะเภสัชศาสตร์ จะต้องเรียนกี่ปี เรียนอะไรกันบ้าง

คณะเภสัชศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

คณะเภสัชศาสตร์ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี

  • ปีที่ 1 – 2 จะเน้นเกี่ยวกับการศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเบื้องต้น
  • ปีที่ 3 – 4 จะเป็นการศึกษาวิชาเฉพาะทางเภสัชศาตร์
  • ปีที่ 5 – 6 จะเป็นการเน้นความชำนาญทางวิชาชีพ

วิชาพื้นฐานที่เรียนเช่น

  • แคลคูลัส (Calculus)
  • หลักเคมี (Principal of chemistry)
  • เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry)
  • เคมีเชิงฟิสิกส์และการนำไปประยุกต์ใช้ (Physical Chemistry and Applications)
  • ฟิสิกส์เบื้องต้น (Introductory physics)
  • เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล (Cell and Molecular Biology)
  • ชีวเคมีการแพทย์พื้นฐาน (Basic Medical Biochemistry)
  • สรีรวิทยาการแพทย์ (Medical Physiology)
  • กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (Basic Anatomy)
  • ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ (General Medical Parasitology)
  • จุลชีววิทยาทางการแพทย์ (Medical Microbiology)
  • หลักการสาธารณสุข (Principle of Public Health)
  • ประสบการณ์สาธารณสุขในชุมชน (Public Health Experience in Community)
  • ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English)
  • ภาษาอังกฤษพัฒนา (Developmental English)
  • ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes)
  • ภาษาอังกฤษวิชาชีพ (Professional English)

 วิชาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชศาสตร์

  • บทนำสู่วิชาชีพเภสัชกรรม (Introduction to Pharmacy Profession)
  • บทนำทางเภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Introduction to Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
  • การควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์สำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Quality Control for Doctor of Pharmacy)
  • เภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
  • บทนำสู่เภสัชเวท (Introduction to Pharmacognosy)
  • เภสัชเวทสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacognosy for Doctor of Pharmacy)
  • เภสัชวิทยา (Pharmacology)
  • ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ (Biopharmaceutics and Pharmacokinetics)
  • เภสัชเคมีสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Chemistry for Doctor of Pharmacy)
  • เภสัชบำบัดประยุกต์ (Applied Pharmacotherapeutics)
  • กฎหมายทางเภสัชกรรม (Laws in Pharmacy)
  • เภสัชสนเทศสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacoinformatics for Doctor of Pharmacy)
  • เภสัชระบาดวิทยาเบื้องต้น (Basic Pharmacoepidemiology)
  • การทบทวนข้อมูลยาใหม่ (Current Drug Review)
  • การบริหารทางเภสัชศาสตร์และบทบาทเภสัชกร (Pharmacy administration and Pharmacist role)
  • จริยธรรมเชิงวิชาชีพ (Professional Ethics)
  • การจัดการคุณภาพในองค์กรสุขภาพ (Quality Management in Health Care Organization)
  • ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติสำหรับบริบาลเภสัชกรรม (Research Methodology and Biostatistics for Pharmaceutical Care)
  • เภสัชเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Basic Pharmacoeconomics)
  • การสื่อสารเชิงวิชาชีพ (Professional Communication)
  • เภสัชศาสตร์สังคมและพฤติกรรม (Social and Behavioral Aspects in Pharmacy)
  • บทนำสู่ปฏิบัติการทางบริบาลเภสัชกรรม (Introduction to Clerkship for Doctor of Pharmacy)
  • การฝึกงานวิชาชีพเภสัชกรรม (Pharmacy Training)
  • โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ (Research Project in Pharmaceutical Sciences)

คณะเภสัชศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง?

คณะเภสัชศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) และ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)

สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)

ในสาขานี้จะเน้นเรื่อง การศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าหาตัวยา และการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยาแต่ละชนิด รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย

สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)

จะศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรม คือ จะต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำให้ความปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยาหรือใช้ยาอย่างถูกต้อง และยังรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

การเรียนในคณะเภสัชศาสตร์น้อง ๆ จะได้เรียนรู้หลายวิชา อาจจะเป็นวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องเรื่องยา แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีหลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ที่แตกต่างกันไป นี้ก็เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้น้อง ๆ ลองศึกษาว่าตนเองจะชอบคณะนี้หรือไม่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *